Situation analysis ประเมินสถานการณ์ที่เกิดปัญหา


 2.   Situation analysis ประเมินสถานการณ์ที่เกิดปัญหา สถานการณ์ที่พึงประสงค์    

  ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ สามารถดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้องตามรูปแบบการให้ความรู้เพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วย อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริโภคอาหาร ลดอาหารเค็ม ลดอาหารมัน เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพที่ดี ระยะยาวไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 Nursing Phenomena 

ศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลลำลูกกา อายุ 60-75 ปี จำนวน 10 ราย 

แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 

เครื่องมือของ นัยนา เมธา(2544) เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ประกอบไปด้วย

1.       แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป

2.       แบบวัดความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 29 ข้อ3.       แบบวัดพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 35 ข้อค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 

           แบบวัดความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีค่าความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74

แบบวัดพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80  

เครื่องมือที่พัฒนาของสุวิมล  สังฆะมณี(2549) เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองด้านโภชนาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก ในส่วนของการดูแลตนเองด้านโภชนาการ ประกอบไปด้วยข้อคำถาม

-          รูปแบบการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน จำนวนมื้ออาหาร ชนิดของอาหาร

-          แหล่งที่มาของอาหาร

-          ผู้ประกอบอาหาร

-          ความชอบอาหาร ชนิดของอาหารที่ชอบ ไม่ชอบ รสชาติของอาหารที่ชอบ ไม่ชอบ

-          อาหารแสลง อาหารที่ไม่บริโภค

-          การบริโภคอาหารก่อนและหลังโรคความดันโลหิตสูง-          ใครเป็นผู้แนะนำการดูแลสุขภาพตนเองด้านโภชนาการ อย่างไรบ้าง

-          การปฏิบัติตน วิธีการปฏิบัติ ปัญหาอุปสรรของการปฏิบัติ ผลจากการปฏิบัติ

-          ความพึงพอใจในรูปร่างตนเองการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความถี่ ปริมาณของการดื่ม

หมายเลขบันทึก: 73936เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท