Managing by Fact ตอน KKD อุปสรรคของการจัดการ


ความเก๋า ความเก่ง และการเดา เป็นปัญหาอุปสรรคอย่างมากต่อการแก้ปัญหาด้วยข้อมูลความจริง

คนส่วนใหญ่เมื่อเผชิญปัญหาอุปสรรคมักจะมองเป็นเรื่องง่ายๆ แล้วก็แก้ด้วยวิธีการง่ายๆ และเมื่อลงมือแก้เสร็จก็เปิดก้นจากไป ทิ้งภาระให้กับคนอื่นๆต้องเผชิญวิบากกรรมต่อ ทั้งนี้ก็เพราะว่าปัญหามันไม่ได้รับการแก้ไขจริงๆน่ะสิ กระบวนการแก้ปัญหายังไม่ได้เริ่มขึ้นเลย สาเหตุที่แท้จริงก็ยังค้นไม่พบ

คนที่มักจะแก้ปัญหาแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหารที่คิดว่าตนเองเจ๋ง แจ๋ว ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะมองปุ๊บก็รู้ทันทีไม่ต้องมาวิเคราะห์เสียให้วุ่นวาย แต่หารู้ไม่ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งที่บั่นทอนระบบการคิดวิเคราะห์และการทำงานทั้งหมดภายในองค์กร เพราะพนักงานระดับปฏิบัติการก็จะไม่ถูกฝึกให้คิดวิเคราะห์

 อุปสรรคสำคัญที่ผู้บริหารมักนำมาใช้ในการแก้ปัญหา มาจากคำภาษาญี่ปุ่น 3 คำได้แก่ Keiken Kan และ Dokyo

Keiken คือการใช้ประสบการณ์ (experience) โดยคิดว่าตนเองผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ไม่มีใครรู้เท่า เปรียบได้กับ คุณพ่อรู้ดี

Kan คือเชื่อมั่นในความฉลาด (intelligent) ของตนเองมากเกินไป แต่กลับไม่ได้เอาความฉลาดนั้นมาคิดวิเคราะห์ดวยการใช้ข้อมูลจริง

Dokyo คือการคาดเดา หรือที่คนไทยมักเรียกว่าใช้ กึ๋น (Gut)

ทั้ง 3 สิ่ง อาจเรียกว่า ใช้ความเก๋า ความเก่ง และการเดา ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคอย่างมากต่อการแก้ปัญหาด้วยข้อมูลความจริง  ซึ่งจะมาเขียนให้ได้อ่านกันต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #improvement#countermeasure
หมายเลขบันทึก: 35948เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เป็นปัญหาที่พบอยู่มากจริงๆ ค่ะ พออ่านแล้วรู้สึกโดนใจ  อยากทราบว่าแนวทางการแก้ไขถ้าจะนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ ควรจะทำอย่างไรบ้างคะ เพราะการแก้ปัญหาที่ตัวบุคคลเป็นเรื่องยากจริงๆ โดยเฉพาะทัศนคติหรือความเชื่อที่ฝังลึก  ยิ่งเป็นผู้บริหารที่มีครบทั้ง  Keiken Kan และ Dokyo ด้วยแล้ว  อยากนำเรื่องนี้ไปเขียนลงในคู่มือ Facilitator เพิ่มค่ะ
เห็นด้วยค่ะ คนที่มีความรู้มากหรือผู้บริหารส่วนมากมักคิดว่าตนเองเจ๋งกว่าคนอื่นเสมอ จนบางครั้งลืมไปว่า ประสบการณ์และข้อมูลข่าวสารต่างๆก็มีความสำคัญ และลืมไปว่าบางครั้งระดับปฏิบัติการอาจจะรู้มากกว่าพวกเค้าด้วยซ้ำ นื่องจากต้องเจอกับปัญหาและต้องแก้ปัญหานั้นอยู่เสมอ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท