ห้อง W-5 "คุณกิจ" กับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (ตอนที่ ๕)


การงานจริงมันคือพื้นที่ ที่สามารถนำมาทำเป็น Active Learning ได้อย่างเต็มรูปแบบ และมันทลายกรอบสมมุติของการเรียนรู้ในเชิงโรงเรียนลง และพาเข้าสู่ชีวิตจริง

ผู้ฟังดิฉันเป็นพยาบาล  เรียนนวดไทย  เอาเด็ก ป.๔ ถึง ม.๑ มาฝึกอบรมเรื่องนวดเท้า  แล้วเมื่อเด็กกลับไปบ้านก็ไปนวดให้ผู้ปกครอง  มีบางท่านตามมาถึงที่ฝึกอบรมเลย  บอกว่าเด็กคนนี้ไม่เคยพูดกับท่านผู้นี้เลย  แต่ตอนนี้เขาพูดด้วยแล้ว เพราะได้นวดให้แล้วท่านผู้นี้ให้ทิปไป ๒๐ บาท  เด็กดีใจมาก  ตั้งแต่นั้นก็มีการพูดคุยกัน  แต่ที่ผู้ถามมีความกังวลใจคือเมื่อเราพาเด็กเป็นกลุ่มออกไปฝึกงาน ไปนวดตามงานต่างๆ ก็มานึกถึง “แรงงานเด็ก” ไม่ทราบว่าจะมีปัญหาด้านกฎหมายอะไรหรือเปล่า  ฝากถามว่าอาจารย์มองอย่างไร

ครูใหม่…เท่าที่ฟัง  ประเด็นแรกที่จะนึกถึง  ไม่ใช่แรงงานเด็ก  แต่เป็นเรื่องของภูมิปัญญาไทย  ที่ถ่ายทอดผ่านจากรุ่นสู่สรุ่น  และการสร้รางความสัมพันธ์ผ่านร่างกาย  ซึ่งเป็นการเปิดประตูด้วยการสัมผัสทางกาย  ฟังแล้วยังตาลุกเลยว่าอยากขอเชิญท่านมาเป็นวิทยากรให้เด็กๆ ที่โรงเรียนบ้าง  เพราะการที่เขาได้เห็นฤทธิ์ของการทำงานด้วยกาย  มันสร้างสัมมาทิฐิ  ไม่งั้นเด็กมักจะอยู่กับควาามคิดจนฐานกายหายไปหมด  อีกทั้งเรื่องของสปาก็เป็นอนาคตของชาติในความคิดของรัฐบาลชุดที่แล้ว  ถ้าทุกคนรู้ไว้ก็ไม่เสียหาย  การที่เราไปนวดเขาก็เป็นการดูแลเอาใจใส่เขา  ไม่ว่าจะรู้จักกันหรือไม่ก็เหมือนการแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์  เป็นประตูเปิดสู่การมีจริยธรรมอย่างสูง  และยิ่งถ้าเขามีความชำนาญจนถึงขั้นรักษาได้  มันก็จะยิ่งเพิ่มความใหญ่ขึ้นไปอีก  เลยมองข้ามประเด็นอื่น  แต่มองถึงประเด็นการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่นมากกว่า  และถ้าเขายังคงอยู่ในการศึกษาก็คืออยู่ในระบบโรงเรียน  อันนี้ก็ไม่น่าจะมีใครมาเอาผิดได้

ครูอิ่ม...ฟังครูใหม่พูดแล้วนึกถึงคำว่า Powerful Learning เรื่องแรงงานเด็กกลายเป็นจุดเล็กๆ ไกลมาก  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือพลังที่เกิดขึ้นในใจของคนที่เกี่ยวข้องทุกๆ คน  ที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กๆ  มากกว่า

ครูปาด...ขอความเห็นเรื่องแรงงานเด็ก  ครูที่เล่นเรื่อง  Active Learning มาตลอดก็น่าจะเห็นพ้องกันว่าการเรียนแบบนี้นั้น  เมื่อถึงจุดแล้วจะเป็นการงานจริง  และการงานจริงมันคือพื้นที่ ที่สามารถนำมาทำเป็น Active Learning ได้อย่างเต็มรูปแบบ  และมันทลายกรอบสมมุติของการเรียนรู้ในเชิงโรงเรียนลง  และพาเข้าสู่ชีวิตจริง  โดยส่วนตัวผมกับทีมคิดว่าการงานเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่ดีที่สุด  เด็กควรจะได้ทำงาน  แต่เราก็ต้องแยกให้ออกว่า กฎหมายแรงงานเป็นห่วงในเรื่องการนำเด็กไปทำงานที่ไม่สร้างสรรค์  ในเวลาที่ไม่เหมาะสม  ปริมาณงานที่ไม่เหมาะสม  และในเงื่อนไขที่ทำร้ายเด็ก  แต่ถ้าไม่ใช่เงื่อนไขพวกนี้  ผมก็คิดว่าการงานน่าจะเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด 

ประมาณปี ๒๕๔๒  ที่พรบ.การศึกษาใหม่จะออกแต่ยังไม่ออก  ตอนนั้นพวกเรายังอยู่ในโรงเรียนเก่าที่เป็นโรงเรียนที่บุกเบิกวิธีคิดการเรียนการสอนแบบนี้  พรบ.ยังไม่ออกแต่เราก็ตัดสินใจ  เมื่อมีผู้ปกครองมาถามว่า  เขามีโรงงานฟอร์นิเจอร์ อยากเอาเด็กไปฝึกงานไหม  พวกเราตาวาวเลยไม่สน พรบ.แรงงานแล้ว  พาเด็กไปฝึกงาน  ไปอยู่กันหลายวันไปกินนอนกันจริงๆ  เป็นเด็กมัธยมต้น  และเมื่อ   พรบ.ออกมาก็เห็นว่าสอดคล้องกับแนวทางของเราอยู่  ระยะหลังมานี้ก็เห็นท่าทีของรัฐบาลดีขึ้น  เช่น โครงการให้นักเรียน นักศึกษาออกไปทำงานภาคฤดูร้อน  ซึ่งกรณีนี้ก็ล่อแหลมกับเรื่องกฎหมายแรงงาน  แต่ก็น่าจะแยกออกจากเรื่องของการศึกษาหรือการพัฒนามนุษย์ได้  เพราะ Active Learning กับการงานเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้

ครูใหม่…  ขณะนี้ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี  จึงขอเชิญไปรับประทานอาหารและกลับมาพบกับ Active Learning กันในภาคบ่ายนี้นะคะ  

ถอดเทปช่วงเช้า  ตอนที่    1   2   3   4   5      สรุปช่วงบ่าย

หมายเลขบันทึก: 67661เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท