ข้อมูล...หลุมพรางการพัฒนา


เชื่อมั่นข้อมูลที่อยู่ในมือมั้ยครับ

                วันนี้ทางอำเภอ เชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การแก้ไขปัญหาความยากจนโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” กระบวนการส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้นให้ชาวบ้านลงไป recheck ข้อมูล สย.๑ – ๗  (ทะเบียนแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน) วิเคราะห์พร้อมข้อมูล จปฐ.(ความจำเป็นขั้นพื้นฐานระดับครัวเรือน)ระดับชุมชน

                ด้วยความที่ทำงานและรู้จักพื้นที่มานานพอสมควร ทำให้ไม่พึงพอใจในข้อมูลที่ได้มา มีข้อมูลหลายส่วนที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงมาก ทำให้เวลาเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือน และนำมาวิเคราะห์ เรามักจะพบเสมอว่า “ข้อมูล” ไม่สมบูรณ์ และ ไม่เหมาะที่จะนำไปวางแผนพัฒนาชุมชน - - -และเราก็พบเจอกับปัญหานี้มาชั่วนาตาปี การตัดสินใจแก้ไขปัญหาจึงไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนเกาไม่ถูกที่คัน ไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน และสุดท้ายก็เป็นการสูญเปล่าของงบประมาณรัฐ
               กระบวนการเก็บข้อมูลชุมชน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทางรัฐต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากมีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ และมีกระบวนการที่ได้มาซึ่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ การพัฒนาชุมชนจึงจะขับเคลื่อนและปัญหาชุมชนก็ถูกแก้อย่างรู้เท่าทัน
                   ผมค่อนข้างจะเชื่อว่าหลายๆแห่ง มีปัญหาคล้ายๆกันกับที่อำเภอของผม
เชื่อมั่นข้อมูลที่อยู่ในมือมั้ยครับ

หมายเลขบันทึก: 30935เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ผมคิดว่า ความขัดแย้งของข้อมูลเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับได้ในทางวิชาการนะครับ

เรื่องเดียวกัน พื้นที่ศึกษาเดียวกัน กรอบในการศึกษาเดียวกันแต่ใช้วิธีการศึกษาต่างกัน ข้อมูลก็ไปคนละอย่าง

มีเงื่อนไขปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลต่างกัน ไล่ตั้งแต่การตั้งคำถาม วิธีวิทยา ไปจนถึงตัวผู้เก็บข้อมูล

หรือแม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกของผู้ให้สัมภาษณ์

อีกประเด็นที่นักวิชาการสาย Post modern ให้ความสำคัญก็คือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้คนที่มาเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย และการเก็บข้อมูลดังกล่าว

ผมดีใจที่ได้ยินหลายๆคน โดยเฉพาะท่านพัฒนาการอำภอชี้ชวนว่าไม่อยากให้ชาวบ้านเป็นทุกข์กับการเก็บข้อมูลมากไปกว่านี้

อย่างน้อย ท่านก็แสดงความเห็นใจและมองเห็นหัวใจของชาวบ้าน คิดถึงใจเขาใจเรา ไม่อยากเห็นชาวบ้านเป็นผู้ถูกกระทำ

แต่ด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และวิธีวิทยาที่ใช้กันอยู่นี้ ผมคิดว่ามันยาก เพราะมัน top down โดยโครงสร้างและระบบราชการเห็นๆ

อันนี้ เปลี่ยนยากมาก นักเก็บข้อมูลแนวมหาดไทยคงไม่เอาด้วย

 

     ในการตัดสินใจ อย่าฝากไว้แต่เพียงข้อมูล ต้องใช้ข้อเท็จจริงด้วยครับ แต่ข้อมูลก็ใช้ครับใช้เพียงส่วนหนึ่งและต้องทราบว่าข้อมูลนั้นมี Confounding หรือไม่อย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท