สร้างวงเรียนรู้ภาคประชาสังคมขับเคลื่อน KM แก้จนเมืองนครฯ


มีคนคอเดียวกันประมาณ 50 คน คละกันมาจากหลายภาคส่วน ชาวบ้านเสียกว่า 90 % มีราชการอย่างผมอยู่ 3 คน

                  การทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ต้องอาศัยวิธีการหลายๆวิธีผสมผสานกัน หลายกลยุทธ์ว่างั้นเถอะ อย่างโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ ทำเต็มพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ความร่วมไม้ร่วมมือจากทุกภาคส่วนมีความจำเป็นมาก ราชการก็มีการปรับเปลียนวิธีการทำงาน ภาคส่วนต่างๆก็คิดค้น สร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรมขึ้นขับเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมาย ภาคประชาสังคมเองนั้นก็มีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก

                  วันที่ 11 ธ.ค. ภาคประชาสังคมของจังหวัดนครศรีธรรมราช นำโดยคุณทวี สร้อยศิริสุนทร และน้องพัชนี พนิตอังกูร ได้นัดหมายคนคอเดียวกัน ไปพบปะพูดคุยกัน ที่ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ ถนนพัฒนาการคูขวาง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ผมได้รับการติดต่อล่วงหน้าสองวัน พอดีเป็นวันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ ไม่มีธุระที่ไหน ผมจึงได้ไปร่วมพูดคุยด้วย มีคนคอเดียวกันประมาณ 50 คน คละกันมาจากหลายภาคส่วน ชาวบ้านเสียกว่า 90 % มีราชการอย่างผมอยู่ 3 คน คือ ผมเอง น้องวาสนา เจ้าพนักงานปกครองจากสำนักงานปกครองจังหวัด และคุณเกษตร ขุนจันทร์ จากสำนักงานเกษตรกิ่งอำเภอช้างกลาง มีน้องทวี และน้องพัชนี ร่วมกันทำหน้าที่คุณอำนวยครับ

                    เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การพูดคุยในวันนั้นมี 3 ประการครับ 1.ทำความเข้าใจทิศทางขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราช 2.ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3.ค้นหาพื้นที่ศักยภาพการพัฒนาในประเด็นงานต่างๆ

                    ผมว่าวันนั้นเราคุยกันอย่างไม่เกรงใจใครกันครับ ใส่หมวกใบเดียวกันคือหมวกคนนครฯ พูดกันได้แรงอกครับ (ได้แรงอกศัพท์ใต้คำนี้แปลว่าสะใจ มันส์พะยะคะ) สาระการพูดคุยก็ได้ตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ครับ เช่น จะเชื่อมต่อการพัฒนาภาคประชาชนกับโครงการแก้จนเมืองนครฯนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างไร จะสื่อสารความคิดอ่านของภาคประชาสังคมให้ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอาศัยช่องทางการสื่อสารใด จะค้นหาพื้นที่ศักยภาพในการพัฒนาประเด็นงานต่างๆได้อย่างไร ค้นหาได้แล้วจะพัฒนาต่อเนื่องด้วยกระบวนการKM อย่างบูรณาการจะต้องทำอย่างไร ซึ่งในที่สุดได้รายชื่อตำบลที่มีศักยภาพ 50 ตำบล กระจายไปตามโซนพื้นที่อำเภอ 5 โซน จะช่วยสร้างเสริมแกนนำหมู่บ้านๆละ 8 คน ให้เป็นคุณอำนวยหมู่บ้านให้ได้จะต้องทำอย่างไร จะนำหน่วยงานตระกูล ส เช่น สกว. สสส. NGO มาคลุกเคล้าเข้าด้วยกันในพื้นที่จะมีวิธีการอย่างไร จะอาศัยข้อมูลกันและกันระหว่างภาคประชาสังคมกับภาครัฐ เช่น ข้อมูลผลการประเมินหมู่บ้านในระยะเวลาของการดำเนินการโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครฯซึ่งดำเนินการไปแล้ว 2 ปี โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจังหวัดเป็นผู้ประเมินเสริมหนุนกันอย่างไร เป็นต้น แต่ละประเด็นมีรายละเอียด แต่ผมจะไม่กล่าวครับ

                      ในที่สุดที่ประชุมก็เซ็ทองค์กรภาคประชาสังคมขึ้นมาชื่อศูนย์ประสานงานพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งสำนักงานอยู่ที่ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 25 ธ.ค. คือวันนัดหมายเวทีแลกเปลี่ยนครั้งต่อไป ประเด็นพูดคุยก็เป็นการสืบเนื่องเรื่องการค้นหาพื้นที่ศักยภาพ 50 ตำบลครับ จะเป็นการออกแบบวิธีการดำเนินงาน ค้นหา / สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการดำเนินงาน

                       นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความพยายามของคนคอเดียวกัน  ที่จะหาเวทีพูดคุยขับเคลื่อนโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครฯให้มีพลังทวีคูณขึ้นครับ  เวทีหน้าเป็นอย่างไร ผมจะได้มาเล่าต่อนะครับ      

                       ผมมีภาพบรรยากาศการพูดคุยมาฝากครับ

กำหนดการเสวนา 

         <h5 style="text-align: center"> ผู้เข้าร่วมเสวนามาจากหลากหลายกลุ่ม </h5><div style="text-align: center"></div><div style="text-align: center"></div><h5 style="text-align: center">คุณทวี สร้อยศิริสุนทร และคุณพัชนี พนิตอังกูร</h5><h5 style="text-align: center">(ชาย - หญิง นั่งใกล้กัน) ทำหน้าที่คุณอำนวย</h5><p align="center"></p><p align="center"></p><h5 align="center">คุณเสถียร รัตนโชติ (เสื้อเหลือง)</h5><h5 align="center">อดีตรองอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ แกนนำคนสำคัญ</h5><p align="center"></p><p align="center"></p>

หมายเลขบันทึก: 67701เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนท่านพี่นง

 ฅน คอเดียว ร่วมเกี่ยวก้อย

 ร้อยสังคม ระดมปัญญา

 มุ่งหาหนทาง วางฐานต่อยอด

 อยู่รอดเมืองไทย

 ห่างไกลอวิชชา

สุดยอด

"เติ้นเก๋งฆาต"

อยากเห็นบ่อยๆ ท่านเป็นพลังของคนใต้จริงๆครับ

ขอชื่นชม ฉาดเติ้น หร๋อยจังหู๋ ครับ

  • ยอดเยียมมากเลย  ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
  • รวมพลังสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ครับ

อ.หมอ JJ  ดร.แสวง และน้องสิงห์ป่าสัก

            ต้องขยันเดินใต้ดินมากๆหน่อยเท่านั้นเอง มันจะได้เข้าถึงตัวคนทำงานจริงๆ อุดจุดอ่อน KM ภาคราชการที่ค่อนข้างแข็งตัว คับขยับยาก ท่านทั้งสามจะแนะนำอย่างไรประการใด ยินดีเป็นที่สุดเลยครับ รออยู่ครับ

            ขอบคุณครับ

   ต้องขอบคุณอาจารย์มากคะที่ช่วยให้การบอกเล่ามีสีสรรมากขึ้น   เป็นตัวอย่างของการรายงานที่นำมาใช้แล้วน่าติดตามพัชชวนเพื่อน ๆที่ทำงานมาดูรูปแบบและปริ้นไปให้เพื่อน ๆ ดูกันใหญ่ ขอบคุณมากค่ะ

คุณหมอนนทลี แห่งเพื่อนร่วมทาง

               แสดงว่าคุณหมอก็เห็นด้วยกับการทำงานแบบบนดินกับการทำงานใต้ดิน และทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการควบคู่กัน ใช่ไหมครับ งานจึงจะไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

              ขอบคุณที่เข้ามาเติมกำลังใจให้ครับ

น้องพัชนี แห่ง พอช.

            ดีใจที่น้องพัชนีเข้ามาทิ้งความเห็นไว้ ไม่ทราบว่าวันที่ 25 นี้ เราจะร่วมกันพูดคุย เรียนรู้อะไรกันบ้างเอ่ย พี่ว่าน่าจะเอากระดาษปรู๊ฟทุกแผ่นที่บันทึกไว้เมื่อคราวที่แล้ว มาทบทวนพร้อมกันไปทีละแผ่น คนเก่า คนใหม่จะได้เข้าใจไปด้วยกัน และให้ผู้ที่รับการบ้านไปทำแต่ละข้อ เช่น ชักชวนคนคอเดียวกันมาเพิ่ม ในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลได้ใครเข้ามาบ้าง อย่างพี่ก็ได้คนคอเดียวกันจาก สสจ.นครศรีฯมาเพิ่มอีก 2 คน รายงานและแลกเปลี่ยนกัน จากนั้นก็กำหนดเรื่องที่จะพูดคุยร่วมกัน หยิบยกประเด็นพูดคุยกันสดๆ อย่างอิสระ ปลายเปิดไว้เลย หรือจะมีกรอบกว้างๆ หารือกันก่อนนอกรอบ  คุยกันก่อนกับทีมงานบางคนก็ได้ นัด อ.ภีม ด้วยก็จะดี ไม่ต้องมีพิธีการมากนักเหมือนคราวที่แล้วพี่ว่าดีแล้ว หรือน้องคิดไว้ในใจอย่างไร...ขอบคุณมาก ....เออ! อย่าลืมประสานน้องวาสนา (ปลัดวาสนา) จาก สนง.ปกครองจังหวัด นำผลการประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมาด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท