คำเฉลย เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากบริเวณ น้ำตกสายรุ้ง และน้ำตกไพรสวรรค์


เหตุการณ์เศร้าใหญ่อีกครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2550 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุ เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากบริเวณ น้ำตกสายรุ้ง และน้ำตกไพรสวรรค์ จังหวัดตรัง

สวัสดีครับ ทุกท่านที่เคารพ

         เหตุการณ์เศร้าใหญ่อีกครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2550 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุ เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากบริเวณ น้ำตกสายรุ้ง และน้ำตกไพรสวรรค์ จังหวัดตรัง เข้าไปอ่านรายงานส่วนหนึ่งได้ที่นี่ครับ http://www.weekendhobby.com/vr/webboard/Question.asp?ID=2072

ผมเก็บภาพส่วนหนึ่งจากเว็บดังกล่าวมาแสดงให้เห็นที่นี่ เพื่อประกอบบทความนี้นะครับ

เข้าไปดูต่อกันได้ที่ http://www.weekendhobby.com/vr/webboard/Question.asp?ID=2072 พร้อมรายชื่อผู้เสียชีวิตครับ

ผมติดตามจากข่าว ก็รายงานว่า เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในอดีต

จากภาพดาวเทียมนั้น ผมได้ไปเช็คอีกรอบด้วยโปรแกรม VirtualCloud3D นั้นพบว่า มีเมฆฝนมาตลอดต่อเนื่องกันตั้งแต่วันที่ 11-13 เมษายน นั่นคือ ปริมาณน้ำนั้น คงได้มีการเพิ่มเติมในพื้นที่ภูเขาและแหล่งน้ำตกเหล่านั้น อยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าทำไมน้ำป่าไหลหลาก แต่ไม่มีต้นไม้ไหลมาด้วย หรือต้นซุงไหลตามมาด้วย


(ภาพเคลื่อนไหวสามมิติ จากโปรแกรม Virtual Cloud 3D จากภาพดาวเทียมในช่วงวันที่ 11-14 เมษายน 2550)

ซึ่งหากใครอยู่ในเหตุการณ์จริง ก็รบกวนเล่าสู่กันฟังนะครับ

ผมได้คุยกับพี่ชายผมคนหนึ่งที่เคยอยู่เยอรมัน แล้วไปทำงานบริเวณจังหวัดตรังแล้วกลับมาเยี่ยมครอบครัวที่เยอรมันอีกครั้ง บังเอิญว่าพี่เค้าได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วย กำลังประชุมกันอยู่ แล้วได้รับแจ้งว่าเจอปัญหา พร้อมกับพี่เค้าได้บินสำรวจพื้นที่ป่าไม้บริเวณนั้นอยู่ด้วยเหมือนกัน แม้ว่าจะพบว่าพื้นที่ป่าโดนทำลายไปเยอะมากก็ตาม แล้วพี่เค้าก็ได้ให้คำเฉลยออกมาว่า

กรณีน้ำป่าไหลหลากครั้งนี้ เกิดจาก

การที่มีกิ่งไม้ตกลงไปในน้ำแล้วน้ำพัดพากิ่งไม้ไปทับถมกันจนกลายเป็นคันเขื่อนกิ่งไม้ หนาขึ้นเรื่อยๆ แต่น้ำก็จะยังไหลผ่านคันเขื่อนกิ่งไม้ใบไม้เหล่านั้นได้ จนมาประจวบเหมาะกับการที่น้ำตกจากฟ้าอย่างต่อเนื่องสองสามวัน ทำให้เขื่อนกิ่งไม้ใบไม้นั้น รับปริมาณน้ำไม่ไหว จนได้ถึงเวลาที่เขื่อนใบไม้แตกพัง ตกลงมา นั่นคือน้ำเป็นก้อนๆ ที่โดนขังเอาไว้ ก็พังทะลายลงมา ซึ่งไม่แน่ใจว่าปริมาณจริง เป็นน้ำขนาดไหน แต่ไหลลงมาวูบเดียว ไม่กี่นาทีก็หายไป เหมือนเทน้ำในเขื่อน แล้วไปประสบกับผู้คนที่เล่นน้ำอยู่ในชั้นล่างของน้ำตกด้วยครับ

นี่ก็คือประสบการณ์อันหนึ่ง ที่เกิดขึ้นอีก และหวังว่าจะไม่เกิดซ้ำขึ้นอีก ดังนั้นก็ต้องหมั่นตรวจสอบสิ่งเหล่านี้กับสถานที่ท่องเที่ยวที่อื่นเช่นกันครับ ก่อนจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก

ได้ข่าวว่าตอนนี้กำลังมีการเตรียมติดตั้งเครื่องมือ และเครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำด้วยครับ สถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่ต่างๆ ที่คนไปมาเยอะๆ ควรจะมีการจัดทำสิ่งเหล่านี้ให้รอบคอบทั่วประเทศ ทำนองเดียวกับการทำทางหนีภัยสึนามิ หรือเหตุการณ์ไฟป่า และอื่นๆ ให้เป็นฐานข้อมูลใหญ่ทั้งประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในเมืองไทยก็มีพร้อมนะครับ แต่เรื่องการจัดการจะทำได้อย่างไร ตรงนี้น่าจะเป็นสิ่งสำคัญครับ

สุดท้าย กระผมขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตด้วยครับ คงต้องมีทีมอาสาสมัครในพื้นที่ คอยกระจายข่าว และทำงานในชุมชนเหล่านี้ อย่างเอาจริงเอาจังทั่วทุกพื้นที่ครับ ในภาคอื่นๆ ก็เช่นกันครับ

ขอบคุณมากนะครับ หากท่านใดมีข้อมูลอื่นเสริม ก็เขียนต่อไว้ได้นะครับ

ขอบพระคุณมากครับ

สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 93098เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ คุณเม้ง

เป็นข้อมูลใหม่จริงๆ ค่ะ ดิฉันยังคิดเลยว่าเป็นเพราะปริมาณน้ำที่ตกในช่วงนั้น ไม่ได้คิดว่าเขื่อนธรรมชาติแตก ถ้าเป็นเหตุการณ์แบบนี้จริง คงต้องมีการสำรวจ และ clearing เป็นระยะๆ นอกเหนือจากระบบเตือนภัย

น่าเห็นใจคนที่ประสบเหตุมากจริงๆ ค่ะ ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังนะคะ

P

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • ผมเองก็เพิ่งทราบข่าวในรายละเอียดของพื้นที่ครับจากพี่เค้านะครับ
  • คงต้องทำอย่างที่อาจารย์ว่านั่นหล่ะครับ คือมีการตรวจเช็คปริมาณน้ำในตามแอ่งต่างๆ นะครับ หากปริมาณน้ำสูงกว่าระดับปกติ และดูโครงสร้างของแอ่งตามช่วงต่างๆ ครับ
  • ใช่แล้วครับ สิ่งนี้คงเป็นเหตุเตือนใจให้คนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ตลอดจนนักท่องเที่ยวด้วยครับ เพราะเสียชีวิตไปเกือบสี่สิบคนครับ ก็เยอะมากๆ นะครับ
  • คงต้องตระหนักทุกๆ แหล่งท่องเที่ยวที่จะมีให้บริการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ต้องทำการบ้านหนักอยู่เสมอครับ
  • แล้วจัดหมวดหมู่พื้นที่ ประเภทต่างๆ แล้วแนวทางหรือภัยที่อาจจะเกิดได้ตามแหล่งต่างๆ ผสมกับเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ
  • ขอบคุณอาจารย์มากๆ นะครับ
P

สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์

  • ใช่ครับเป็นเรื่องน่าเศร้าครับ และหวังว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายและไม่เกิดแบบนี้อีกนะครับ
  • เป็นกำลังใจให้คนทำงานกันต่อไปนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • ขอบคุณน้องเม้งมากนะคะ  :)  สำหรับข้อมูล  เห็นเมฆหมุนๆแล้วหวั่นอะค่ะ
  • นึกถึงที่กะทูนแล้วยังใจหายอยู่เลย  อันนั้นสุดวิสัยจริงๆ   เป็นบทเรียนครั้งใหญ่อีกครั้งของคนนครฯ
  • และเหตุการณ์ที่ตรังหนนี้ ก็ทำให้นึกถึงสัญชาตญาณระแวงภัย  และระวังภัย   รวมถึงความมีวินัยและความไม่ประมาท   แล้วก็นึกไปถึงเพื่อนฝรั่งที่เคยบอกว่าแปลกใจ  คนไทยไม่ชอบอ่านแผนที่  คือนึกเชื่อมกันไปได้ไงก็ไม่รู้
  • แต่มาคิดต่อ  ว่าเท่าที่เห็นโดยทั่วไป  เราก็ไม่ใคร่ศึกษาพื้นที่กันจริงๆ  เรามักมองเพียงว่าอยู่ที่ไหน  จะไปอย่างไร  แล้วก็ไป  แต่ไม่ค่อยศึกษาพื้นที่ทั้งหมดจนเข้าใจก่อน แล้วถึงไป 
  • เห็นในข่าวแล้วรู้สึกเสียใจเหลือเกิน    ภาวนาเช่นกันค่ะ  ขออย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกเลย

พี่ก็ว่าเป็นข้อมูลใหม่ และน่าสนใจ น่าที่จะส่งให้ทางราชการผู้รับผิดชอบทราบและคิดอ่านป้องกันต่อไป

สุดยอดข้อมูลเลยน้องเม้งครับ 

ดีครับพี่เม้ง

ผมเสียใจเมื่อทราบข่าว

ทำไมประเทศไทยวันที่ 14 จึงมีเหตุการณ์ร้ายเป็นประจำ

P

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • ขอบคุณมากเลยครับพี่
  • ทั้งกะทูน และหลายๆ ที่ เราก็จำกันได้ครับ ตอนหลังๆ ชาวบ้านเค้าน่ารักครับที่ เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนภัย ชาวบ้านก็เชื่อฟังและอพยพย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัยครับ
  • ส่วนการป้องกันที่น้ำตกที่ตรัง เค้าคงไปติดตั้งเครื่องมือเร็วๆ นี้ครับ เกี่ยวกับการวัดระดับน้ำ และเครื่องมือเก็บค่าทางอุตุจากสภาพแวดล้อมด้วยครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ
P

สวัสดีครับพี่บางทราย

  • ขอบคุณมากคับผม
  • ผมแจ้งไปทางพี่ที่กรมอุตุแล้วครับ เรื่องแหล่งสาเหตุครับ คิดว่าเค้ากำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องมือในไม่ช้านี้นะครับ
  • ผมว่าควรจะมีการวางแผนให้ทั่วทั้งประเทศครับ ตอนนี้เมืองไทยเรามีโครงการหนึ่งน่าสนใจมากครับ เป็นการวางเครื่องมือไว้ตามจุดเสี่ยงภัยนะครับ ลองเข้าไปดูนะครับ http://weather.nakhonthai.net/ เข้าอ่านดูนะครับ ผมว่าต่อไปควรจะมีสถานีตรวจวัดแบบนี้ทั่วประเทศครับ
  • อันนี้ก็ผลงานคนไทยเช่นกันครับ ไทยทำไทยใช้ ไทยพัฒนา ไทยยั่งยืน ครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับน้อง

  • พี่ก็เพิ่งทราบนะครับ แต่ได้ข่าวจากน้องที่ตรังและเพื่อน เลยมาค้นหาดูนะครับ แล้วไปรันโปรแกรมดูก็เจออย่างที่ให้ดูในภาพด้านบนครับ พอดีภาพไม่ค่อยชัดครับ
  • แต่ภาพจริงชัดครับ แต่ขนาดใหญ่ กลัวว่าจะโหลดช้ากันเลยทำให้ไม่ชัดจะได้ดูแนวโน้มที่เกิดที่ตรังครับ
  • ส่วนเรื่องวันที่นั้นพี่ไม่ทราบครับ ว่าทำไมต้องเป็น 14 ครับ
  • โชคดีนะครับ
  • ไม่รู้จะพูดอย่างไรอีก ได้แต่เสียใจ  สงสารกัน 
  • แต่ก็ได้แสดงความคิดเห็นทีบล็อคผมไว้แล้ว
  • หมายความว่าธรรมชาติมันสร้างเขื่อนขึ้นเองจากเศษไม้ของมนุษย์  
  • เมื่อมันรับไม่ไหวก็คลายทิ้งออกมา 
  • น่าสนใจ  น่าสนใจ  คงต้องบอกที่อื่นๆด้วยครับ
  • ขอบคุณอาจารย์เม้ง  ที่ให้ข้อมูล

P
สวัสดีครับพี่แท็ปส์
  • น้ำตาตกที่สายรุ้ง  บทความที่ได้ถกกับพี่ตอนที่ยังไม่ทราบผลเฉลยจากคนในพื้นที่ครับ
  • เรื่องนี้ต้องมีการทำโปรแกรมทุกๆที่ในประเทศ โปรแกรมที่ว่านี้คือเป็นโปรแกรมเฝ้าระวังครับ คือให้มีทั้งสองระบบครับ คือระบบคน และระบบเครื่องมือเทคโนโลยี่ครับ (เครื่องมือที่ไทยทำไทยใช้ไทยพัฒนานี่หล่ะครับ)
  • โดยแต่ละพื้นที่ต้องวิเคราะห์ออกมาครับ อย่าเช่น ถ้ำมรกต ก็ต้องทราบว่า ช่วงไหนที่น้ำขึ้นลง ต้องมีเครื่องมือวัดสถิติที่รายงานผลได้ทั้งที่ว่ามีการขึ้นหรือลงของน้ำอย่างไร นอกจากจะใช้ประสบการณ์ของผู้นำการท่องเที่ยวอย่างเดียว
  • ผมไปเมื่อต้นปีก่อน คนที่อยู่ในถ้ำ อาจจะลอยคออยู่ประมาณ หกสิบคนแบบสวนทางข้าเข้าออกคุณลองคิดดูนะครับ หากให้จินตนาการเล่นๆ ตอนนั้น ว่ามีระดับน้ำสูงขึ้นแบบสุดวิสัยอย่างตอนที่สึนามิเข้านะครับ ซึ่งผิดวิสัย ใครอยู่ในน้ำที่กำลังล่องเข้าไปหรือกำลังออกมา ก็เจอปัญหาได้ทันทีครับ
  • แล้วจะเกิดกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อาจจะไม่มีคนไปอีกเลยก็ได้ครับ หากมีคนตายมากๆ จนเป็นที่เลื่องลือ (อันนี้ผมสมมุติเอานะครับ แค่เป็นการให้มีการเฝ้าระวังเท่านั้น) ดังนั้น ไกด์ทัวร์จะต้องมีการหาข้อมูลในวันนั้นเป็นอย่างดี ก่อนจะนำลูกทัวร์เข้าถ้ำ อาจจะต้องมีศูนย์บริการของจังหวัดครับให้มีการติดต่อผ่านวิทยุสื่อสาร หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ
  • สำหรับกรณีน้ำตกที่อื่นก็ควรระวังเรื่องภูเขาถล่มจากการที่น้ำตกต่อเนื่อง ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ และอื่นๆ
  • สำหรับชายทะเลก็เช่นกัน ตามเกาะต่างๆ หรือการออกเรือเดินเรือ ก็ต้องดูการเตือนภัยจากกรมอุตุ ซึ่งเข้าไปดูการทำนายคลื่นล่วงหน้าได้ที่ www.marine.tmd.go.th
  • สำหรับการเที่ยวดอย....หรือภูเขาสูง...ปืนเขา และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ต้องร่วมวางแผนกันนะครับ เพราะผมเชื่อว่าเหตุการณ์พวกนี้ อาจจะมีอีกแน่นอน แล้วแต่ว่าจะช้าหรือเร็ว
  • ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

ตอนที่ทราบข่าวก็เศร้าใจ..และสงสัยมาตลอดว่าเพราะอะไร จนถึงตอนนี้ถึงทราบว่าเกิดจากเศษไม้ที่ขวางทางน้ำ ร่วมกับปริมาณน้ำฝน

ปัญหา..นำไปสู่หนทางแก้ไขและเฝ้าระวังได้อย่างดีเลยนะคะ ( ปัญญา )..ถ้ารู้จัก " ค้นหา " ปัญหานั้น

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ

P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • สบายดีนะครับผม
  • ผมเคยไปน้ำตกตรีแบร์ก ที่เยอรมัน น้ำตกสูงประมาณ 300 เมตรครับ และเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในเยอรมัน อยู่แถบๆ ป่าดำที่ไฟร์บวร์กนะครับ
  • เค้าห้ามคนลงเล่นน้ำเลยครับ มีที่กั้นอย่างดีครับ พร้อมมีข้อมูลให้ตลอดครับ เพราะการที่ให้คนลงเล่นน้ำ อาจจะเช่นน้ำเย็น กลัวสกปรก หรืออุบัติเหตุ อะไรทำนองนี้นะครับ
  • ในเมืองไทยเราจะเปิดฟรี เน้นการค้นหา การเรียนรู้ แต่เราต้องเพิ่มความระมัดระวังและข้อมูลลึกเชิงพื้นที่ด้วยครับ เช่น ก่อนคนจะลงอาบน้ำต้องผ่านการอบรมสั้นๆ อธิบายที่มา โครงสร้างของน้ำตก ตรงไหนอันตราย ตรงไหนปลอดภัย ตรงไหนห้ามเข้า อันนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องจัดการตรงนี้ แล้วหลังจากนั้น ทุกคนก็คือกำลังขับชีวิตของตัวเองเข้าไปสู่การเสี่ยงภัย
  • ต้องดูแลชีวิตตัวเองด้วยตัวเอง เพื่อนผมที่นั่งรถเข็นอยู่ทุกวันนี้ที่เยอรมัน ก็เพราะกระโดดน้ำ แล้วเท้าไปกระแทกกับหิน จนเอ็นพิการหมดเลยครับ ตอนนี้เค้าพยายามเดิน หรือยืน แต่ทำได้ยากมากครับ เพราะเอ็นผิดพลาดไปหมดครับ เราได้แต่เอาใจช่วยให้เค้าทำกายภาพบำบัดเท่านั้นครับ
  • ใช่แล้วครับ ปัญหา ปัญญา และ ค้นหา คือสิ่งเดียวกันครับ แต่เจอกันตามเวลาต่างๆกัน
  • โชคดีนะครับ
  • จริงๆ แล้ว หากมีข้อมูลทางด้าน GPS ที่สามารถวัดค่าความลึกความสูงของพื้นที่ต่างๆ ได้ โดยสอบถามความสูงของพื้นผิวโลกจากดาวเทียมได้ แบบละเอียด ก็จะดีมากๆ ครับ ให้ทำสำรวจเอาไว้ทุกพื้นที่ น้ำตก ทะเล หุบเขา แล้วเอาเข้ามาวิเคราะห์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วนำไปสู่การจำลอง น้ำท่วม ให้น้ำตกลงจากฟ้า แล้วปล่อยให้น้ำไหลไปตามพื้นที่ที่สนใจ ผมว่าคงวางแผนอะไรได้อีกเยอะครับ
  • นี่คืองานที่ผมวางไว้ในอนาคต แต่ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลเหล่านี้ คงต้องทำกันเป็นทีมครับ ถึงจะเสร็จเร็ว แล้วร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวทุกๆ ที่ทั่วประเทศ ก็น่าจะดีครับ น่าจะบูรณาการหลายๆ สาขาเข้าด้วยกันได้ ท่านใดสนใจลองเอาไปคิดกันดูครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีครับท่านทั้งหลาย

เห็นน้องเม้งรายงานบรรยายข่าวเรื่องน้ำป่าไหลหลากที่ จ.ตรังว่า "ตามรายงานข่าว เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต" ก็เลยทำให้เกิดข้องใจว่า จริงๆ แล้วเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดมาแล้วหลายครั้งครับ หนักสุดๆ ก็หมู่บ้านคีรีววง อ.ลานสกา จ.นครฯ เมื่อ กันยายน 2531 ที่เกิดพร้อมๆ กันที่กะทูน อ.พิปูน จ.นครฯ เหมือนกัน โดยที่กะทูนเกิดจากภูเขาถล่ม ส่วนคีรีวง เกิดจากน้ำป่าทลัก อีกครั้งนึงก็ 25 ก.ย. 2537 ที่ วังตะไคร้ จ.นครนายก ครั้งนั้นตายไป 18 คน ซึ่งที่วังตะไคร้ครั้งนั้นเกิดต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และประชาชนเป็นจำนวนมาก หลังเหตุร้าย จ.นครนายกจัดคณะขึ้นสำรวจต้นน้ำเพื่อหาสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ แล้วพบว่า

เกิดจากกระแสน้ำพัดเอาเศษดิน ใบไม้ มาทับถมอุดตันช่องทางน้ำบนเขาใหญ่ จนเกิดช่องแคบๆ ทำให้น้ำไหลได้น้อยส่วนด้านบนก็กลายเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดย่อมๆ จนเมื่อฝนกระหน่ำลงมามากๆ เศษดิน เศษไม้ต้านกระแสน้ำไม่ไหว ทำให้น้ำทะลัก ถล่ม ทลาย กลายเป็นน้ำป่าที่คร่าชีวิตคนไม่รู้อีโหน่อีเหน่ไป 18 ศพ

ส่วนการที่มีผู้ออกมาแสดงความเห็นเห็นเย่อะแยะ เรื่องติดตั้งระบบเตือนภัยนั้น คิดว่าคงยากครับ เนื่องจากน้ำตกของทางภาคใต้นั้นมีมากเหลือเกิน แค่ นครฯ จังหวัดเดียวมีน้ำตกมากกว่า 10 แห่ง แต่ละแห่งก็เกิดจากการรวมตัวของลำหัวยที่อยู่บนภูเขาหลายลำห้วย (เคยขึ้นไปสำรวจด้านบนของน้ำตกโยง อ.ทุ่งสง กับ น้ำตกกะโรม อ.ลานสกา ) ซึ่งถ้าจะติดตั้งเครื่องเตือนภัยก็ต้องติดทุกลำห้วย เพราะเราไม่รู้ว่าตอนนั้นลำห้วยไหนที่มีน้ำกำลังเอ่อล้นพร้อมที่จะระเบิดเป็น ทรึนามิน้อยอยู่มั่ง เพราะถ้าติดมามาติดรวมอยู่ที่ปากปล่องน้ำตก ไม่มีทางที่จะหนีทันเนื่องจากน้ำมาแรง และเร็วมาก อีกทั้งเครื่องเตือนภัยราคาก็คงจะไม่น้อยเหมือนกัน ดีที่สุดผมว่าน่ะ ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝน หรือ ฝนตกติดต่อกันหลายวันก็อย่าไปเที่ยวเลยน้ำตกน่ะ  เพราะถ้าเกิดเหตุขึ้นมาก็จะเป็นข้ออ้างของเจ้าหน้าที่ว่า เจ้าหน้าที่ไม่พอ เครื่องมือไม่พร้อมทำให้ตายฟรีๆ เอาได้น่ะ เพราะว่าตอนที่วังตะไคร้น่ะ เกิดต่อหน้าเจ้าหน้าที่ มีเครื่องมือกู้ภัย และ เสื้อชูชีพ แต่ก็ยังตายกันมากเนื่องจากน้ำป่ามันมาเร็ว และ แรง จริงๆ ฉนั้นทางที่ดี หาที่เที่ยวอื่นที่มีความเสี่ยงน้ำกว่า เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในชีวิตของเราครับ

P

สวัสดีครับพี่แดง

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นะครับ และตัวอย่างในหลายๆ พื้นที่ครับ
  • ผมว่าควรจะมีฐานข้อมูลเก็บรายละเอียดน้ำฝน แล้วก็ วาดให้เป็นความเข้มเอาไว้ในช่วงกี่วันย้อนหลังครับ อันนี้ผมคิดว่า ผมจะต่อยอดในงานที่ทำอยู่ครับ เพื่อเอาไว้ให้เป็นตัวช่วยเตือนภัยได้เช่นกันครับ ว่าบริเวณใดที่เมฆฝนมากไปรวมกับข้อมูลน้ำฝนที่วัดตามพื้นที่ต่างๆ น่าจะช่วยได้ครับ ระดับหนึ่ง
  • จริงๆ แล้วก็อย่างที่พี่ว่าครับ ฝนตกตลอดติดต่อกันต่อเนื่อง ก็ควรระวัง โดยเฉพาะแหล่งน้ำตก เพราะหากมองแล้ว คนเราตัวเข้าขี้เล็บครับ หากเทียบกับก้อนน้ำมหาศาล
  • อันนี้ก็คือสีนามิป่า นั่นหล่ะครับ หรือว่า ตรงความหมายของคำว่า น้ำตก ครับ แต่หยดเท่าภูเขาแบบนี้ก็หนักครับ
  • รักษาชีวิตกันก็ต้องหาข้อมูลก่อนไปเที่ยว ไม่ว่าที่ไหนครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
  • ขอบคุณพี่แดงมากๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท