AI : คู่แฝดของ KM (และ LO) ตอนที่ 2


ผู้บริหารมีหน้าที่คอยชื่นชม ตอกย้ำพฤติกรรมเชิงบวก อารมณ์เชิงบวก มโนภาพเชิงบวกของสมาชิกในองค์กร เพื่อขับเคลื่อนพลังของจิตใต้สำนึก พลังปัญญาญาณ เพื่อการบรรลุความสำเร็จขององค์กร

         วันนี้ (24 พ.ค.49)  ดร. ประพนธ์อ่านหนังสือบทที่ 2 : Positive Image,  Positive Action : The Affirmative Basis of Organizing มาเล่าให้ที่ประชุมประจำสัปดาห์ฟัง

         องค์กรสมัยใหม่ต้องบริหารจัดการด้วยมโนภาพ (imagery) คือสมาชิกขององค์กรร่วมกันสร้างมโนภาพว่าต้องการให้องค์กรเป็นอย่างไร   ร่วมกันตอกย้ำมโนภาพนั้นอยู่เสมอที่เป็น positive image   คือมองที่ภาพอันพึงประสงค์ (ไม่ใช่มองที่ปัญหาอีนุงตุงนัง)   พลังของมโนภาพเชิงบวกจะไปมีผลต่อจิตใต้สำนึกและไปมีผลต่อพฤติกรรม   ทำให้คนในองค์กรมีพฤติกรรมเชิงบวก   ยิ่งถ้าฝึกให้สมาชิกองค์กรมีพฤติกรรมตอกย้ำ (affirm) การกระทำเชิงบวกและมโนภาพเชิงบวกซึ่งกันและกัน   พลังของ "การสนับสนุนเชิงอารมณ์" (emotional support),  การป้อนกลับเชิงบวก (positive feedback),  การส่งเสริมด้วยความท้าทายด้วยอารมณ์เชิงบวก (positive emotion) อันได้แก่  ความยินดี,  เสียสละ,  สนุกสนาน,  ความรัก,  ความสุข,  ฉันทะ  เป็นต้น

         ผู้บริหารมีหน้าที่คอยชื่นชม  ตอกย้ำพฤติกรรมเชิงบวก  อารมณ์เชิงบวก  มโนภาพเชิงบวกของสมาชิกในองค์กร   เพื่อขับเคลื่อนพลังของจิตใต้สำนึก  พลังปัญญาญาณ  เพื่อการบรรลุความสำเร็จขององค์กร  

         การจัดการความรู้มีมิติส่วนที่เป็นความรู้ชนิดที่ลึกลงไปในจิตใต้สำนึกด้วย

         AI เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนพลังของจิตใต้สำนึก

AI : คู่แฝดของ KM (และ LO) ตอนที่ 1

วิจารณ์  พานิช
 24 พ.ค.49

หมายเลขบันทึก: 30938เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท