ปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์


เป็นลักษณะการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด หรือ สืบเผ่าพันธุ์ของพืช ที่น่าสนใจว่า ทำไมจึงเกิดลักษณะเช่นนี้ในพืชกลุ่มนี้ ?

 

          จากที่ไปเยี่ยมชมสวนกล้วยไม้โคราช แต่ถ่ายรูปดอกไม้ที่ไม่ใช่กล้วยไม้มาฝาก ซึ่งเป็นดอกไม้โดยทั่วไปจะมีดอกสีขาวเป็นส่วนใหญ่ และส่วนของพืชที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์คือส่วยลำต้นใต้ดิน หรือ ที่เรียกว่าหัว  แต่ปัจจุบันมีการคัดเลือกพันธุ์จนได้ดอกสีแดงสดใส จึงมีการนำดอกมาใช้ปักแจกันกันบ้างแล้ว  ทราบว่าโดยทั่วไปก็จะเรียกว่า ดอกขิงแดง แต่ผู้รู้ท่านบอกว่าที่จริง เป็นดอกข่าแดง มากกว่า  แต่ก็ถือว่าเป็นพืชในตระกูลเดียวกัน และ มีดอกคล้าย ดอกปทุมมา มาก  แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นตระกูลเดียวกันไหม ?  คงต้องรอท่านผู้ที่รู้ช่วยบอกหน่อยนะครับ
          แต่สาเหตุที่ทำให้ผมนำรูป ดอกขิง(ข่า)แดง มาให้ดู นั้นเนื่องจากว่าผู้ดูแลสวน ชี้ให้ผมดูที่ช่อดอกที่แก่แล้ว  ว่ามันมีต้นเล็ก ๆ งอกออกมาจากช่อดอกโดยตรงทั้ง ๆ ที่ช่อดอกยังติดอยู่กับต้นอยู่กลางอากาศเช่นนั้น เขาชี้ให้ดูแล้วก็หักออกมายื่นให้ บอกว่าเอาไปปลูกลงดินได้ทันทีโดยไม่ต้องกลัวว่าจะตาย เพราะมันมีทั้งรากลำต้นและใบพร้อมแล้ว  ดังในรู   ก็เป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นมาก่อน  ไม่คิดว่าพืชบกจะมีลักษณะเช่นนี้ เคยเห็นลักษณะคล้าย ๆ กันแต่ในพืชป่าชายเลน คือ ต้นโกงกาง ที่ต้นอ่อนงอกจากเมล็ด ติดอยู่บนต้นแม่  มีส่วนที่จะทำหน้าที่เป็นต้นและรากปักลงดินเมื่อมันหลุดออกจากต้นแม่ เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้เลย  การที่พบว่ามีเกิดในพืชพวกขิงข่าที่คล้ายกัน จึงเป็นเรื่องใหม่สำหรับผม  ก็เป็นลักษณะการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด หรือ สืบเผ่าพันธุ์ของพืช ที่น่าสนใจว่า  ทำไมจึงเกิดลักษณะเช่นนี้ในพืชกลุ่มนี้ ? มีพืชกลุ่มไหนบ้างที่มีลักษณะการขยายพันธุ์เพื่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์เช่นนี้บ้าง ?

หมายเลขบันทึก: 95271เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แปลกดีค่ะอาจารย์ เพื่อความอยู่รอดหรอค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท