ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

“พุทธเศรษฐศาสตร์ : เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?”


“พุทธเศรษฐศาสตร์ : เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?”

พุทธเศรษฐศาสตร์ : เศรษฐศาสตร์ทั่วไป เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ปารมาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของเมืองไทย   เดือนสิงหาคม 2549 นับเป็นบุญของผมเป็นย่างยิ่งที่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของท่านศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย   พันธเสน คณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของประเทศ</p><p>       </p><p>              ก่อนอื่นผมใคร่ขอทำความเข้าใจกับพี่น้องชาว KM ก่อนนะครับว่าแกนหลักของแต่ละศาสตร์นั้นเขาว่ากันอย่างไร โดยขอเริ่มจากศาสตร์ที่เราใช้กันมาตั้ง 40 50 ปี ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองไทยก็คือ เศรษฐศาสตร์ทั่วไป (General Economic) เขาว่ากันอย่างนี้ครับ             เศรษฐศาสตร์ทั่วไป (General Economic)  เป็นวิชาที่ว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำให้ปัจเจกบุคคลได้รับความพึงพอใจสูงสุดภายใต้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด และสามารถทำให้สังคมได้บรรลุถึงสวัสดิการทางสังคมสูงสุด (Social  welfare) ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            พุทธเศรษฐศาสตร์(Buddhist Economic) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำให้ปัจเจกบุคคล และสังคมบรรลุซึ่งศานติสุข จากการมีชีวิตอยู่ในโลกของวัตถุภายใต้เงื่อนไขของการมีทรัพยากรที่จำกัด</p><p>    </p><p>          พูดมาทำไม ? พี่น้องชาว KM ที่รักครับในเรื่องของเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราเป็นอย่างยิ่ง ตราบใดที่เรายังคงมีชีวิตอยู่ในสังคมโลกเราจำเป็นจะต้องเรียน และใฝ่รู้ เพื่อให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นปกติสุข และมีความสุขอย่างแท้จริง จากที่เราประสบพบเห็น รวมทั้งร่ำเรียนมาตั้งแต่เล็กจนใหญ่จนเป็นทั้งผู้นำประเทศนั้น ผมเชื่อเหลือเกินว่าเราเรียนมาในเรื่องเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือเศรษฐศาสตร์ทั่วไปโดยเน้นในเรื่องของทุนเป็นหลักตามชาติตะวันตก จนกระทั่งก่อให้เกิดปัญหาความยากจนขึ้นทุกหย่อมหญ้าของสังคมไทย  จนกระทั่งแผนพัฒนาฉบับที่ 8 ต้องประสบกับความล้มละลายทางเศรษฐกิจ ประเทศต้องเป็นหนี้ต่างชาติประชาชนต้องทวีความยากจน และเป็นหนี้มากขึ้น                     </p><p>              “เศรษฐกิจพอเพียง กับพุทธเศรษฐศาสตร์  จากวิกฤตทางเศรษฐกิจด้วยความห่วงใยพสกนิกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) ซึ่งเป็นปรัชญาชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้นำราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) บรรจุเป็นแผน 9  ในการพัฒนาและแก้ไขวิกฤตชาติ  แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่หูหนัก  ดื้อดึง โดยเฉพาะระดับผู้นำประเทศที่ไม่ให้ความสนใจในการน้อมนำลงสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังจนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเหมือนทุกวันนี้  จากแนวทางดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจพอเพียง กับพุทธเศรษฐศาสตร์ที่น่าจะเป็นทางออกในการแก้ไขวิกฤตทางเศรษฐกิจของสังคมไทย เพื่อจะได้มีศานติสุขอย่างแท้จริง      </p><p>          จุดต่างพุทธเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก  อย่างไรก็ตามทั้งสองศาสตร์ ก็มุ่งเพื่อการมีอยู่มีกินของประชาชนในสังคมของตนและพุทธเศรษฐศาสตร์ก็มองเห็นข้อจำกัดของทรัพยากรเช่นเดียวกันกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่พุทธเศรษฐศาสตร์เข้าใจมนุษย์ได้ลึกซึ้งกว่า โดยเข้าใจมนุษย์ตามความเป็นจริง กล่าวคือ มนุษย์คือความไม่รู้ มีโลภ โกรธ หลง มีความรัก มีความสามารถที่จะเติบโตทางจิตวิญญาณได้ มีปัญญาที่จะรู้เท่าทันทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงมีความเมตตากรุณาที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก</p><p>ขอบคุณมากครับ</p><p>อุทัย   อันพิมพ์</p><p>2 ส.ค.2549</p>

คำสำคัญ (Tags): #ห
หมายเลขบันทึก: 42206เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2006 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับ คุณอุทัยครับ ขอบคุณมากครับ...พอดีผมเห็นอาจาีรย์ปภังกรเกริ่นถึงในบันทึกของผมครับ

ก็เลยสนใจมากครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท