เวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษาด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ : 2. AAR


ครูเพื่อศิษย์ ต้องฝึกทักษะ (๑) การตีความ 21st Century Skills, (๒) ทักษะ Learning by Doing ของตนเอง, (๓) ทักษะการออกแบบ การ facilitate และการเชียร์ Learning by doing ของศิษย์, และ (๔) ทักษะ การประเมินความก้าวหน้า เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของศิษย์ ที่เป็น formative evaluation หรือ empowerment evaluation

เวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษาด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ : 2. AAR

ตอนที่ ๑

วันที่ ๑๗ ส.ค. ๕๔ ซึ่งเป็นวันที่ ๒ และวันสุดท้ายของงาน   ผมไปร่วมได้เพียงระหว่าง ๗.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. ก็ต้องรีบไปศาลายา   เพื่อเป็นประธานการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล   ที่มีสาระต่างๆ มากมาย   การทำหน้าที่ประธานทั้งสนุกและเหนื่อย   คือต้องคอยจับประเด็นสำคัญเพื่อสรุปให้แก่เจ้าของงานแต่ละเรื่อง  

เวทีครูเพื่อศิษย์ควบ 21st Century Skills นี้   ให้ความสนุกแก่ผมตรงที่ได้เรียนรู้วิธีออกแบบเวทีโดยทีมจัดที่ผมเรียกว่า “ทีม ๓ อ” ที่มีคุณอ้อ (วรรณา เลิศวิจิตรจรัส) เป็นหัวหน้าทีม  และ อ. เอ็ม กับ อ. เอก เป็นสมาชิก

ช่วงเช้านี้ผมตีความว่าเป็นการฝึกทักษะตีความ “21st Century Skills”   หรือทำความเข้าใจ 21st Century Skills จากเรื่องเล่าของตนเอง และของเพื่อน   นี่คือทักษะที่ครูเพื่อศิษย์จะต้องฝึก   และต้องฝึกไปตลอดชีวิต เหมือนกับที่ผมกำลังฝึกตัวเองอยู่นี่แหละ

นี่คือตัวอย่างการเรียนรู้จากของจริง จากการกระทำ ไม่ใช่เรียนจากตำราหรือจากคนอื่นบอก   เป็นการเรียนร็แบบที่เรียกว่า Action Learning หรือ Learning by Doing  ที่ครูเพื่อศิษย์จะต้องฝึกฝนตนเองไปตลอดชีวิต

ย้ำว่า ครูเพื่อศิษย์ ต้องฝึกทักษะ (๑) การตีความ 21st Century Skills,   (๒) ทักษะ Learning by Doing ของตนเอง,  (๓) ทักษะการออกแบบ การ facilitate และการเชียร์ Learning by doing ของศิษย์,  และ (๔) ทักษะ การประเมินความก้าวหน้า เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของศิษย์ ที่เป็น formative evaluation หรือ empowerment evaluation  

คือครูเพื่อศิษย์ต้องฝึก “ทักษะทั้งสี่” ของการเป็นครูเพื่อศิษย์   ตลอดชีวิต

วันที่ ๒๕ ส.ค. ๕๔ ทีมของ มสส. จะประชุม AAR การจัดเวทีนี้   แต่ผมเข้าไม่ได้ เพราะต้องไปเยี่ยมชื่นชมวิทยาเขตนครสวรรค์ของ ม. มหิดล ที่จังหวัดนครสวรรค์ทั้งวัน ตั้งแต่เช้ามืดถึงค่ำ   ผมจึง AAR ให้ก่อน   โดยจับที่ข้อเดียว คือตอบคำถามว่า จะเอาสิ่งที่ได้จากการไปร่วมเวทีนี้ไปทำอะไร

ผมตอบว่า ผมได้เห็นว่า ต้องมีการจัด workshop เพื่อเริ่มต้นวิธีฝึกทักษะทั้งสี่ของครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ให้แก่วงการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ส.ค. ๕๔

 

หมายเลขบันทึก: 454518เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจที่มีลู่ทางนำไปขยายผลต่อไปค่ะ .. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงข่าวเรื่องนี้อ้างชื่อคุณหมอด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท