การวัดและประเมินผลทางภาษา(18)


ดังนั้น นักเรียนของครูอ้อยจะถูกฝึกให้คิดแบบแยกแยะ คิดให้ได้เป็น mind mapping คิดให้ออกเป็นชนิด และคุณสมบัติของสิ่งนั้น
ครูอ้อยเขียนบันทึกเกี่ยวกับการประเมินผล  โดยมีองค์ประกอบหลายชนิด  ดังที่กล่าวไปแล้วนั้น  แต่บันทึกที่แล้วเรื่อง  การวัดและประเมินผลทางภาษา(17) ได้กล่าวถึง  ทักษะการคิด
ส่วนในบันทึกเรื่องนี้  จะเป็นหัวข้อเดียวกัน  แต่หัวข้อย่อย  จะเป็นเรื่อง  ผลผลิต
ผลผลิต  เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินที่สำคัญมาก
แต่มักจะนำมาใช้กันน้อย  โดยทั่วไป  ครูผู้สอนในทุกระดับของการเรียน  มักจะให้นักเรียนได้ผลิตผลงานออกมา  ไม่ว่าจะเป็นการวิจารณ์หนังสือ  การทำรายงานประจำภาคเรียน  การมอบหมายการบ้าน  แผ่นป้ายแสดงผลงาน  งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง  และโป๊สเตอร์ 
สิ่งที่สำคัญในการประเมิน  ก็คือ  ต้องแจ้งนักเรียนว่า  ส่วนใดบ้างที่จะมีการประเมินไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ  เนื้อหา  การสะกดคำ  การออกแบบ  หรือสิ่งใดก็ตาม
จากนั้นจึงมีการให้รูปแบบตัวอย่าง  เพื่อให้นักเรียนได้รู้ว่า  อะไรคือลักษณะของผลผลิตที่เป็นที่ยอมรับหรือมีความยอดเยี่ยม 
เครื่องมือการประเมินที่มีประโยชน์  จะประกอบด้วยรูปแบบที่กำหนดมาตราส่วนประเมินค่า  และแบบตรวจสอบรายการ
หมายเลขบันทึก: 71482เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เรียกว่าประเมินทั้ง Formative และ Summative ใช่ไหมครับพี่อ้อย

ใช่เลยค่ะ คุณขจิต

  • เรื่องของการประเมิน  ดูเหมือนง่ายนะคะ  แต่พอศึกษากันจริงๆนี่มันซับซ้อนค่ะ  ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณขจิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท