มุมมองใหม่ ๆ อาจช่วยให้เข้าใจอะไรมากขึ้น


"คนเรามักจะลืมตัวในการทำงาน ซึ่งมักจะสร้างงานโดยใช้ทัศนคติของตัวเองเป็นตัวตั้ง... จนนาน ๆ เข้าก็เกิดความเคยชิน จึงยึดติดกับความคิดของตัวเองมากเกินไป..."

ปล. บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว  อาจจะตรงกับความคิดเห็น  หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของใคร...  ซึ่งมิได้จงใจให้เกิดผลเสียหายใด ๆ  ทั้งสิ้น...

คนทุกคน...  ย่อมมีความคิดที่ไม่เหมือนกัน  บางครั้งสิ่งที่คุณคิดว่าดีแล้ว  อาจกลับตรงกันข้ามกันสำหรับใครบางคนที่คิดว่าสิ่งนั้นอาจไม่เอาไหน  หรือใช้ไม่ได้...  ดังนั้น  ก่อนที่คุณจะทำการสร้างสรรค์ชิ้นงานใด ๆ  ก็ตาม...  คุณลองศึกษานิสัยใจคอ  หรือแนวคิดของเจ้านาย  หรือนายจ้างเสียก่อนน่าจะเป็นการดี...  เพื่อดูแนวทางในการสร้างงานให้โดนใจ  ดีกว่าที่คุณคอยยึดติดกับแนวคิดของตัวเราเองมากจนเกินไป  จนบางครั้งงานของคุณอาจต้องแก้ไขซ้ำแล้วซ้ำเล่า...

เพราะอะไร...  ผมจึงให้ลองทำแบบนี้

อย่าลืมว่า...  คนเรามักจะลืมตัวในการทำงาน  ซึ่งมักจะสร้างงานโดยใช้ทัศนคติของตัวเองเป็นตัวตั้ง...  จนนาน ๆ  เข้าก็เกิดความเคยชิน  จึงยึดติดกับความคิดของตัวเองมากเกินไป  คิดว่าตัวเองถูก  คิดว่าตัวเองดีแล้ว...  แต่บางครั้งมันอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิดสักนิดเลยก็ได้

ก็อาจ...  คล้าย ๆ  กับสุภาษิตไทยที่ว่า  “เข้าเมืองตาหลิ่ว  ต้องหลิ่วตาตาม”

แล้วทำไมต้องทำตามเขาด้วย....

ผมลองยกตัวอย่าง...  “ภาษาพูด”  ของคนเรา...  ภาษาพูดของแต่ละภาคไม่เหมือนกัน  สมมติว่าคุณเป็นคนภาคอีสาน  แต่ต้องการขายของให้กับคนที่มีพื้นเพทางภาคใต้  เวลาขายของคุณดันไปพูดภาษาอีสานให้เขาฟัง...  เชื่อได้เลยว่าวันนั้นคุณขายของได้ไม่มากหรอก  เพราะเขาฟังไม่รู้เรื่อง  ทุกคนยอมเคยชินกับภาษาของตัวเองทั้งนั้น...  มีวิธีเดียวที่คุณจะแก้ไขปัญหานี้นี้  คือคุณต้องใช้ภาษากลางที่เขาเหล่านั้นเข้าใจ  หรือให้ดีก็ลองเปลี่ยนมาหัดพูดภาษาท้องถิ่นของเขาเหล่านั้นดูก็ได้  (ต้องศึกษาอย่างจริงจังนะ  เพราะอาจเป็นการล้อเลียนทางคำพูดก็เป็นได้ถ้าพูดผิด) 

แน่หละ...

การทำงานให้ใครสักคนหนึ่งเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ...  อาจต้องใช้แนวทางนี้บ้าง  อย่าไปคิดว่าของเราดีอยู่แล้ว  เราแน่อยู่แล้ว...  ลองเปิดตัวเองไปในมุมมองใหม่ ๆ  เผื่อจะได้อะไรดี ๆ  กลับมาก็ได้...

คำสำคัญ (Tags): #มุมมอง
หมายเลขบันทึก: 93091เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท