เวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษาด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ : ผมเห็นอะไร


ผมฝันเห็น PLC ที่ได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกให้จัดระบบการทำงานในโรงเรียนใหม่หมด เพื่อให้ยืดหยุ่นต่อการจัดการเรียนรู้ช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อนให้ตามทัน

เวที 21st Century Skills กับการปฏิรูปการศึกษาด้วยพลังการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ : ผมเห็นอะไร

วันที่ ๑๖ ส.ค. ๕๔ เป็นวันแห่งความสุขของผม   เป็นเวทีที่ผมรอคอยมาเกือบ ๒ ปี   และเมื่อได้เห็นก็ไม่ผิดหวัง   เพราะมันยืนยันว่าประเทศไทยมี “ครูเพื่อศิษย์” และ “ผู้บริหารเพื่อศิษย์” อยู่แล้ว จำนวนหนึ่ง   ท่านเหล่านี้สนุกและบากบั่นกับการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของศิษย์อย่างแท้จริง   และทำได้ผล

เวทีตัวอย่าง “จัดกระบวนการเรียนรู้ สร้างทักษะอนาคตในบริบทไทย ด้วย Project-Based Learning” มีพลังมาก  ผมเห็น PBL อยู่ในผู้เล่าทั้ง ๕ ท่าน   คือ เรื่อง

  • จุดไฟ “เอ๊ะ” สร้างกระบวนการเรียนรู้ ในโรงเรียนบ่อแก้ววิทยา  จ. กำแพงเพชร  โดย อ. สุรนันท์ พันธ์สมบูรณ์ ครูชีววิทยา ม. ๒
  • โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ของโรงเรียนกงไกรลาสวิทยา จ. สุโขทัย  โดย ดร. ดุษฏี สีตลวรางค์  ผอ.
  • ออกแบบเรียนรู้บนวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ในแบบโรงเรียนเพลินพัฒนา โดยครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ผช. ผอ” ด้านการจัดการความรู้ กับครูอ้อ วนิดา สายทองอินทร์ หัวหน้าวิชาภาษาไทย ชั้น ป. ๖
  • จัดการศึกษาโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ในแบบโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ. บุรีรัมย์ โดย ผอ. วิเชียร ไชยบัง

ผม AAR ว่า เรื่องเล่าทั้ง ๔ เรื่องนี้ บอกความเหมือนระหว่างทั้ง ๔ เรื่อง คือ

  • เป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่คุณภาพการเรียนรู้ของศิษย์   ให้เรียนจากสัมผัสจริงของตนเอง  ซึ่งจะทำให้เรียนสนุก เรียนได้ลึก (ได้ทั้งเนื้อวิชา และ ทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิตยุคใหม่)
  • ครูเปลี่ยนบทบาทมาเป็นเพื่อน (ชัดที่สุดที่ครูสุรนันท์)  facilitator และ “ครูฝึก”   ไม่เป็นครูสอนอีกต่อไป
  • ครูออกแบบการเรียนรู้ของศิษย์ ให้เริ่มที่สิ่งใกล้ตัว สิ่งที่นักเรียนสนใจ   เริ่มที่ความสนใจของศิษย์ แล้วชวนคิดเชื่อมโยงออกสู่ประเด็นการเรียนรู้   ให้เด็กคิด ลอง และนำเสนอผลสำเร็จ   นี่คือสุดยอดของ PBL

ผมเห็นหน่ออ่อนของ PLC ที่โรงเรียนกงไกรลาสฯ และโรงเรียนเพลินพัฒนา   เพราะมีการจัดครูเป็นทีม “โรงเรียนเล็ก” คือแต่ละระดับชั้นอยู่แล้ว   หาก “ครูใหญ่” ของ “โรงเรียนเล็ก” ถอยออกมาเป็น “พี่เลี้ยง” หรือ facilitator ของการ ลปรร. ความเป็น PLC ก็จะชัดเจนและมีพลังขึ้น

โรงเรียนเพลินพัฒนาใช้ PLC + PBL อยู่แล้ว ในแนวญี่ปุ่นที่เรียกชื่อว่า Lesson Study + Open System

ผมเห็นโอกาสเกิด PLC ในโรงเรียนเหล่านี้ในหลายมิติ  ได้แก่ PLC ครู ทั้งที่เป็น PLC ครูที่สอนวิชาเดียวกัน  และ PLC ครูที่สอนชั้นเดียวกัน   PLC ผอ. รร. ในเขตพื้นที่การศึกษา   

ผมฝันเห็น PLC ที่ได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกให้จัดระบบการทำงานในโรงเรียนใหม่หมด  เพื่อให้ยืดหยุ่นต่อการจัดการเรียนรู้ช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อนให้ตามทัน

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ส.ค. ๕๔

หมายเลขบันทึก: 454317เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2011 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอเพิ่มเติมส่วนที่ฝันอยากเห็น คือ PLC ทั้งเขตพื้นที่การศึกษา ที่เขต ๒ สุพรรณบุรี ให้เป็นเขตพื้นที่นำร่องของประเทศไทย ที่ใช้ PBL & PLC ปฏิรูปการศึกษาชนิดที่ปฏิรูปเพื่อนักเรียนอย่างแท้จริง เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ เพื่อการเรียนที่สนุกและมีความสุข รวมทั้งเพื่อชีวิตการเป็นครูที่สนุกและมีความสุขด้วย

วิจารณ์

ขอบคุณค่ะ เห็นความสุขที่จะต่อยอดได้อีกมากมายหากมีกระบวนการขยายผลออกไปอย่างกว้างขวาง :)

  • ได้เรียนรู้อะไรต่างๆ จากการประชุมเยอะมากครับ..
  • ขอบคุณโอกาสดีๆที่ตัวเองได้รับในครั้งนี้ครับท่านอาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท