มหกรรมจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์จังหวัดนครศรีธรรรมราช


4 กรอบเนื้อหาหรือ 4 ประเด็น 4 ห้องย่อย คือ การจัดการความรู้ด้านสุขภาพอนามัย การจัดการความรู้ด้านการเกษตร การจัดการความรู้ด้านการเงินชุมชน และการจัดการความรู้ด้านนวัตกรรมของหน่วยงานต่างๆ องค์กรเรียนรู้

งานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 ที่ สคส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดขึ้นที่ไบเทค ได้ผ่านพ้นไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่งดงามเมื่อสัปดาห์ก่อน จังหวัดนครศรีธรรมราชเราได้นำประสบการณ์ไปร่วมแลกเปลียนด้วยพร้อมทั้งส่งเหล่าคุณเอื้ออำเภอ -จังหวัดไปร่วมสังเกตการณ์เรียนรู้หลายท่าน

7 ธันวาคม ที่ผ่านมา เหล่าคุณเอื้อที่ได้ไปเรียนรู้ในงานดังกล่าวได้สรุปย่อ AAR  ผลการไปร่วมงาน ที่ห้องประชุมศรีปราชญ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้เข้าประชุมจากทุกหน่วยงานประมาณเกือบ 100 คน มีผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ ประธานคุณเอื้อจังหวัดเป็นประธานการประชุม

เริ่มจากตัวแทนของแต่ละกลุ่มศึกษา ซึ่งได้แบ่งกันไว้ล่วงหน้าแล้วมี 3 กลุ่ม คือกลุ่ม KM Network กลุ่มKM Inside และ KM communityทะยอยนำเสนอประสบการณ์ของกลุ่มให้ที่ประชุมได้รับทราบ แลกเปลียนเรียนรู้กัน เมื่อครบทุกกลุ่มแล้ว ก็เป็นรอบการนำเสนอของคุณเอื้อจังหวัด ทั้ง หัวหน้าสำนักงานจังหวัด จ่าจังหวัด พัฒนาการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด กศน.จังหวัด และเกษตรจังหวัด ฯลฯ ผมสังเกตเห็นบรรยากาศแล้วก็เห็นว่าทุกคนมีความสนใจซักถาม แลกเปลี่ยนกัน โดยเฉพาะท่านประธานท่านตั้งคำถามเพื่อสกัดความรู้จากผู้ไปร่วมงานมากเป็นพิเศษ  งานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 นี้มันมีแรงกระเพื่อมมากจริงๆ ที่ประชุมใช้เวลากับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากห้องหลุมดำกันอยู่นานพอสมควร 

จังหวัดนครศรีธรรมราชเราจะจัดมหกรรมจัดการความรู้กันอย่างไรหลังจากไปดูงานใหญที่กรุงเทพฯมาแล้ว  นี่คือคำถามของท่านประธาน หลังจากที่พูดคุยอยู่นานก็ค่อนข้างจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะต้องจัดอย่างพอเพียง อาจจะเป็นมหกรรมย่อมๆ หรือแค่ตลาดนัดความรู้ก็ได้ แต่ควรจะได้ค้นหาประสบการณ์การจัดการความรู้ให้ครอบคลุมตามที่มีในงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 จัด คือควรจะได้มีทั้งกิจกรรมการจัดการความรู้ระดับเครือข่าย  KM Inside และ KM -Lo ใช้วงเงินประมาณ 1-1.5 ล้านบาท ไม่เก็บค่าลงทะเบียน จัดแบบท้าทายให้มีประสบการณ์จากจังหวัดอื่นมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย  กรอบเนื้อหาหรือประเด็นเรียนรู้เบื้องต้นจะประกอบไปด้วย 4 กรอบเนื้อหาหรือ 4 ประเด็น 4 ห้องย่อย คือ

  • การจัดการความรู้ด้านสุขภาพอนามัย
  • การจัดการความรู้ด้านการเกษตร
  • การจัดการความรู้ด้านการเงินชุมชน
  • การจัดการด้านนวัตกรรมของหน่วยงานต่างๆ องค์กรเรียนรู้

จำนวนกรอบเนื้อหาหรือประเด็นเรียนรู้ห้องย่อยนี้อาจจะเพ่ิมลดได้ตามความความเหมาะสมซึ่งคงจะต้องหาพูดคุยกันในวงเรียนรู้คุณเอื้ออีกหลายครั้งความคิดจึงจะนิ่ง

เป็นความคืบหน้าที่อยากจะเล่าเพื่อการแลกเปลี่ยนครับ ออ! เกือบลืม ประมาณว่าจะจัดกันเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 66727เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

จัดเดือนกุมภาพันธ์ กระชั้นไปมั้ยครับ
ผมเห็นว่า การจัดงานเป็นเครื่องมือทำงานมากกว่าเป็นการเสนอผลงาน คือ
ใช้กรอบเนื้อหาและระยะเวลาเป็นอุบายเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมการทำงานให้เกิดผลตามรายทางอย่างมีทิศทาง/เป้าหมายสูงสุด

วันจัดงานคือการเฉลิมฉลองความสำเร็จเล็กๆตามรายทางเพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุด(ที่อาจจะไปไม่ถึงในชีวิตนี้)ครับ

น่าจะจัดเดือนมิถุนายน ดีกว่ามั้ยครับ?

  • เป็นอุบาย วิธี เครื่องมืออย่างหนึ่ง อย่างที่อาจารย์ว่าใช่เลยครับ
  • มิถุนายน อย่างที่อาจารย์เสนอก็ดีครับ คงวงเรียนรู้คุณเอื้อจังหวัดที่มีทีมวิชาการของอาจารย์ร่วมอยู่ด้วย หาข้อยุติร่วมกันในโอกาสต่อๆไปแน่นอนเลย มันจะได้มีเวลาคุยกันนานๆ และมีเวลาจับภาพประสบการณ์ดีๆ อีกทั้งไม่เร่งรัดเกินไป อาจารย์ได้คุยเรื่องนี้กับใครบ้างแล้วยังครับ
มาอ่านแล้ว....มีแฮงค่ะ....ขอบคุณค่ะ
  • มาให้กำลังใจครับ
  • งานมหกรรมจัดกดารความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 จัด
  • พิมพ์ผิดครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณมาก แก้ไขแล้วครับ อ.น้องขจิต

ยอดเยี่ยมมากครับครูนงเมืองคอน เล่นกันเป็นทีมแบบนี้ มีหรือจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ไปไม่ได้

ขอบคุณครับ

      ผ่านมาทักทายค่ะน่าสนุกนะคะเล่นกันเป็นทีมต้องมีอะไรดีดีให้เห็นแน่ ๆ เลย แล้วจะแวะมาใหม่นะคะ

เรียน ท่าน ผอ.ดิศกุล

            ทีมทำงานเป็นเรื่องสำคัญครับท่าน ผอ. มันพูดง่ายแต่ทำยากมากๆครับ ค่อยๆสร้างกันครับ กว่าจะได้ 1 คน กว่าจะได้ 2คน ..กว่าจะได้ 1 หน่วยงาน 2 หน่วยงาน ..มาแต่ตัวแต่หัวใจไม่ได้มาด้วย ก็ทำ KM ไม่ได้ แต่โชคดีที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่เล่นเรื่องการทำงานเชิงบูรณาการ เชื่อมต่อการพัฒนาที่เก่ง นำทุกหน่วยงาน ภาคส่วนมาเป็นเครื่องมือเพื่อทำงานงานไปสู่วิสัยทัศน์ของจังหหวัดที่ว่า เมืองแห่งการเรียนรู้ เกษตรและท่องเที่ยวน่าอยู่ สู่สังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ทุกหน่วยงานมาทำงานในมิติของการเรียนรู้ทั้งนั้น ซึ่งร่องรอยการเรียนรู้และการทำงานระหว่างทางนี้เป็นประสบการณ์ เป็นองค์ความรู้ที่เป็นผลพลอยได้ที่ได้กับทุกผ่ายครับ.....ผอ.ช่วยตั้งวงพูดคุยแนวทางนี้ระดับนโยบายด้วยก็จะเสริมกันนะครับ.....ขอบคุณครับที่ช่วยมาให้กำลังใจ

เรียน อ.สำเนียง ประยุทธเต

          ขอบคุณที่ผ่านมาทักทาย เอางาน ประสบการณ์ ความคิดของอาจารย์มาฝากบ้างก็จะดีนะครับ...คงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันอีกในครั้งต่อๆไปครับ

ขอบคุณครับ อ.จำนง ที่เล่าให้ฟัง

  • ช่วงที่ประชุม 7 ธ.ค.49 ผมได้รับเชิญเข้าประชุมด้วย  แต่ต้องเดินทางไปสัมมนา โครงการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่กรุงเทพ ฯ ตรงกันครับ
  • อ่านแล้วนึกภาพออกแล้วว่าจะทำอะไรกัน

คุณชาญวิทย์ ครับ

           คงจะมีการพูดคุยกันต่ออีกหลายครั้งแน่นอนครับ ไม่ทราบคุณชาญวิทย์รับงานใหม่ที่สำนักงานใหม่อะไรอย่างไรครับ ออ! เกือบลืมครับผมได้รู้จักกับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรกิ่งอำเภอช้างกลางโดยบังเอิญที่เข้าประชุมประชุมหนึ่ง เห็นแล้วใช่เลยคุณอำนวยตัวจริง ชื่อคุณเกษตร ขุนจันทร์ ไม่ทราบคุณชาญวิทย์รู้จักดีหรือเปล่าครับ ผมว่าเราน่าจะคอกันได้ บ้านเดิมเขาอยู่พัทลุงจังหวัดเดียวกับผมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท