R2R from Patho Otop (2): โครงการ จากหน่วยพันธุศาสตร์


ใน Patho Otop 1 ทีมงานจากหน่วยพันธุศาสตร์ นำทีมโดยคุณสมแข พวงเพ็ชร พี่ใหญ่ของห้อง ทำการศึกษาหา "ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการรายงานผลโครโมโซมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์น้ำคร่ำ

ที่มาของปัญหาและวัตถุประสงค์
หน่วยพันธุศาตร์ กำหนด KPI ในการรายงานการตรวจโครโมโซมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์น้ำคร่ำไว้ที่ 21 วัน  แต่ในบางราย ก็ยังพบว่า ใช้เวลานานเกินกว่าที่กำหนดไว้  ทำให้อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้รับบริการที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งจะต้องคอยว่าจะได้ผลการตรวจหรือไม่  หรือต้องเจาะน้ำคร่ำซ้ำ  ดังนั้นการหาปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการรายงานผลโครโมโซมจากการเพาะเลี้ยงเซลล์น้ำคร่ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเป็นแนวทางในการประเมินระยะเวลาในการรายงานผล  และเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่แพทย์และผู้รับบริการว่ามีโอกาสได้ผลการตรวจเร็วหรือช้าอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เจ้าของไข้เตรียมความพร้อมผู้รับบริการได้ทั้งในกรณีที่จะได้ผลการตรวจช้า หรืออาจไม่ได้ผลการตรวจเลย นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นข้อมูลให้ห้องปฏิบัติการหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต่อไป

 

วิธีการดำเนินงาน

ทีมจึงดำเนินการ เพื่อหาปัจจัยดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลต่างๆ ที่คาดว่าอาจจะมีผลต่อการเพาะตรวจไว้อย่างละเอียด ได้แก่
- การปนเปื้อนของสิ่งส่งตรวจ เช่น การปนเลือด ปนขี้เทา โดย   แบ่งการปนเปื้อนเป็น 5 ระดับ
- อายุครรภ์ ขณะที่เจาะน้ำคร่ำมา
- ปริมาณน้ำคร่ำ 
- แหล่งที่มาของตัวอย่าง (จาก รพ.มอ. หรือ รพ.อื่น) 
- วิธีการขนส่งตัวอย่างจากต่างจังหวัด เช่น ส่งโดย EMS,  ฝากรถโดยสาร หรือมาส่งเอง
- ปริมาณตัวอย่างที่หน่วยได้รับในแต่ละสัปดาห์ 

 

การวิเคราะห์ผล
การวิเคราะห์ทางสถิติโดยวิธี logistic regression ดังตาราง พบว่าปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ  ปริมาณน้อยตัวอย่างน้อยกว่า 10 มล. และ น้ำคร่ำที่มีเลือดปนระดับ 5+ มีผลต่อการรายงานผลช้าถึง 5 และ 20 เท่าตามลำดับ

ปัจจัยที่มีผลต่อการรายงานผลช้า        Odds Ratio    P>| z | 
อายุครรภ์น้อยกว่า 16 สัปดาห์            0.89            0.918 
อายุครรภ์มากกว่า 18 สัปดาห์             0.54            0.099 
โรงพยาบาล                                   1.26            0.450 
ปริมาณน้อยกว่า10 มล.                     5.26            0.030 
ปนเปื้อนเลือด 1+,2+                       0.51            0.521 
ปนเปื้อนเลือด 3+,4+                       2.50            0.074 
ปนเปื้อนเลือด 5+                           20.55           0.000 
ปนเปื้อนขี้เทา 1+,2+                       1.26            0.823 
ปนเปื้อนขี้เทา 5+                            7.28            0.075

การนำผลไปใช้ประโยชน์
สำหรับแพทย์เจ้าของไข้และผู้รับบริการ
1. แพทย์เจ้าของไข้และผู้รับบริการสามารถทราบถึงระยะเวลาการได้รับรายงานผลที่แน่นอนมากขึ้น หากน้ำคร่ำที่ส่งตรวจมีปริมาณน้อยกว่า 10 มล.  หรือมีการปนเปื้อนเลือดมากในระดับ 5+   คืออาจได้ผลตรวจช้ากว่า 21 วันตามที่กำหนดไว้  ดังนั้นถ้าแพทย์สามารถทำได้อาจใช้สิ่งส่งตรวจอื่นแทนน้ำคร่ำเช่น เลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. หน่วยมนุษยพันธุศาสตร์จะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จัดทำเป็นคู่มือแจ้งระยะเวลาการได้ผลตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำในสภาพต่างๆ แจกให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เพื่อช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งแพทย์เจ้าของไข้และผู้รับบริการทราบ
สำหรับทางห้องปฏิบัติการ
ทางหน่วยมนุษยพันธุศาสตร์จะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้มาพัฒนาการเพาะเลี้ยงและดูแลเซลล์น้ำคร่ำ เพื่อให้ได้ผลเร็วขึ้น

มีอีก 1 โครงการที่เข้าข่าย R2R คือโครงการลดเวลาการทดสอบ reticulocyte count ของทีมงานเก็บตกใน hemato หรรษา ซึ่งจะขอหารือพี่เม่ยก่อน ในการเปิดเผยความลับหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 16055เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2006 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ด้วยความยินดีค่ะ ไม่แน่ใจว่าท่าน CKO ต้องการภาพประกอบด้วยหรือไม่ จะจัดส่งไปให้นะคะ
พี่เม่ย ช่วยเขียนบันทึกให้เลยดีกว่าค่ะ ใช้ชื่อบันทึก R2R from Patho Otop (3):.... ถือเป็นตอนต่อไปได้เลยค่ะ Thanks!
"จัดให้" เรียบร้อยแล้วค่ะ
(ถ้ามีส่วนไหนไม่ตรงตามวัตถุประสงค์..ช่วยแนะนำด้วยค่ะ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท