Gotoknow กับปัญหาลิขสิทธิ์ (2)


เวบ Gotoknow ควรมีการประกาศลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของบทความ ออกมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือคิดว่า ยังไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น เพราะเพียงแค่ใช้มโนธรรมในใจก็เพียงพอแล้ว ?

สวัสดีค่ะ ..จากบันทึกเมื่อวานนี้ เรื่อง  Gotoknow กับปัญหาลิขสิทธิ์  ก็ขออนุญาตเข้ามาแสดงความเห็นเพิ่มเติมต่อสักนิด หากเป็นความเห็นที่แตกต่าง  ก็ขออย่าได้ถือเป็นข้อขัดแย้ง แต่ขอความกรุณาให้เห็นเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันเถิดนะคะ..ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ  ^_^

ขอเริ่มต้นด้วยประเด็นที่บอกว่า..

การเปิดเผยตัวตน เป็นทางเลือกที่ดี และเป็นทางหนึ่งที่ทำให้เราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สิ่งที่เราเขียน ประเด็นนี้ขอมีความเห็นที่แตกต่างว่า  ในแง่ของผู้นำผลงานคนอื่นมาลงโดยไม่อ้างอิง หากทำไปโดยไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการแล้ว  แม้จะเปิดเผยตัวตน ก็ยังอาจกระทำผิดได้ 

วันสองวันมานี้ ได้เข้าไปอ่านในบล็อกของบางท่าน (ขออนุญาตไม่เอ่ยนาม) ได้พบเห็นบทความ และบทกลอน ที่เหมือนจะคุ้นๆว่าเคยอ่านเจอจากในเนต  ลงโพสต์ไว้ในบล็อก  โดยไม่มีการอ้างอิงที่มา หรือหมายเหตุแจ้งไว้ว่า ได้มาจากที่อื่นซึ่งไม่ทราบที่มา  เมื่อลงไว้เช่นนี้..ผู้อื่นเข้ามาอ่าน ไม่ว่าใครก็ต้องเข้าใจว่าเจ้าของบล็อกเป็นคนเขียนหรือคนแต่งขึ้นมาเองใช่ไหม ?

สำหรับในส่วนของการเปิดเผยตัวตน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ประเด็นนี้ก็มีความเห็นแตกต่างเช่นกัน เพราะเหตุว่า นามปากกา ตลอดจนชื่อ username ของผู้เขียนนั้น ก็สามารถแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์หรือบทความได้  ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อจริงแสดงตัวตนออกมา  เพราะขณะนี้ในอินเตอร์เนตก็มีหลายเวบ ที่ลงบทความ เรื่องสั้น ตลอดจนนิยาย ผู้เขียนเจ้าของเรื่องจะได้รับการประกาศความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในสิ่งที่ตนเองเขียนจากเวบนั้นๆ  มีวันที่ยืนยันวันเวลาโพสต์ มี e-mail สำหรับการติดต่อถึงผู้เขียน และมีผู้อ่านสามารถช่วยเป็นพยานให้ และเป็นหูเป็นตา เมื่อเจอว่าเรื่องหรือบทความนั้นๆ ถูกแอบอ้างนำไปที่อื่น

ส่วนสำหรับประเด็น.. การให้ถือว่าเป็นการให้ทาน  หรือ  " สิ่งที่เขาได้ไปนั้นเป็นเพียงผลงานจากความคิดของเรา เขาไม่สามารถคัดลอกความคิดและวิธีคิดของเราไปได้ "

ในส่วนตัวกลับมีความเห็นว่า นี่คือจุดเริ่มต้น ที่อาจส่งเสริมให้ผู้เยาว์ หรือผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กระทำความผิดที่หนักขึ้นในคราวต่อไปหรือไม่ ?   เพราะเขาคิดว่าทำได้ เพราะคิดว่าแค่เรื่องเล็กๆน้อยๆ  หลังจากนั้น..จากคิดว่าเล็กๆน้อยๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป  ซึ่งในเรื่องการกระทำผิดแบบนี้ คิดว่านักวิชาการ ผู้มีคุณวุฒิวัยวุฒิคงไม่มีใครทำกันอยู่แล้ว  แต่ใน gotoknow ยังมีนักศึกษา นักเรียนที่เข้ามาเป็นสมาชิกอยู่ด้วย  การช่วยกันปลูกฝัง กันให้ตระหนักในจุดนี้ นับตั้งแต่เริ่มต้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี สำหรับการเป็นพลเมืองออนไลน์ในอินเตอร์เนตมิใช่หรือคะ

สำหรับตนเอง..ก่อนนี้ก็เคยมีความคิดเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า  "ให้ถือเป็นการให้ทาน"  แต่เมื่อได้เห็นมาหลายคดีเข้า จึงทำให้นึกถึงนิทานเรื่อง "พ่อแม่รังแกฉัน"  และฉุกใจคิดได้ว่า  คำว่า "ทาน"  นั้น จะให้เมื่อมีการขอ และผู้ให้เต็มใจให้  มิใช่การถูกหยิบฉวยไปเฉยๆ    การนิ่งเฉย..เมื่อของถูกผู้อื่นหยิบฉวยไป แล้วนึกในใจตนเองว่า "ถือว่าเป็นทาน"  กลับจะถือว่าเป็นการส่งเสริมขโมยไหม ?   ยิ่งถ้าอีกฝ่ายทำไปโดยไม่รู้ว่าผิด การนิ่งเฉยของเราก็ถือว่าผิดต่อเขาเช่นกันหรือไม่?

การที่ได้นำบทความ  "Gotoknow กับปัญหาลิขสิทธิ์ " มาพูดถึง  ก็เกิดจากความคิดที่เห็นว่าเวบ gotoknow ได้ถูกพัฒนาและขยายตัวโตขึ้น มีสมาชิกมากขึ้น ทั้งจำนวนและความแตกต่างที่หลากหลาย  หลายวันมานี้ได้เข้าไปอ่านบทความของหลายท่าน  มีหลายบทความที่ถูกเขียนขึ้นอย่างน่าสนใจและต่อเนื่องกันไป  จึงเกิดความคิดว่า  ต่อไปภายหน้าบทความลักษณะนี้คงมีเพิ่มขึ้น (เนื่องจากมีสมาชิกมีมากขึ้น มีการเขียนที่จริงจังขึ้น)  เป็นไปได้ว่า สักวันหนึ่งอาจจะมี สำนักพิมพ์ที่เกิดสนใจ ติดต่อเข้ามาเพื่อขอพิมพ์รวมเล่มผลงานเหล่านั้น (โปรดอย่าหาว่าดิฉันกล่าวเว่อร์ไป นี่เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้จริงๆนะคะ)

เมื่อผลงานเขียน สามารถเปลี่ยนเป็นตัวเงิน เจ้าของบทความจะตระหนักในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มากขึ้น  การที่ทางเวบมีการประกาศให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานเขียนต่างๆอย่างชัดเจน  ก็จะทำให้ทางเจ้าของบทความนั้นๆ มีความวางใจ ในการเขียนลงบทความ ไม่เพียงแค่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก  อีกทั้งยังอาจพัฒนา "การเขียน" ไปสู่สื่อที่จับต้องได้ (หนังสือ)  เวบที่ลงข้อความหรือแถบข้อความ การประกาศลิขสิทธิ์ของเจ้าของบทความอย่างชัดเจน  จะเป็นการเตือนใจบางคนที่ไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (แต่คงห้ามคนที่มีเจตนาไม่ได้) ไม่ให้นำบทความเหล่านั้นออกไปเผยแพร่ที่อื่น ก่อนได้รับการอนุญาตจากเจ้าของบทความนั้นๆ

ดิฉันจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาเสียยืดยาว   จุดประสงค์จริงๆก็แค่อยากขอความคิดเห็นว่า.. เวบ Gotoknow ควรมีการประกาศลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของบทความ ออกมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่  เหมือนที่หลายเวบที่เกี่ยวข้องกับงานเขียน จะมีข้อความด้านล่างของแต่ละหน้าของบทความ หรือหน้าแรกของเวบไซต์นั้นๆประมาณว่า  "บทความทั้งหมดได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฏหมายโดยเจ้าของบทความนั้นๆ ห้ามคัดลอกหรือนำไปเผยแพร่ที่อื่นก่อนได้รับการอนุญาตจากผู้เขียน"   

หรือท่านทั้งหลายคิดว่า ยังไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น  เพราะเพียงแค่ใช้มโนธรรมในใจก็เพียงพอแล้ว ?

สุดท้ายนี้..หากมีประโยคใดในบทความนี้  ใช้คำพูดไม่เหมาะสม จนนำไปสู่การสื่อสารผิดพลาดจนเป็นการล่วงเกินสมาชิกท่านใด ก็ต้องขออภัยด้วยนะคะและยินดีรับการสอนสั่งแนะนำค่ะ   เพราะสำหรับในครอบครัว Gotoknow แล้ว ดิฉันยังรู้สึกว่าตนเองเป็นเด็กใหม่ ที่ยังเยาว์คุณวุฒิอยู่มาก  เพียงแต่ก็อยากแสดงความคิดเห็นบ้าง ในฐานะสมาชิกคนหนึ่ง ที่เริ่มรู้สึกรักที่นี่ขึ้นมาแล้ว.. จะอย่างไรก็ขอฝากเนื้อฝากตัวอีกครั้งนะคะ  ^____^

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 40183เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
     เห็นด้วยในประเด็น "เวบ Gotoknow ควรมีการประกาศลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของบทความ ออกมาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร" ด้วยเห็นว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่พอจะปราม ๆ กันได้บ้างครับ

เป็นมุมมองที่น่าสนใจค่ะ เชื่อว่าอ.ธวัชชัยและอ.จันทวรรณผู้พัฒนาระบบคงมีประสบการณ์และมาตรการสำหรับเรื่องนี้แน่นอน เพราะจำได้ว่าอ.จันทวรรณเคยพูดถึงเรื่องนี้ในการบรรยายครั้งหนึ่งเหมือนกัน แต่เนื่องจากช่วงนั้น GotoKnow ยังไม่โตขนาดนี้น่ะค่ะ

ส่วนเรื่องการพิมพ์รวมเล่มนั้นดูเหมือนอ.จันทวรรณเคยพูดถึงเหมือนกันค่ะว่าสคส.คงมีการทำในอนาคต (ไม่เว่อร์แน่นอนค่ะ) 

 

     เคยได้ยินครับพี่ เมื่อคราว สัมมนา Bloggers มอ.ครั้งที่ 1 ผมไปร่วมด้วยตอนนั้น ในประเด็นที่พูดคือ Blog2Book ครับ

เห็นด้วยครับ

เห็นด้วยครับ แต่ผมไปละเมิดใครบ้างเนี่ย น่ากลัวจะมีนะครับ

ขอบคุณพี่ k-jira ที่แนะนำและให้ความรู้ครับ

เห็นด้วยกับการประกาศเรื่องลิขสิทธิ์...

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท