การเรียนแบบแยกส่วน การใช้ชีวิตแบบแบ่งภาค: เนื่องจากบล็อก เปิดตำราฯ อาจารย์ดร.แสวง


แล้วตัวเอกซึ่งยังอยู่ในร่างสุนัขก็พูดถึงการมองอย่างมีพลัง ซึ่งหมายถึงการมองคนอื่นให้รอบด้าน ทั้งชีวิต การงาน คือมองให้ลึกและกว้าง

ผมให้ข้อคิดเห็นไว้ในบล็อกของอาจารย์ดร.แสวง เรื่อง เปิดตำราพิชัยสงคราม ซุนวู: การวิเคราะห์ระบบ และการบูรณาการ แล้วก็มาคิดต่อถึงผลกระทบจากการเรียนมหาวิทยาลัยอีกอย่างหนึ่งครับ ผมสงสัยว่าการสอนแบบแยกส่วนทำให้เราใช้ชีวิตแบบแบ่งภาคไปด้วย ผมไม่แน่ใจว่าอะไรเกิดก่อน ระหว่างการแยกหลักสูตรการศึกษา กับการมองคนแบบแยกส่วน แต่ค่อนข้างมั่นใจว่ามันเกื้อหนุนกันและกัน เรามองคนด้วยปริญญา ด้วยทักษะ หน้าที่การงาน นักบัญชีจะละเอียด วิศวกรเก่งคำนวณ (กว่านักภาษาศาสตร์)

ตั้งแต่สมัยวัยรุ่นแล้ว ผมยึดถือหลักการหนึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต

หลักการนี้ชื่อว่า การมองอย่างมีพลัง

 

ผมได้แนวคิดจากหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น (ชื่ออะไรจำไม่ได้จริงๆ ครับ) เรื่องมีอยู่ว่าตัวเอกของเรื่องตื่นมาก็กลายเป็นสุนัข แต่ทุกคนก็ยังคิดกับเขาเหมือนเดิม เขายังเป็นคุณพ่อของลูก ยังเป็นพนักงานบริษัท เรื่องดำเนินไปก็ค่อยๆ คลี่คลายว่าที่ทุกคนยังยอมรับเขาเหมือนเดิมก็เพราะเขายังทำหน้าที่เดิมอยู่นั่นเอง คือยังหาเงินเข้าบ้าน ยังทำงานได้ แล้วเขาก็พูดถึงการวิจัย (ไม่ทราบว่าจริงหรือนิยาย) ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเอาหุ่นขนาดเท่าคนจริงที่โชว์กล้ามเนื้อมนุษย์แบบที่ใช้สอนในโรงเรียนแพทย์ ไปวางไว้กลางถนนที่คนพลุกพล่าน จับใส่สูทถือกระเป๋า แล้วก็ดูว่าคนเดินผ่านไปมาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร สรุปว่าไม่มีใครสนใจ ทุกคนเดินผ่านหุ่นนั้นไปเหมือนไม่มีอะไรแปลกปลอม แล้วตัวเอกก็สรุปว่าที่เป็นแบบนี้ก็เหมือนที่เขาเป็น คนเราทุกวันนี้มองคนอื่นแค่มุมเดียว มองแบบแยกส่วน เห็นเขาใส่สูทผูกไท ก็คือพนักงานคนหนึ่ง

แล้วตัวเอกซึ่งยังอยู่ในร่างสุนัขก็พูดถึงการมองอย่างมีพลัง ซึ่งหมายถึงการมองคนอื่นให้รอบด้าน ทั้งชีวิต การงาน คือมองให้ลึกและกว้าง

เพื่อนร่วมงานเราชอบอะไร มีงานอดิเรกอะไร ฟังเพลงแบบไหน ชอบอ่านหนังสือของใคร รู้กันบ้างไหมครับ?

หมายเลขบันทึก: 77293เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ความคิดเห็นนี้น่าสนใจมากเลยครับ ผมเองกำลังสนใจลองรวบรวมอยู่ว่าคนในหน่วยงาน มีความชอบอะไร เก่งอะไร มีงานอดิเรกอย่างไร  แต่ยังไม่มีแนวคิดที่ชัดเจนนักว่าจะนำข้อมูลที่ได้มาไปใช้ประโยชน์ใด  แต่ตั้งใจว่าลองดูข้อมูลก่อน อาจจะเกิดไอเดียอะไรขึ้นมาได้เหมือนกัน  เช่นเวลาที่โรงพยาบาลมีกิจกรรมใด อาจจะหาคนที่ชอบหรือเก่งในเรื่องนั้นมาจับกลุ่มกัน  หรือตั้ง CoP ในคนที่สนใจเรื่องนั้นๆ มาช่วยกันทำประโยชน์อะไรบ้าง

ขอบพระคุณอาจารย์สาโรจน์มากครับ ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร มาแลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ 

เราคงฝึก learn how to learn และ Sytem thinking กันแล้วครับ ผมจะเริ่มในมหาชีวาลัย ของครูบาสุทธินันท์ครับ ได้ผลแล้วค่อยนำมาแสดงที่ มข ครับ

ผมจะเฝ้ารอผลด้วยใจระทึกเลยครับอาจารย์

เชื่อว่าต้องได้ข่าวดีในเร็ววัน แล้วคงได้มีโอกาสไปเข้าเรียนที่มหาชีวาลัยบ้างนะครับ 

ชั่วแว่บ 

มีน้องสาวร่วมโลกที่ดิฉันรักมากคนหนึ่ง บอกดิฉันในวันหนึ่งว่า .....เธอ"รักทุกคน"......

ดิฉันนึกเข้าใจในแว่บนั้น  แต่ตอนนั้นไม่ทราบว่าจะพูดอะไรดี   ได้แต่รู้สึกว่ารักเธออย่างลึกซึ้งมากขึ้น

ดิฉันเคยฟังกวีบางท่านเล่าว่าท่านเดินเข้าไปในทุ่งนา ขณะที่เก็บผักบุ้ง  ก็รู้สึกขอบคุณต้นไม้และสายลม   แล้วก็ไม่ได้โกรธหอยที่มากัดกินต้นข้าว....

ดิฉันนึกเข้าใจความรู้สึกท่านในแว่บนั้น .....

ดิฉันอ่านหนังสือปรัชญาบางเล่มเขียนว่า  เรามีเพราะเราเชื่อว่า "มีเราอยู่"    ครั้นดิฉันอ่านที่พระท่านเขียน  ท่านว่าทุกสิ่ง มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

ดิฉันรู้สึกว่าแวบหนึ่งก็คล้ายๆจะเข้าใจ  คือมันเข้าใจวาบขึ้นมาเป็นขั้นบันไดเฉยๆ แล้วก็หายไปในแว่บเดียว แล้วที่เหลือก็ออกจะขุ่นๆไป  ไม่ใสกระจ่างแบบที่แว่บขึ้นมา  ...คือมันเร็วมากจนจดออกมาเป็นภาษาไม่ทัน 

หรืออีกทีก็อาจเป็นได้ว่า   ดิฉันหาภาษามาแทนไม่ได้...... 

มีอีกหลายคนที่ทราบว่ารู้สึกแว่บเอาเองอย่างง่ายได้เช่นนี้  โดยที่มิได้มีขั้นตอนเตรียมการอะไรซับซ้อน  จู่ๆก็นึกออกเอง 

.....และเป็นธรรมดาอีกว่าพอนึกไม่ออกก็จะนึกไม่ออก  ....นึกยังไงก็นึกไม่ออก 

คนนอก   (ไม่ใช่พวกเรา)

สมัยสาวๆดิฉันเคยเข้าไปอยู่ในที่ๆเราเป็นคนนอกวง  แล้วคนในวงสนทนานั้นเขาไม่สื่อสารกับเราเลย  (อาจเป็น)เพราะเขารู้สึกว่าเราเป็นคนวงนอก

ครั้งหนึ่งที่มีโอกาสนั่งเรือบินไปประเทศนอก  ดิฉันมีโอกาสทักทายกับคนที่เพิ่งรู้จัก  และพยายามเชื่อมเขาเข้ากับกลุ่มคนที่ดิฉันสนิทสนมและกำลังจับกลุ่มสนทนาอยู่ก่อนหน้า  แต่เชื่อมไม่ติด....  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ สามารถอธิบายกระบวนการเกิดและดับของความสัมพันธ์ได้อย่างได้แจ่มแจ๋ว  แต่ที่สุดแล้วคนนำมาใช้ต้องวัดดวงเอาเอง

หนังช่วยได้

ดิฉันนึกถึงมนุษย์ต่างดาวจากเรื่อง A.I.  เขาต้องนำตัวเดวิดไป เพื่อศึกษาเผ่าพันธ์มนุษย์จากความทรงจำของเดวิดหุ่นยนต์น้อย   

ดิฉันคิดเอาเองว่าใครที่รู้สึกว่าตนเองแปลกแยกจากผู้อื่นมากๆ (ดิฉันเคยคิดว่าตนเองเป็น :) )  เมื่อได้ชมภาพยนต์เรื่องนี้แล้วน่าจะรู้สึกดีขึ้น  (แต่อาจเปลืองผ้าเช็ดหน้าหน่อย)

เรื่องที่คุณแว้บเล่าในบันทึกนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงเรื่องนี้ และนึกถึงหนังฝรั่งอีกหลายเรื่อง ที่สะท้อนความรู้สึกเช่นนี้ (มนุษย์ที่คิดเหมือนหุ่นยนต์  และหุ่นยนต์ที่คิดเหมือนมนุษย์) ได้อย่างจับใจและทรงพลัง 

หนังสืออาจช่วยให้เราเข้าใจตนเองอย่างเงียบๆ  แต่หนังสื่อสารมาอย่างทรงพลังกว่า  เพราะเขากำหนดภาพและเสียงสำเร็จรูปมาสะกดจิตให้แล้ว

ตั้งใจมานานแล้วค่ะว่าช่วงสัปดาห์หยุดนี้จะตั้งสติเยี่ยมบล็อก  ได้อ่านบล็อกทั้งหมดของคุณแว้บแล้วรู้สึกสบายใจดี  และนึกอะไรต่อมิอะไรออกมากมาย  ก็เลยเขียนพรรณนาเสียยืดยาวอีกแล้วอ่ะค่ะ   :)  

ขอให้คุณแว้บเรียนหนังสืออย่างมีความสุขนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท