สิทธิเด็ก


วันนี้กลับบ้านเร็วหน่อย เมื่อตอนหัวค่ำ เปิดทีวีดูรายการ ถ้าคุณแน่ อย่าแพ้ ป.๔ มีคำถามอยู่คำถามหนึ่ง เป็นคำถาม สังคม ป.๑ (คิดว่าอย่างนั้น) ถามว่า "สิทธิเด็กมีกี่ข้อ"

แหงล่ะครับ ผมตอบไม่ได้! -- ตามกติกา ลุงมันแย่ ไม่รู้จริงๆ หลาน แต่เมื่อลุงไม่รู้ ลุงค้นหาคำตอบ ไม่ได้เชื่อคำเฉลยเพราะว่าลุงไม่ได้ทำข้อสอบอยู่ ในชีวิตจริง อาจจะไม่มีผู้ที่มาคอยเฉลยคำตอบให้เราอยู่ตลอดเวลา 

คำตอบที่เฉลยมาคือ 4 ข้อ ได้แก่ สิทธิในชีวิตและการอยู่รอด สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม

เว็บไซต์ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) มีคำอธิบายความเป็นมา และให้รายละเอียดที่ดี

นี่คือ...คำขอร้องของชาวโลก

    นี่คือคำขอร้องของชาวโลก เพื่อลดความวิปโยคความโศกศัลย์
หนึ่งพึงให้สิทธิเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกเผ่าพันธ์และชั้นชน
     สองพึงให้เด็กเราได้มีหลัก ได้รับการพิทักษ์เป็นเบื้องต้น
สามมีชื่อและสัญชาตกำเนิดตน สี่รับผลมั่นคงในสังคม
     ห้าเด็กผู้พิการทั้งกายใจ เด็กพึงได้รับรักษาโดยเหมาะสม
หกพึงได้ความรักรู้อารมณ์ ถนอมเลี้ยงเกลี้ยงกลมทุกกรณี
     เจ็ดสิทธิได้ฝนฝึกได้ศึกษา แปดได้รับอุปการะในทุกที่
เก้าไม่ถูกทารุณหรือเฆี่ยนตี ถูกกดขี่รังแกและถูกทิ้ง
     สิบพึงให้ได้รับการคุ้มครอง พ้นจากผองการแบ่งแยกเป็นอย่างยิ่ง
เลี้ยงดูให้เติบตนเป็นคนจริง ทำทุกสิ่งตามสมควรเพื่อส่วนรวม

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เอกสารเผยแพร่แด่น้องของเรา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) ปี 2525

ไม่ว่าคำตอบจะมีกี่ข้อ สิ่งที่เราควรถามตัวเองคือเราปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร สมกับที่เด็กเป็นอนาคตของชาติจริงหรือไม่ และเราได้ลงทุนกับเด็กอย่างไรเพื่อที่จะให้ชีวิตเขาเติบโตกลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

คำสำคัญ (Tags): #สิทธิเด็ก
หมายเลขบันทึก: 161016เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • แวะมาทักทายครับ
  • เค้าว่ากันว่า เด็กคืออนาคตของชาติ 
  • เด็กคือผ้าขาวที่รอการเติมแต่งสี
  • เด็กคือความฝันจากฝุ่นผงและธุลี
  • เด็กคือ..อัญมณี..ที่งดงามท่ามกลางใจ

    รักษาสุขภาพนะครับ


ขอบคุณครับคุณมะเดี่ยว ผมพอบอกเพื่อนคุยหลายคนว่าจะ "ไปเลย" มีแต่คนร้อง "ฮ้า ทำไมล่ะ" 

ไปมาแล้วครับแต่ไม่ผ่านหนองคาย กะไปหนาว ก็หนาวจริง แต่เวลาร้อนนี่ ร้อนสะบัด

 สสัสดีครับ คุณ Conductor ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ สำหรับประเด็นคำถามทิ้งท้ายที่ว่า

ปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร สมกับที่เด็กเป็นอนาคตของชาติจริงหรือไม่ และเราได้ลงทุนกับเด็กอย่างไรเพื่อที่จะให้ชีวิตเขาเติบโตกลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

     ผมขออนุญาตตอบคำถาม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ผมจะจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กในเรื่องเหล่านี้ครับ

      *  ให้เด็กได้รับปัจจัยสี่เท่าที่จะทำได้
      *  ให้เด็กได้รับความปลอดภัย  ทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ
      *  ให้เด็กได้รับการยอมรับว่าเขาเป็นบุคคลที่มีคุณค่า และ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
      *  ให้เด็กได้รับการพัฒนาตามความถนัดและตามความสามารถของเขา

      ครับ ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ผมและคณะทำอยู่ครับ   แต่ก็ไม่ได้ผลร้อยเปอร์เซนต์หรอกครับ  ทำเท่าที่จะพอทำได้  ตามแต่กำลังและความสามารถ
                                     ขอบคุณครับ

ฝาก ผอ.small man พิจารณาเรื่อง self-esteem ด้วยครับ ยาวมากแต่สำคัญมากเช่นกัน

ขอบคุณครับ สำหรับ   Self-esteem  พร้อมเนื้อหาอย่างหลากหลาย ผมได้อ่านอย่างคร่าวๆ แล้ว  มีประโยชน์มากครับ    

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณconductor

  • วันนี้ดมยาสลบเด็กออร์ทิสติคค่ะ  ใช้วาทศิลป์ในการ(หลอก)ดูแลเด็กมากมายค่ะ...ไม่รู้ว่าจะไปทอนสิทธิเด็กหรือเปล่า...แล้วจะบันทึกเล่าให้ฟังค่ะ
  • สบายดีนะคะ

 สวัสดีค่ะ

จำได้ว่า สมัยเก่า เวลา มีผู้หญิง สมัครผู้แทนฯ หัวข้อ ที่หาเสียงทุกครั้ง คือ เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี เป็นส่วนใหญ่

ต่อมาก็จะมี ส.ว.บางท่าน ที่รณรงค์ ในเรื่องนี้มาก และก็ได้ผลค่ะ ประกอบกับ  อาจจะ เมื่อปี ประมาณ 2543 (จำไม่ได้แน่) ความมั่นคงของมนุษย์เป็นแนวคิดใหม่ที่เพิ่งได้รับการเสนอเป็นระเบียบวาระโลกด้วย

มีการตกลงร่วมกันในสังคมโลกว่า.....

สิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมทั้ง สิทธิเด็กด้วย ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องประกันสิ่งพื้นฐาน ได้แก่ อาหาร สุขภาพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย การคุ้มครองครอบครัว ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม การปกครองของกฎหมาย การป้องกันการค้าทาส การทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษที่ผิดความเป็นมนุษย์

ทุกประเทศ ต้องให้การประกัน เป็นพื้นฐาน

ประเทศเรา ก็พบว่า มีการพยายาม ให้ความสำคัญ ต่อสิทธิเด็กดีขึ้นค่ะ แต่บางที ด้วยสภาพความจำเป็นหลายๆอย่าง เช่น เรื่องเศรษฐกิจ อาจทำให้ แต่ละครอบครัว ก็ต้องดูแลเด็กของตนเองด้วย จะให้พึ่งแต่รัฐอย่างเดียวคงไม่ได้

ในเรื่องของการป้องกันภัย ป้องกันความเสี่ยง บนท้องถนน เราอาจเห็นว่า เด็กขายพวงมาลัย น้อยลงไปมากนะคะ

สำหรับเรื่องการลงทุนกับเด็ก ที่คิดว่า สำคัญมากๆๆๆ คือเรื่องการศึกษาค่ะ เรื่องนี้ เป็นหน้าที่รัฐ ที่ต้องให้ อย่างแท้จริงๆและครอบคลุม แต่เรื่องคุณภาพ อาจจะเป็นอีกประเด็นหนึ่ง

 แต่การที่เด็ก บางส่วน อาจ ได้รับการพัฒนา หรือได้รับโอกาสน้อยกว่าที่ควรจะได้

ข้อนี้ น่าจะมาเกี่ยวข้องกับ ประเด็น เรื่องความมั่นคงของมนุษย์แล้ว

ถ้าเน้นเศรษฐกิจ ใช้ความยากจนเป็นแกนวัด ถ้า เน้นสังคมใช้การศึกษาและคุณภาพชีวิตเป็นแกน  เป็นต้น

เรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่ แต่เข้าใจว่า แต่เห็นว่า ทางรัฐบาลก็ได้มีการดูแล ให้ดีขึ้นแล้วค่ะ 

สวัสดีค่ะ

ผู้ใหญ่ควรกระทำตนเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลังค่ะ  อ๋อคิดว่าเราทุกคนควรปฏิบัติธรรม และเจริญสติค่ะ (เอ่อ..ถ้าไม่เกี่ยว ต้องขออภัยนะคะ)

เพราะส่วนตัวแล้วไม่รักเด็กค่ะ  เด็กร้องไห้เป็นส่วนใหญ่ เวลามาทำฟัน  สงสารที่เด็กฟันผุนะคะ แต่สารภาพว่ากลัวการทำฟันให้เด็กเล็กๆ บริหารจัดการยากมากค่ะ ดังนั้น สิทธิเด็กอีกข้อคือ ควรสอนให้เด็กแปรงฟันก่อนนอน ฟันจะได้ไม่ผุ  หมอฟันจะได้ทำงานสบายขึ้น หุ..หุ  (เอ่อ..ถ้าไม่เกี่ยว ต้องขออภัยนะคะ)

อ๋อค่ะ

พอดี ได้คุยกับเพื่อนร่วมงานเก่าๆสมัยที่ทำอุตสาหกรรม มีข้อมูลเพิ่ม ในทางที่ดีขึ้นค่ะ

เดิม หลายปีมาแล้ว เวลาหน้า ที่วัตถุดิบออกมากๆ พนักงานไม่พอ มีประจำแค่ 350 คน แต่เราต้องการประมาณ 1200 คน ดังนั้น จึงต้องพึ่งคนจัดหางาน หาคนมาส่ง

ปรากฏว่า มากันทั้งครอบครัว บางครอบครัวมี ลูกมา 2-3 คน เด็กอยู่ในวัยเรียนก็มีค่ะ แต่ไม่ไปร.ร. ตามพ่อแม่ มาวิ่งไปๆมาๆ

เรามองตากันแล้ว สะท้อนใจจริงๆ แล้วอย่างนี้ เด็กจะได้เรียนได้อย่างไร ถ้า มัวแต่ตามพ่อแม่มาอย่างนี้

และตามร้านอาหาร จะพบเด็ก อายุประมาณ10 ขวบ ทำหน้าที่เป็นเด็กเสริ์ฟอยู่ เป็นที่นิยมในการใช้แรงงานเด็กแบบนี้

นี่คือปัญหาทางเศรษฐกิจค่ะ

การมีงานทำก็เป็นความยากลำบาก ประชาชนในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือหรือกึ่งมีฝีมือมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะว่างงาน 

เมื่อได้งาน แม้จะไกลบ้าน ต้องหอบลูกเต้าไปด้วย ก็ต้องยอม ทิ้งไว้ ไม่มีใครดูแล แต่เด้กก้ไม่ได้เรียน เพราะ มีการย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย

แต่ตอนนี้ มีข่าวดีขึ้น คือภาวะอย่างนี้ ลดลงแล้ว และการใช้แรงงานเด็กก้น้อยลงค่ะ

 

สสัสดีค่ะ คุณ Conductor ขออนุญาตแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ

เวลาเรียน อาจารย์มักจะพูดเสมอว่า

 " เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ย่อส่วน

การปฏิบัติต่อเด็ก หรือปฏิบัติตนต่อหน้าเด็กย่อมมีผลต่อเด็ก

เราจึงต้องระวังในการกระทำและคำพูดของเราเสมอ.... 

P P P P

ขอบคุณทุกท่านเลยครับ

พจนานุกรมให้ความหมายของสิทธิไว้ว่าเป็นอำนาจอันชอบธรรม

ไม่ว่า "อำนาจ" นั้น จะมีผู้หยิบยื่นให้ หรือเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่หากเราเชื่อว่าเด็ก (หรือใครก็ตาม) มีสิทธินั้นอยู่ เราก็ควรเคารพต่อสิทธินั้นครับ

ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานหรือไม่ ไม่ว่าจะรู้จักหรือไม่รู้จัก หรือว่าจะเป็นเด็กที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มาเป็นลูกน้อง เป็นเพื่อน ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบตัวคนหรือการกระทำของเขา ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไปละเมิดสิทธิของเขาครับ

หนึ่ง...(ด้วยเสียงที่หนักแน่น)

สอง...(ราบเรียบ ธรรมดา)

สาม..(เสียงอ่อย ๆ)

สี่....(ไม่พูด อืม...ยังไม่แน่ใจ)

ห้า...(ยังไม่ได้คิดด้วยซ้ำน่าจะทำไม่ได้)

  • แม้ว่าเราพูดถึง "ควร" แต่ความจริงแล้ว ได้รับหรือปล่าว??
  • ผมมองว่าเหมือน ศีล 5 ที่บางคนไม่กล้านับว่าทำได้กี่ข้อ เพราะมันไม่ถึง(อย่านับต่อหน้าเด็กล่ะ)
  • ถ้าความจริงแล้วเราละเมิดสิทธิของผู้อื่น ก็คงแปลว่าเราไม่เชื่อว่าผู้อื่นมีสิทธิ์นั้น หรือไม่เราก็ไม่เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
  • ผู้ที่ไม่ได้ถือศีล 5 แต่บอกคนอื่นว่าถือ ไม่เพียงแต่หลอกคนอื่นเท่านั้นหรอกครับ แต่หลอกตัวเองด้วย น่าสงสาร

P

Conductor

 

เข้ามาดูเรื่อง สิทธิเด็ก แต่ไฉนไปโยง ศีลห้า ก็ยากที่จะเข้าใจ....

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ประมวลหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยศีลไว้หลายนัย เช่น

  • โลกิยศีล (ศีลของผู้ยังพัวพันอยู่ในโลก) และ โลกุตตรศีล (ศีลของผู้ข้ามพ้นโลก)
  • หีนศีล (ศีลหยาบ) มัชฌิมศีล (ศีลกลาง) และ ปณีตศีล (ศีลละเอียดอ่อน)
  • อัตตาธิปไตยศีล (ศีลถือตนเป็นใหญ่) โลกาธิปไตยศีล (ศีลถือโลกเป็นใหญ่) ธรรมาธิปไตยศีล (ศีลถือธรรมเป็นใหญ่)
  • ฯลฯ

โลก ในที่นี้ หมายถึง สังคม นั่นคือ คนอาจถือศีลตามกฎเกณฑ์สังคม เช่นเกรงกลัวต่อกฎหมาย หรือเกรงคำลูกหลานครหา.... ถ้าถือทำนองนี้ ก็อาจจัดเป็น โลกิยศีล หีนศีล มัชฌิมศีล อัตตาธิปไตยศีล โลกาธิปไตยศีล...

....

อีกประเด็นหนึ่ง ศีลจะมีไต้ก็ต้องเกิดจาก เจตนางดเว้น (วิรัติ) ซึ่งอาจจำแนกได้ ๓ ประการ

  • สัมปัตตวิรัติ คือ ผู้มีศีลเพราะเจตนาจะงดเว้นเมื่อมีอารมณ์มากระทบ เช่น เห็นสิ่งของสวยงามในห้าง อยากจะขโมย แต่คิดว่าไม่ควร จึงงดเว้น... หรือยุงกัด ใคร่จะตบ แต่คิดว่า มันก็รักชีวิต ไม่ควรฆ่า จึงขยับตัวหรือเป่าให้มันหนีไป อย่างนี้ก็เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
  • สมาทานวิรัติ คือ ผู้รับศีลมาแล้ว พอใคร่จะขโมย หรือตบยุง ก็นึกได้ว่า เราเพิ่งรับศีลมา ข้อสองห้ามขโมย ข้อแรกห้ามฆ่าสัตว์ จึงได้งดเว้น... อย่างนี้เรียกว่า สมาทานวิรัต
  • สมุจเฉทวิรัติ คือ ผู้มีเจตนางดเว้นเพราะบรรลุธรรม ข้อนี้จัดเป็นศีลของพระอริยบุคล เรียกว่า สมุจเฉทวิรัติ (เจตนางดเว้นโดยการตัดขาด)

คงจะไม่เกี่ยวกับ สิทธิเด็ก แต่เชื่อมโยงกับความเห็นข้างต้นที่อ้างถึง...

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท