ทำไมคนไทย..เป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น


การป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมมีมากขึ้นเรื่อยๆ

คนไทยเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น ตอนนี้พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก

ในกรุงเทพฯ พบคนเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นถึง 40 คนต่อประชากรแสนคน

ส่วนที่ขอนแก่น สงขลาและเชียงใหม่ พบ15-16 คนต่อประชากรแสนคน

สาเหตุ

สาเหตุที่คนไทยเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  อาจเป็นเพราะ กินอาหารไขมันสูง ไม่กินผัก ผลไม้ กินแต่อาหารเนื้อสัตว์มากไป มันฝรั่งทอด ไม่ออกกำลังกายและ มลภาวะต่างๆมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

  • เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย 100-200เท่า แต่ผู้ชายก็เป็นได้เช่นกัน  

  • อายุ เกิดในคนอายุมากกว่า 25 ปี และ 80% พบในคนที่อายุมากกว่า 50

  • คนที่มีญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือรังไข่

  • เคยเป็นมะเร็งเต้านมในข้างหนึ่ง อีกข้างก็จะมีโอกาสเป็นสูงเช่นกัน

  • การได้รับรังสีตั้งแต่เด็ก

  • อ้วน

  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ๆ

  • มีเมนส์ ตอนอายุน้อยกว่า 12 

  • หมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ

  • คนผิวขาวมีโอกาสเกิดมากกว่า

  • สตรีวัยหมดประจำเดือน กินฮอร์โมน

  • การรักษาด้วยยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน 

  • สูบบุหรี่ หรือได้รับควันจากผู้อื่น ก็ยังเสี่ยงด้วย

  • การดื่มสุรามากเกิน มีความเสี่ยงกว่าปกติ 20%

  • การได้รับสารก่อมะเร็ง เช่น เนื้อย่างที่ไหม้

  • กินอาหารไขมันสูง กินเนื้อสัตว์มาก เช่นเนื้อสเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ เบคอน จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5 เท่า

 การป้องกัน

  •  ลดอาหารที่มีไขมันสูง ไข่ เนื้อติดมัน นมที่มีไขมันสูง เนย ครีม มาการีน และน้ำมันพืช

  • กินอาหารที่ป้องกันมะเร็ง  เช่น กระเทียม กะหล่ำปลี  ชะอม  ถั่วเหลือง  ขิง ผักจำพวกหัวผักกาด เซเลอรี่ และ แครอท ฯลฯ

  • กินอาหารพวกถั่ว เช่น ถั่วเหลือง เพราะมีสารที่ป้องกันมะเร็งเต้านมได้

  • กินผัก  ผลไม้

  • ออกกำลังกายลดความอ้วน การออกกำลังกายเป็นประจำ  จะทำให้จำนวนครั้งของประจำเดือนที่มีไข่ตกน้อยลงไป ทำให้ฮอร์โมนส์เพศหญิงอยู่ในร่างกายลดลงไปด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ไขมันในร่างกายลดลง เพิ่มภูมิต้านทานในร่างกายได้ด้วย

  • การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี  เดือนละ 1 ครั้ง  หลังจากประจำเดือนหมดไปแล้วประมาณ 3 วัน

  • ถ้าตรวจพบก้อนตั้งแต่เริ่มแรก และรักษาอย่างถูกวิธีสามารถรักษาให้หายได้ร้อยละ 90

  • อายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรทำแมมโมแกรมทุกปี จะช่วยให้พบมะเร็งระยะแรกได้

  • ไม่ควรแต่งงานและมีบุตรอายุมาก ถ้ามีบุตรควรให้กินนมแม่

  • ไม่ควรดื่มเหล้า เบียร์ ถ้าดื่มเบียร์วันละขวด เหล้าวันละ 2-3 แก้วทุกวัน  จะเสี่ยงมากขึ้น

  สรุป

ปรับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้กินอยู่อย่างพอเพียง

ตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง

ให้หมอตรวจปีละ 1 ครั้ง

ทำแมมโมแกรม/อัลตราซาวด์ ปีละ ครั้ง เริ่มอายุ 40-50 ปี

เอกสารอ้างอิง

http://www.school.net.th/library/snet4/feb18/cancer.htm

http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/breastcancer.php

หมายเลขบันทึก: 106359เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุรสำหรับความรู้ดีๆ ในบันทึกนี้ค่ะ

เมื่อวานนี้เขียนบันทึก มุมมองจากผู้หญิงต่อการปฏิบัติตัวเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม (Mammogram) ไว้ด้วยค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะไปทำแมมโมแกรมและผู้ให้บริการได้บ้าง....คิดว่าคุณอุบลคงเสริมให้ความรู้ในมุมมองผู้ให้บริการได้ด้วยค่ะ....ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณจันทรัตน์

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือน

ดิฉันทำงานที่ตึกมะเร็งที่ให้ยาเคมีบำบัดมานานกว่า10 ปี

เห็นว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัดเป็นอันดับ 1 ทุกเดือน จึงคิดว่าทำอย่างไรผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะลดลงได้ เลยเขียนเรื่องนี้

จึงคิดว่าน่าจะจุดประกายให้คนเห็นความสำคัญในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคนี้ได้

แมมโมแกรม ก็เป็นการตรวจที่ดี เพื่อจะได้รู้ว่าเรามีปัญหาที่เต้านมไหม

แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ถ้าไม่เริ่มมีอาการผิดปกติของเต้านม จะไม่ไปตรวจ เพราะอายและเจ็บตอนตรวจ

สวัสดีค่ะ เพื่อนเป็นมะเร็งเต้านมไม่ทราบว่าอยู่ในระยะที่เท่าไหร่แต่ตอนนี้มีน้ำเหลืองไหลออกมาต้องล้างแผลที่โรงพยาบาลทุก 2 วัน มีกลิ่นเหม็นด้วย ไม่ทราบว่าเป็นระยะที่เท่าไหร่แล้ว และถ้าจะผ่าตัด เข้ารับการรักษาเคมีบำบัด ไม่ทราบว่าจะทันไหม จะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่ เพราะผู้ป่วยทานยาพวกวิตามินอาหารเสริมจากนายแพทย์ที่รักษามะเร็งด้วยวิธีธรรมชาติมานาน 2 ปีแล้ว อาการไม่ดีขึ้นเลย ซ้ำดูแย่ลง น้ำหนักลดลงมาก น้ำเหลืองไหลตลอด (นายแพทย์อารีย์ค่ะ) เลยตัดสินใจว่าจะต้องเข้าโรงพยาบาลเสียที ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณสมใจ

การจัดระยะของโรคมะเร็งเต้านม

ใช้ขนาดของก้อนมะเร็ง

การกระจายไปต่อมน้ำเหลือง 

และการกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ  ประกอบกันแล้ว

แบ่งได้เป็น 5 เกรด คือ

เกรด 0 - 4 ตามลำดับ

ตั้งแต่ อาการน้อย ไปจนถึง อาการมาก ในขั้นลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆแล้ว

การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของโรค

 ลองไปปรึกษาแพทย์ดูนะคะ

อัตรารอดชีวิตขึ้นอยู่กัยระยะของโรค

เราจะดูอัตราอยู่รอด 5 ปีค่ะ

ผลของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีอัตราอยู่รอด   5  ปี   ดังนี้

ระยะที่ 0  มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณ    95  %

ระยะที่ 1 มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณ    70 - 80 %

ระยะที่ 3 มีอัตราการอยู่รอด  5 ปี ประมาณ    40 -50 %

ระยะที่ 4 มีอัตราการอยู่รอด 5ปี ประมาณ    10 - 15 %

 

สำหรับคนที่เป็นมะเร็ง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย

แต่หากทดลองทาน ออกซิเจนที่ขื่อว่า เอโดซี่

อาจพบความสำเร็จในการรักษาก็ได้คะ

สวัสดีค่ะคุณพรรณี

ขอบคุณที่เข้ามาแนะนำ

เอโดซี่ คืออะไร

ช่วยอธิบายรายละเอียดให้ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท