ชุมชนอินทรีย์เพราะ KM INSIDE


เสียดายที่คุณอำนวยของที่ประชุมทั้ง 4 อำเภอ(จะว่าพิธีกรของที่ประชุมก็ได้นะครับ) ไม่ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสวนาทำกิจกรรมบันทึกความรู้จากวีซีดีพูดจาประสา Km ของท่านผู้ว่าฯ ผมเห็นว่าหากจะได้บันทึกด้วยก็จะเสริมความรู้ให้กับเขามากเลย เพราะวีซีดีมีสาระประโยชน์น่าฟังน่าติดตามมาก
  • เมื่อวันพฤหัสฯ ศุกร์ ที่ 12 - 13 ตุลาคม 2549 ผมได้มีโอกาสไปร่วมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร กับคณะของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ ประธานคุณเอื้อระดับจังหวัด ซึ่งผมได้ไปติดตามถึง 2 วัน  4 อำเภอ คือ ท่าศาลา นบพิตำ เฉลิมพระเกียรติ และพระพรม (ท่านผู้ว่าฯท่านตั้งใจไปให้ครบทุกอำเภอ) อย่างที่ผมเรียนแล้วว่าผมจะหาโอกาสไปให้ได้บางอำเภอและจะมาเล่าบรรยากาศให้ได้รับทราบ ผมทำตามสัญญาแล้วครับ
  • กิจกรรมของการติดตาม 3 ชั่วโมงต่อหนึ่งอำเภอ จะเริ่มจากอำเภอเป้าหมายเปิดวีซีดี พูดจาประสา KM ของท่านผู้ว่าฯ ให้ที่ประชุมฟังล่วงหน้าก่อนที่ท่านจะเดินทางไปถึง วีซีดีความยาว 1 ชั่วโมง พอจบจากดูวีซีดี ท่านผู้ว่าฯและทีมคุณเอื้อจังหวัดก็ถึงที่ประชุม  เวลา 2 ชั่วโมงจากนี้ไปจึงเป็นบรรยากาศของการพบปะที่ประชุมของคุณเอื้อจังหวัด การนำเสนอความคืบหน้า ผลการดำเนินงานของทีมอำเภอ ไม่ว่าจะเป็นคุณกิจแกนนำหมู่บ้าน คุณอำนวยตำบล คุณอำนวยอำเภอ หรือคุณเอื้ออำเภอ สนทนาซักถามแลกเปลียนเรียนรู้กัน บรรยากาศก็เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ มีการพูดถึงประเด็นเรียนรู้ต่อเนื่อง (การบ้าน) อีกด้วย...ทุกที่ที่ผมไปผมเห็นท่านชื่มชมในความสำเร็จของทุกอำเภอ ในวิธีการทำงานที่แต่ละอำเภอได้คิดค้นขึ้นมา...ท่านไม่ตำหนิผู้ใดหน่วยงานใดทั้งสิ้น ทุกคนจะเกรงบารมีท่านไปเอง หันมาร่วมมือร่วมใจกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในที่สุด
  • ผมสังเกตว่าในทุกอำเภอที่ท่านพบปะที่ประชุม ท่านจะเน้นย้ำเรื่องชุมชนอินทรีย์ ผมไม่เคยได้ยินคำๆนี้มาก่อน กระซิบถาม อ.ภีม ภคเมธาวี ซึ่งผมได้นัดแนะว่าให้ไปด้วย อ.ภีม ก็บอกว่าไม่เคยได้ยินมาก่อนเช่นกัน ขณะที่ซุบซิบกันอยู่ ท่านก็สาธยายความหมายให้เข้าใจว่า ชุมชนอินทรีย์นั้นเปรียบเหมือนกับการปลูกไม้ยืนต้น หวังผลระยะยาว ให้เป็นป่าที่น่าอยู่ ยั่งยืน มั่นคง สามารถต้านภัยต่างๆได้ ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้จำเป็นต้องให้สังคมได้มีการเรียนรู้ ได้ฝึกกระบวนการทางปัญญา หากได้ให้การเรียนรู้หรือฝึกกระบวนการทางปัญญาแก่ชุมชน หรือใช้การเรียนรู้หรือกระบวนการทางปัญญาก็เป็นเครื่องมือแล้ว เครื่องมือนี้ก็จะทำหน้าที่สร้างรากแก้วรากแขนง แตกหน่อต่อยอด ทำให้ป่าทั้งป่าหรือสังคมทั้งสังคมกลายเป็นสังคมอุดมปัญญาในที่สุด เป็นสังคมที่มีภูมิคุ้มกันจากปัจจัยต่างๆที่มารอบตัวได้ ไม่ว่ามีภัยใดมาเบียดเบียน เรียกว่าเป็นชุมชนอินทรีย์ ชุมชนที่มีการเรียนรู้ตลอดเวลา.....และท่านได้สรุปถึงข้อดีของ KM ในที่สุดว่า การจัดการความรู้คือเครื่องมือเสริมใยเหล็ก...
  • การสร้างชุมชนอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านอินทรีย์ ตำบลอินทรีย์ อำเภออินทรีย์ หรือจังหวัดอินทรีย์ จะทำภายใต้ชื่อโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร (นัยว่าชื่อนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนในไม่ช้านี้ ) ซึ่งจะต้องทำกันระยะยาว 6 ปี ตั้งแต่ปีที่หนึ่งจนถึงปีที่หก (2548 -2553 ) ปีไหนจะเน้นเป้าหมายงานอะไร..เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ว่า เมืองแห่งการเรียนรู้  เกษตรและท่องเที่ยวน่าอยู่ สู่สังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน ...ผมจะเล่าในบันทึกหน้านะครับ
  • เสียดายที่คุณอำนวยของที่ประชุมทั้ง 4 อำเภอ(จะว่าพิธีกรของที่ประชุมก็ได้นะครับ) ไม่ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเสวนาทำกิจกรรมบันทึกความรู้จากวีซีดีพูดจาประสา Km ของท่านผู้ว่าฯ ผมเห็นว่าหากจะได้บันทึกด้วยก็จะเสริมความรู้ให้กับเขามากเลย เพราะวีซีดีมีสาระประโยชน์น่าฟังน่าติดตามมาก
หมายเลขบันทึก: 54743เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอความกรุณา copy VCD ของท่านผู้ว่าฯ  ส่งให้ผม ๑ แผ่นด้วย ได้ไหมครับ

วิจารณ์

เรียน อ.หมอวิจารณ์

           ผมจะรีบส่งไปให้ครับ ขอเอาไว้แล้ว
 

  • ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกเล่าสู่กันฟัง หากไม่รบกวนจนเกินไปผมก็สนใจ VCD เช่นกันนะครับ (ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ)
  • เดี๋ยวนี้บันทึกของครูนงมีสีสันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนะครับ

เรียน คุณสิงห์ป่าสัก

  • วีซีดีผมจะพยายามส่งมาให้นะครับ
  • ส่วนถอดบทเรียนแก้จนเมืองคอน ฉบับซ้อมมือที่ส่งทางอีเมล์นั้นปราฏว่ามีปัญหาเล็กน้อย  ผมจะส่งเป็นเล่มเอกสารตามาให้อ่านและคอมเม้นต์นะครับ       
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท