ความยากจนในสังคมและเกษตรกรไทย (๑๒) : กับดักทางเศรษฐกิจและสังคม


ความยากจนของเกษตรกรนั้นยังเชื่อมโยงกับกับดักทางสังคมอีกหลายประการ โดยเฉพาะลูกหลานที่ไปทำงานมีรายได้เป็นรายเดือนนั้น จะถูกนับได้ว่า “มีฐานะ” มากกว่าเกษตรกรทั่วไป ที่ต้อง “แสดง” “น้ำใจ” ให้คนอื่นเห็นตาม “ฐานะ” ที่สมมติว่าสูง ที่ต้องจ่ายตามนั้น
  • ผมได้รับแรงบันดาลใจจากครูวุฒิ แห่งโรงเรียนบ้านโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ว่าความยากจนของเกษตรกรนั้นยังเชื่อมโยงกับกับดักทางสังคมอีกหลายประการ

โดยเฉพาะลูกหลานที่ไปทำงานมีรายได้เป็นรายเดือนนั้น จะถูกนับได้ว่า มีฐานะ มากกว่าเกษตรกรทั่วไป ที่ต้อง แสดง น้ำใจ ให้คนอื่นเห็นตาม ฐานะที่สมมติว่าสูง ที่ต้องจ่ายตามนั้น

  เช่นเดียวกับ การได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน หรือ อบต.  ก็ต้องจ่าย ใส่ซอง ในงานต่างๆ มากกว่าชาวบ้านทั่วไป มิเช่นนั้น ก็จะถือว่า ไม่รักษาหน้า ไม่รักษาศักดิ์ศรีของตัวเอง ตามสมควร ตามความคาดหวัง ของสังคม

  นี่คือที่มาของความจำเป็นที่จะต้องดิ้นรน และวิ่งเข้าหาจุดที่มีกับดัก อยู่มากมายในระบบ ธุรกิจของสังคมไทย ที่ถือว่าเป็นเรื่อง ชอบธรรม  

เพราะ เขาถือว่าเป็นการบริการ การช่วยเหลือกันในภาวะทุกข์ยาก  

โดยหารู้ไม่ว่า การทำดังกล่าว แม้จะดูเผินๆเป็นการช่วยกัน แต่ในแนวลึกแล้ว

เป็นการสร้างนิสัยการใช้เงิน และทรัพย์สินเกินความสามารถของตนเอง ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

  แต่กว่าจะรู้ตัวก็ถลำเข้าไปติดกับ หาทางออกยาก และในระบบดังกล่าว

เมื่อดูไป ก็จะเหมือนตาข่ายดักปลา ที่เมื่อปลาติดแล้ว ยิ่งดิ้นหาที่พึ่งในภาวะติดตาข่ายนั้น มีแต่จะยิ่งติดหลายช่องมากขึ้นเรื่อยๆ มัดตัวจนในที่สุดก็หมดแรงดิ้นไปเอง

  เพราะในปัจจัยแวดล้อมนั้นจะไม่มีระบบธุรกิจใดที่หวังดียอมเสียผลประโยชน์เพื่อช่วยคนที่ทีปัญหา   มีแต่ทำแล้วดูเหมือนช่วยแต่ในที่สุดก็ทำเพื่อผลประโยชน์เชิงธุรกิจ ที่ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ที่ผมเปรียบเสมือนการที่ปลาดิ้นไปติดตาข่ายอีกช่องหนึ่งนั่นเอง  กรณีนี้นักธุรกิจทางการเงินที่ตาเห็นธรรม คงจะสนับสนุนผมได้ดี 

ระบบปัญหาของกับดักนี้ แต่เดิมจะอยู่ในกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยการชักชวนให้ทำบัตรเครดิต ที่บอกว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการไม่ต้องพกเงิน   ซึ่งก็น่าจะเป็นจริงตามนั้น

   แต่ในทางปฏิบัติ การไม่พกเงินจะทำให้ลืมไปว่าจริงๆแล้วมีเงินอยู่เท่าไหร่ และเป็นทางนำไปสู้การใช้เงินเกินตัว เพราะในขณะใช้นั้น ยังไม่ต้องจ่ายเงิน เลยทำให้ดูเสมือนว่ายังมีเงิน  ความคิดที่ว่ายังมีเงินนี่แหละที่ทำให้คนจ่ายเงินเกินตัว 

พอใช้ไปสักพักก็จะเริ่มติดลบโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเจ้าของบัตรก็ยินดี เพราะจะได้ดอกเบี้ยจากการติดลบ   

เพราะในความเป็นจริงธนาคารคงไม่ได้กำไรมากถ้าทุกคนใช้เงินแบบระมัดระวัง ไม่ปล่อยให้มีการติดลบในบัตร   

จึงเป็นที่มาของระบบปากว่า ตาขยิบ เพื่อผลประโยชน์ในทางธุรกิจที่ทำในกลุ่มมนุษย์เงินเดือน

ซึ่งมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ที่ใจอ่อนตามคำของเจ้าหน้าที่ที่มาชักชวน ก็จะมีโอกาสเข้าไปในระบบจนอาจติดกับดักนี้ได้   

ในกลุ่มผู้มีทรัพย์สิน ก็จะมีกับดักระบบคิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงเป็นแสน เป็นล้าน จะมาทนดักดานอยู่อย่างนี้ได้อย่างไร ถ้าเรายืมเงิน(คิดว่าเป็นของเรา)มาทำธุรกิจก็น่าจะเป็นช่องทางที่ดี หรือยืมมาใช้บ้าง แล้ววันหลังค่อยหาคืน น่าจะได้อยู่

นี่ก็เป็นกับดักทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาฐานะทางสังคม ตามความเชื่อของตนเอง แต่ส่วนใหญ่กับดักนี้จะนำไปสู่การสูญเสียที่ดิน ดังได้กล่าวไว้แล้ว ในบทความก่อนๆ เรื่องการสูญเสียที่ดินจากการจำนองในกลุ่มผู้มีทรัพย์สินค้ำประกัน

  สำหรับในกลุ่มที่ไม่มีทรัพย์สินก็อย่าคิดว่าไม่มีกับดักนะครับ ในช่องนี้จะมีการให้กู้ดอกเบี้ยสูงที่เก็บคืนเป็นรายวัน ที่ต้องเสียดอกอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ต่อเดือน

 แต่ถ้าประวัติการผ่อนไม่ดีอาจหากู้ยาก และเสียดอกสูงถึงร้อยละ ๒๐ ต่อเดือน

 ซึ่งเป็นกับดักที่เสี่ยงต่อผู้ให้กู้ แต่ก็จะมีระบบทางสังคมเป็นตัวค้ำประกัน ทั้งในเชิงระบบการทำมาหากิน ที่ต้องอยู่ตรงนั้น หรือระบบไม่รับรองความปลอดภัย ถ้าเบี้ยวหนี้ขึ้นมา

นั่นก็เป็นกับดักเงินกู้ดอกเบี้ยสูงใน กลุ่มไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน  

ที่กล่าวมานั้นเกี่ยวอะไรกับความยากจนภาคเกษตรกรรม

 ที่เกี่ยวของก็คือ

ความคาดหวังของครอบครัวเกษตรกรที่ส่งลูกไปเรียน หรือไปทำงานในเมือง ก็คาดหวังว่าจะได้เป็นที่พึ่งกับคนอื่นๆ ในครอบครัว ในตระกูล หรือในชุมชนที่ตัวเองเคยอยู่  ความคาดหวังนี้มีตั้งแต่

  • การส่งเงินกลับบ้าน
  • การช่วยเหลือญาติพี่น้องคนอื่นๆ
  • การช่วยงานบุญ(ที่ไม่ใช่ทำบุญ) เช่นงานบวช งานแต่งงาน งานศพแบบล้างผลาญ ระดับคนตายกินคนเป็น ติดหนี้ติดสินกัน โดยไม่ได้อะไร

บางทีก็บวช ๓ วัน ๗ วัน แล้วคนที่บวชก็ต้องรีบสึกมาช่วย

กันเก็บของที่ยืมมาส่งเขา

ซึ่งเป็นตลกร้ายที่ผมเคยได้ยินมาบ่อยๆ

นอกจากนี้ ก็ยังมีความคาดหวังในการ

  • ร่วมทำบุญอื่นๆ
  • การตั้งกองกฐิน ผ้าป่า 
  • งานฉลอง
  • งานวันเกิด
  • งานแต่ง
  • งานบวช และ
  • ภาษีทางอ้อม เพื่อรักษาในการรักษาฐานะทางสังคม 

ความสูญเสียจากกับดักเหล่านี้ ยังมาจาก

การบริโภค และใช้สิ่งเสพติด การพนัน เป็นสัญญลักษณ์ของการฉลอง และรักษา ฐานะ ทางสังคมของตนเอง  

นอกจากนี้ในระบบสังคมไทย ยังนิยมใช้เครื่องอำนวยความสะดวก รถ โทรศัพท์มือถือ ของใช้ในบ้านเป็นการแสดงถึงฐานะทางสังคม

ที่ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น และพอไม่มีก็เข้าสู่ระบบกับดักดังกล่าวข้างต้น  

ทำอย่างไรดีครับ

  • ที่คนจะรู้เท่าทันกับกับดักเหล่านี้
  • ลดให้เหลือน้อยลง หรือ
  • บอกเตือนกันให้รู้หรือรู้ล่วงหน้า และ
  • ช่วยเหลือกันเมื่อมีใครพลาดไปโดยไม่ตั้งใจ  
  • ไม่ใช่คอยแต่มองหาช่องทางความผิดพลาดของคนอื่นเพื่อเป็นโอกาสทางธุรกิจ กันอย่างในปัจจุบัน  
  • ช่วยกันทำบุญช่วยชีวิตคนตรงนี้ จะดีกว่าการทำบุญแบบไม่ได้บุญอย่างอื่นไหมครับ   
หมายเลขบันทึก: 127130เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ทำอย่างไรดีครับ

  • ที่คนจะรู้เท่าทันกับกับดักเหล่านี้
  • ลดให้เหลือน้อยลง หรือ
  • บอกเตือนกันให้รู้หรือรู้ล่วงหน้า และ
  • ช่วยเหลือกันเมื่อมีใครพลาดไปโดยไม่ตั้งใจ  
  • ไม่ใช่คอยแต่มองหาช่องทางความผิดพลาดของคนอื่นเพื่อเป็นโอกาสทางธุรกิจ กันอย่างในปัจจุบัน  
  • ช่วยกันทำบุญช่วยชีวิตคนตรงนี้ จะดีกว่าการทำบุญแบบไม่ได้บุญอย่างอื่นไหมครับ 

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร.แสวง ที่เคารพ

  • ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับที่ให้เกียรติผม
  • ท่านวิเคราะห์ได้ละเอียดละออ  จนสามารถเห็นภาพขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งที่ไปที่มาของปัญหาได้อย่างชัดเจน
  • ประเด็นที่กระผมยกมา ผมคิดว่า "กระบวนเรียนรู้ในแบบของการศึกษาเพื่อชีวิต ในแบบของมหาชีวาลัยอีสาน" น่าจะช่วยได้  เพียงแต่ทำอย่างไรจะให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เขาตระหนักในปัญหา  และเห็นเนื้อแท้ของมหาชีวาลัยอีสาน
  • ในส่วนของการศึกษาในระบบ  ผมว่าควรต้องแยกมวลประสบการณ์เป็นหมวดหมู่ตามความชอบของเด็กตั้งแต่ระดับมัธยมต้น และมีการส่งเสริมหรือให้โอกาสในการฝึกฝนเรียนรู้เท่าๆกัน  ไม่ใช่บังคับให้เด็กเรียนวิชาสามัญเหมือนๆกันทุกคน (บางวิชาไม่บังคับแต่ก็เหมือนบังคับ  เพราะเด็กไม่มีวิชาหรือกิจกรรมที่ชอบให้เลือกเลย)
  • จะเข้ามาเพิ่มเติมอีกทีหลังครับ
  • สวัสดีครับ

ครูวุฒิครับ

วันก่อนผมไม่ไปดูน้ำในนาผม ๒ วัน คันกว้าง ๔ เมตรยังขาด

เข้าใจว่าปูเจาะตามรูน้ำซึม พอน้ำไหลผ่านนานๆ ก็เลยพังกว้างเกือบเมตร

เราคงจะใช้หลักการเดียวกันนั้

ตอนนี้เราต้องการปูที่รู้ที่เจาะรู แล้วคักั้นก็จะพังเองครับ

นี่คือความฝันของผมครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

      ในปัจจุบันเรื่องของปัญหากับดักทางเศรษฐกิจมีอยู่เกือบจะทุกท้องถิ่น 

      หนูคิดว่า  สถานที่การศึกษาน่าจะมีส่วนช่วยได้บ้าง  ครู  อาจารย์  สามารถที่จะบูรณาการในการสอนชีวิตและความเป็นอยู่เพื่อที่จะกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาตระหนักถึงความถูกต้องในการดำรงค์ชีวิต

  • มาช้าไปนิดหน่อยนะครับ
  • ที่นาบ้านผมไม่มีปูแล้วครับอาจารย์
  • ผมจับกินหมด
  • อิอิอิ
  • ชาวบ้านบางท่านไม่ได้คิดถึงกับดักทางสังคมแบบนี้ครับ
  • เพราะยังไม่มีการรวมกลุ่มพูดคุยกันหรือหาทางแก้ไข ตักเตือนกัน
  • อยากได้คนที่สามารถรวบกล่มชาวบ้านและช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาของชุมชนของเขาเองครั

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • หลักการอย่างที่ท่านอาจารย์ว่าก็เจ๋งครับ  คงใช้ปูเป็นทีม  ลงมือเจาะไปเรื่อยๆ และฝึกปูรุ่นประถม,มัธยมไปด้วย
  • ผมและพันธมิตรทางนี้  ก็เริ่มปฏิบัติการไปตามกำลัง  ถ้ามีพันธมิตรกว้างขึ้น  คงช่วยได้มากครับ
  • แล้วจะเข้ามาคุยอีกครับ
  • สวัสดีครับ
  • ผมมองว่า ระบบการศึกษา ไม่ได้สอนในหลายเรื่อง อาจเป็นเพราะปรับตัวไม่ทัน หรือเพราะผู้ดูแลเนื้อหามีความอางขนางใจ (=บัดสี) ที่จะพูดถึง เพราะตั้งแง่ว่าเป็นเรื่องของคนรวยหรือทุนนิยม
  • อย่างเช่น เรื่องบัตรเครดิต
  • อย่างเช่น เรื่องการลงทุน การทำธุรกิจ
  • อย่างเช่น การจัดสรรเงินเพื่อลงทุนให้อนาคต
  • เรื่องเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ระดับองค์กรต้องเข้าใจ ไม่งั้นอยู่ไม่ได้ แต่ไม่ได้จำกัดว่าคนทั่วไปห้ามเรียนรู้  โดนตะกั่วหลอมร้อนแดงเทกรอกปากฐานแอบเรียน ซักหน่อย
  • คนทั่วไปควรเรียนรู้
  • ไม่สิ ผมมองว่า ต้องเรียนรู้
  • ปฎิเสธเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เหมือนการปิดตาตัวเองเวลาเห็นรถบรรทุกพุ่งมาหา เพราะคิดว่า ปิดตาซะ ก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็น ก็ไม่มี

ลองดูเรื่องเล่าเป็นกรณีศึกษา

  • คนที่เป็นหนี้บัตรเครดิตส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่า ไม่รู้จักธรรมชาติของบัตรเครดิตซะแร๊วส์
  • ผลคือ ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่ง พิธีกรจัดเล่นเกมส์เพื่อแจกของรางวัล งัดเกมส์แปลก ๆ สนุก ๆ มาให้เล่นถี่ยิบ เพื่อไล่แจกรางวัล
  • มีเกมส์หนึ่งที่ทำให้ผมจำมาตลอด คือ โต๊ะไหนมีบัตรเครดิตรวมกันมากที่สุด เอารางวัลไปเลย
  • โต๊ะที่ชนะ ชนะเพราะมีคนที่พกบัตรเครดิต 22 ใบ
  • คนทั้งงานฮือฮา
  • ในเสียงฮือฮานั้น เจือด้วยสำเนียงว่า "อิจฉาว่ะ" "โอ้โห รวยจัง"
  • ผมฟังแล้วหัวเราะหึหึในใจ
  • เพราะผมคิดในใจว่า "มีเท่าไหร่ เดี๋ยวก็หมด"
  • กลับถึงบ้าน เริ่มเปลี่ยนใจ
  • "เอ๊ะ..หรือว่าตอนนี้เขากำลังเล่นกายกรรมไต่ลวดข้ามเหว (=หมุนหนี้บัตรเครดิตด้วยบัตรเครดิต) ?"

อีกเรื่องหนึ่ง

  • ผู้บริหารของบริษัท HP ที่ทำเครื่องพิมพ์ เขาเคยเขียนบทความกึ่งวิชาการ เรื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์
  • เขาพูดถึงการพัฒนาในบางแนวทาง เช่น ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ว่า เขามีท่าทีอย่างไร ในการลงทุนวิจัย
  • เขามองว่า ในฐานะบริษัทด้านนี้ เขาต้องทำวิจัย
  • แต่เงินที่ลงทุน จะต้องตีวงว่า ไม่เกินเท่าไหร่
  • ขอเล่าวิธีคิดของเขา แต่ผมจำตัวเลขไม่ได้ ขอสมมติแทน โดยให้เข้าใจกันไว้ก่อนว่า ตัวเลขนี้ ผมสมมติเอา ไม่ใช่ตัวเลขจริง ที่ต้องยกตัวเลข เพราะเวลาฟังจะได้นึกออก
  • เขาเริ่มจากการคิดว่า ขณะนี้ บริษัท มีมูลค่าการตลาดเท่าไหร่
  • สมมติว่า แสนล้านบาท
  • เขาก็มองว่า การลงทุนทำวิจัยและพัฒนา ควรจำกัดไว้ไม่เกิน 1 %
  • ก็คือ งบรวม พันล้านบาท
  • มาดูต่อว่า วิจัยนี่ื ต้องคลุมทุกเรื่อง โดยเน้นธุรกิจแกนของเขาก่อน คือวิจัยเครื่องพิมพ์ต้องมาก่อน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต้องมาทีหลัง
  • สมมติว่าเขาให้น้ำหนักซูเปอร์คอมพิวเตอร์ว่า 5 %
  • ทุนวิจัยเทมาด้านนี้ ก็น่าจะเป็น 50 ล้านบาท
  • ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี่ ก็มีหลายทางเลือกอีก เช่น วงจรขนาน หรือ ควอนตัม
  • เขาก็ดูว่า ทางเลือกไหน น่าจะเป็นไปได้สูงกว่า ในที่นี้ สมมติว่า เขามองว่า ควอนตัมมันเป็นไปได้ยากกว่าในช่วงนี้ เขาก็อาจให้เพียง 10 %
  • ก็จะเป็นว่า ได้ทุน 5 ล้านบาท
  • นี่เป็นวิธีมองคร่าว ๆ ของเขา ที่ผมว่า บางที เราในฐานะเป็นคนธรรมดา ก็น่าเรียนรู้ ปรับใช้ด้วย
  • เช่น ลงทุนเพื่อการศึกษาให้ตัวเอง เช่น ซื้อหนังสือสร้างความรู้ให้ตัวเองในวงเงินที่คิดเลียนแบบที่ผู้บริหาร HP เขาทำ หรือให้เพื่อสังคมในวงเงินที่ตัวเองรับได้แบบกำลังสบาย ๆ ตามจริต โดยไม่ให้น้อยกว่านั้น และไม่ให้มากกว่านั้น
  • นี่เป็นกรณีศึกษาของคนเมือง
  • แต่กรณีของเกษตรกร การลงทุนเพื่อการเรียนรู้ ควรเป็นอย่างไร อันนี้ผมไม่ทราบ ไม่กล้านึกแทน เพราะผมปลูกอะไร ก็ตายเรียบ คงขาดคุณสมบัติการออกความเห็น
  • เป็นคนที่ไม่ชอบเอาเงินในอนาคตมาใช้คะ
  • เลยไม่ติดกับดักประเภทนี้
  • เห็นด้วยคะ..ภาษีสังคมมีมากเหลือเกิน..แล้วต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆนะคะ
  • ระบบแบบพึ่งพาตนเอง..และลงแขกเอาแรงเริ่มหมดไปจากสังคมระดับล่างเช่นกันคะ
  • เงินคือ อสรพิษจริงๆคะ..แม้พี่น้องยังฆ่ากันได้นะคะ

PPPPP

สวัสดีครับ

ผมว่าการมีเครดิต กับการเอาเงินนอนาคตมาใช้ มันเป็นคนละเรื่องเดียวกันนะครับ

  • ผมว่าประเด็นที่ทำให้ปนเป จนดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกัน ก็เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจนะครับ
  • เรื่องนี้จะจับมือใครดมดีครับ
  • เจ้าหน้าที่ และพนักงานการตลาด ก็บอกเป็นอาชีพของเขา ขืนบอกความจริงทั้งหมดก็หาลูกค้ายาก
  • บริษัทเขาก็ว่าเป็นระบบธุรกิจ ลูกค้าควรมีวิจารณญาณตัดสินเอง และเขนับถือว่า ลูกค้าของเขาทุกคน มี "สติ" และ "ปัญญา" พิจารณาว่าอะไร "ควรไม่ควร"
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ขี่ยานอวกาศดูโลกมนุษย์ ก็ดูเรียบร้อยดี ยังไม่เห็นแตกเป็นเสี่ยงๆ
  • เฮ้อ.....

หันมามองเชิงงานที่ใช้เงินระดับชาติ

ตอนนี้กำลังเป็น "ฤดูการประชุม" ที่ข้าราชการทุกคนทราบดีว่าทำไม

  • สำนักงบประมาณก็น่าจะรู้นะครับ แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลง
  • หรือเขาไม่รู้จริงๆ
  • เพราะในเอกสารการเงินก็ดูดีอยู่นะครับ ไม่มีรูรั่วสักนิดเดียว
  • ทุกอย่างใช้อย่างมีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ
  • เฮ้อ......

แล้วจะให้ใครดูตัวอย่างจากที่ไหนครับ......เหนื่อย

  • หรือว่า ประเทศไทยเป็นประเทศร่ำรวยจริงๆ ครับ
  • ผมเข้าใจอะไรผิดไปไหมนี่....................
  • การประชุมหรือการมีกิจกรรมช่วงกรกฏา สิงหา กันยา ในหน่วยงานที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเนี่ยนะครับ  ผมเห็นและฟันธงได้อย่างชัดเจนว่าประเทศไทยเราเสีย 2 เด้งเลยครับ
  • 2 เด้งยังไง  เด้งที่ 1  เงินภาษีประชาชนสูญไปอย่างไร้ประโยชน์เกือบ 100%  เด้งที่ 2  สมองของเด็กขาดทุน  เพราะครูถูกเกณฑ์ไปเป็นเครื่องมือในการผลาญงบประมาณ
  • ผมจึงได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้มีงบเพื่อการศึกษามากไปกว่านี้เลย เพราะลำพังแค่นี้ครูก็กระอักการอบรมและศึกษาดูงานมากเกินพอแล้ว 16-20 ที่จะถึงนี้  ผู้บริหาร รร. แถบแถวที่ผมอยู่กว่า 220 คน ก็ถูกเกณฑ์ไปเสี่ยงตายถึงแม่สอด เชียงรายโน่น  เฮ้อ...ไม่รู้งานนี้จะรอดกลับมาหรือเปล่า  เพราะเห็นฟ้าฝนก็กำลังชุกเต็มที่  น้ำป่าก็ไหลหลาก  หน้าผาก็มีหินมีดินถล่ม  แถมงานนี้มีหมายเหตุว่า "ไม่อนุญาตให้ส่งตัวแทนไปร่วมศึกษาดูงาน"อีกต่างหาก โหย...เวรรร...กรรรรรรม....  มีอีกไหมครับ  "ผู้บังคับและบัญชา"แบบนี้
  • สวัสดีครับ
  • กับดักทางสังคม มีหลักการคือ ยุ หรือกระตุ้นให้ฮึดด้วยการดูถูก ให้คนที่จะติดกับดัก สร้างกับดักเอง แล้วเอาตัวเข้าไปติดกับดักเอง แล้วตายเอง
  • ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นทำกับเราเพียงอย่างเดียว
  • เป็นสิ่งที่เราทำกับคนอื่นด้วย แม้จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
  • สมมติผมใส่โซ่ทองหนัก 20 บาท ฉุยฉายไปมา ก็จะเป็นแรงกดดันให้คนรอบข้างอยากทำตาม
  • (เอ..ผมเข้าใจผิดอะไรไหมนี่...?)

อาจารย์ครับ

กิ้งกือยังตกท่อเลยครับ

จึงอยู่ที่ตัวเรานี่แหละครับ

ไปวิ่งตามคนอื่น ตายทั้งปี

เพราะ เราจะมองสังคมเป็นหนึ่ง แต่ไม่จริงครับ

สังคมเขาวิ่งผลัด (หลายคน) แล้วเราไปแข่งกับเขา แบบบุกเดี่ยว

ตายทั้งปีครับ

นี่คืออีกมุมหนึ่งของความซับซ้อนของระบบกับดัก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท