Four sets of PHC reforms เรื่องที่ต้องปฏิรูปในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ของ WHO


อาจารย์ได้สะท้อน บริการสุขภาพในสายตาของ People ที่มีความรู้ด้านServiceที่ดีมากคนหนึ่ง ครับ

วันนี้ 17 ส.ค. 54 ไปเรียน การจัดการบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่ ม.นเรศวรกับอาจารย์ นพ.ยงยุทธ  พงษ์สุภาพ  อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องที่เป็น วาระสำคัญของ WHO ว่าจะต้องมีการปฏิรูประบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ  4 ประเด็น คือ

  1. Universal Coverage Reforms
  2. Service Delivery Reforms
  3. Leadership Reforms
  4. Public Policy Reforms

       อาจารย์กรุณาเล่าให้ฟังว่าเรื่องที่ 1 เราทำแล้วเรามี สปสช. และเป็นที่รู้จักได้รับการยอมรับสำหรับต่างประเทศดีพอสมควร  เรื่อง ที่ 4 เราก็มีการดำเนินการโดย สช. สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องที่ 3 กระทรวงเองก็กำลังมีการปรับโครงสร้างกระทรวงอยู่ หลักสูตรที่ผมเรียนก็เป็นหนี่งในความพยายามปฏิรูปด้านนี้  ยังขาดก็แต่ เรื่องที่ 2 คือ Service Delivery Reforms ที่มุ่งเน้นให้เกิดระบบบริการที่เป็น People focus ที่ไม่ใช่ Patient focus เท่านั้น  ซึ่งในระดับแนวคิดเรามีการปลูกฝังกัน   แต่ก็ดูเหมือนยังไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจน  โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกันภาคสังคมที่จะเข้ามามีส่วนร่วม

       ระหว่างเรียนก็ได้แต่นึกเสียดายแทนกระทรวงสาธารณสุขที่มีเพชรอยู่ในมือแต่ ไม่รู้คุณค่าเท่าที่ควร   ที่จริงเรื่องนี้ กระทรวงโดยสำนักบริหารการสาธารณสุข(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเดิม)  ได้ดำเนินการยกร่างมาตรฐานบริการสาธารณสุข PHSS ซึ่งหลายคนรู้จักกันในการนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลผ่านกระบวนการ พัฒนา HNQA และให้รางวัลโดยมอบรางวัล HCQA แต่  เพชรที่ซ่อนอยู่รอเวลาเอามาใส่เป็นหัวแหวน คือหมวดที่ 1 ว่าด้วย มาตรฐานบริการสาธารณสุขชุมชน สามารถนำมาใช้ในการปฏิรูปบริการสุขภาพปฐมภูมิได้   จากเดิมที่มุ่งเน้นพัฒนาเฉพาะประเด็น(แล้วแต่เขาให้เงิน หรืองบประมาณมา) มาเป็น People focus ,  Family focus รวมถึง Community focus  มาตรฐานฉบับนึ้พูดถึง Community needs โดยไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  หากหยิบยกมาเป็นนโยบาย  จะเป็นผลงานเด่นที่น่าจะแพร่หลายไปได้ทั่วโลกครับ เพราะเห็นเป็นรูปธรรม  ที่จังหวัดพิจิตรได้นำร่องมาใช้ในระดับ ศูนย์สุขภาพชุมชน  เห็นได้ชัดครับว่ากรอบความคิดของคนสาธารณสุขเปลี่ยนไป ชัดเจนและบูรณาการได้มากขึ้นครับ โดยสรุปภาพรวม ผมว่าประเทศไทยเราทำครบ ห่วงแต่ว่าจะหยิบมาเป็นประเด็นขยายผลหรือเปล่าเท่านั้น

       เรื่องนี้คงต้องยกเครดิตให้ อ.ชูชาติ  วิรเศรณี ที่ได้เป็นที่ปรึกษาในการยกร่าง  ถึงแม้อาจารย์จะเป็นวิศวกรที่ชำนาญด้านการประกันคุณภาพระบบบริการ  ที่หลายคนอาจเห็นว่าไม่ใช่แพทย์  แต่อย่างไรก็ดี  อาจารย์ได้สะท้อน บริการสุขภาพในสายตาของ People ที่มีความรู้ด้านServiceที่ดีมากคนหนึ่ง ครับ

หมายเลขบันทึก: 454514เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท