บทความอ่านเล่นเกี่ยวกับแบบจำลองระบบ (๔)


เจ้าตัวปัญหา

 

กลางเดือนสิงหาคม พายุโซนร้อนหลายลูกพัดผ่าน เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย หอบฝนมาด้วย ทำให้ฝนตกติดต่อกันมาหลายวัน เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของ ประเทศ
จริง จริงแล้วใบอ้อย ณ อู่ทอง ได้ข่าวเกี่ยวกับเจ้าพายุชุดนี้มาห้า หก วันแล้ว จากการติดตามข่าวทางวิทยุ และทางโทรทัศน์ และเครือข่ายอินเตอร์เนต รวมทั้งข่าวสารของสมาคมชาวไร่อ้อย

ปีนี้เป็นปีที่ใบอ้อยได้ทำการติดตามการศึกษาของกลุ่มวิจัยอย่างใกล้ ชิด กลุ่มทำงานพัฒนาวิธีการประมาณผลผลิตอ้อย โดยใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย ด้วยหลักการที่ว่าการประมาณ ผลผลิตอ้อยเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ องค์ความรู้ และความชำนาญหลาย หลายเรื่องเข้าช่วยกัน

“คงเป็นเพราะฝนตกดี ละมั๊ง” ลุงมา เพื่อนชาวไร่อ้อยข้างบ้านออกความเห็น

“ปีนี้ อ้อยของข้าน่าจะได้มากกว่าปีกลาย เพราะว่าฝนในเขตของข้า ตกดี ตั้งแต่ช่วงที่อ้อยตั้งลำแล้ว ข้าว่าฝนนี่แหล่ะเป็นเจ้าตัวปัญหา” ลุงมาเน้น

“แต่ของข้าไม่เห็นต้องใส่ ปุ๋ย เป๋ย อะไร นี่หน่า ยังได้เท่า เท่ากับของป้ามี ของข้าคงโชคดีที่มีดินดี และพ่อข้ายังไม่เคยเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวสักปี” น้าเด่น เพื่อนชาวไร่อ้อยรุ่นกลางคนออกความเห็น

“พันธุ์อ้อยก็มีส่วนเหมือนนะ” ป้ามี เพื่อนบ้านอีกคนออกความเห็นต่างจากลุงมา

“เขตของป้าปีที่แล้วก็ฝนไม่ค่อยดีเหมือนของลุงมา แต่ว่าพันธุ์อ้อยดูเหมือนจะทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ของลุงมา” ป้ามีให้ข้อมูลเสริม

เกล็ดน้ำตาล ลูกคนเล็กของใบอ้อย สะกิดถามใบอ้อยผู้เป็นแม่ว่า “แม่ แม่ แล้วทำไงดีล่ะครับ เอาไงดี” หาทางจะเข้าร่วมวงสนทนา

ใบอ้อยก็เห็นด้วยกับเหตุผลของผู้อาวุโสประจำสังคมขนาดเล็กที่ช่วย ออกความเห็นตามประสบการณ์จริง ป้ามีและลุงมาให้เหตุผลที่เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าตัวปัญหา คือผลผลิตอ้อยในแต่ละปี แต่ละพื้นที่เป็นเท่าไร ใบอ้อยทราบว่าวงการวิจัยด้านการเกษตรของไทยก็มีความก้าวหน้า ไม่แพ้ประเทศอื่น มีระเบียบและมีวิธีการวิจัย ที่เชื่อถือได้และได้ผลงานที่แก้ปัญหาหลาย หลายอย่างได้ในระดับที่ประทับใจ

วงการวิจัยในบ้านเราก็แบ่งงานกับวิจัย มีผู้ชำนาญแต่ละด้าน เช่น ด้านการปรับปรุงพันธุ์ ด้านสรีระวิทยาของพืช ด้านการใส่ปุ๋ยเคมี ด้านการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ด้านสารสนเทศทางอ้อย ด้านอื่น อื่น อีกมาก แต่ละด้านก็แยกกันทำวิจัย และแต่ละปี ก็นำผลงานของตนเองมาเสนอให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ และก็กลับไปทำงานวิจัยของตนเองต่อหลังการประชุมสัมมนาเป็น อย่างนี้มาช้านาน ได้ผลงานวิจัยที่ชาวบ้านอย่าง หมู่บ้านอ้อยใหม่สามารถนำไปใช้งาน ได้หลายอย่าง
และใบอ้อยคิดว่านักวิชาการบ้านเราแบ่งงานกันทำค่อนข้างดี ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน แต่อาจจะต้องปรับปรุงแก้ไขวิธีคิด และวิธีการทำงานเมื่อนำผลงานวิจัย มาช่วยกันแก้ปัญหาของชาวไร่และชาวโรงงาน ใบอ้อยคิดว่าการแบ่งงานกันทำเหมือนกันเวลาเรามีปัญหาเกี่ยวกับกาง เกงคับ ลองดูว่า เรามีกางเกงอยู่ตัวหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่งใส่กางเกงเจ้ากรรมไม่ได้เพราะกางเกงคับ แต่เรายังอยากใส่อยู่ ถ้าเราแก้ปัญหาด้วยวิธีการวิจัยทางเกษตร ก็คือ ต้องแบ่งกางเกงออกเป็นส่วน ส่วน พิจารณาแต่ละส่วน ปรับปรุงแก้ไข และนำมาเย็บรวมกัน ลองใส่ดูว่าเรียบร้อยหรือไม่ แต่เราสามารถจะคาดเดาได้ว่าหากใช้วิธีการดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหากางเกงคับ เราอาจจะไม่ได้กางเกงที่ใช้งานได้แน่นอน แต่ถ้านำกางเกงคับไปให้ช่างกางเกงช่วยดูให้เขาอาจจะวัดสัดส่วน ของเราและเทียบกับขนาดของกางเกง (เพื่อหาข้อมูล) แล้วจึงลงมือแก้ปัญหาที่จุด

อีกตัวอย่างหนึ่งของการแก้ไขปัญหาทางเกษตรของการผลิตอ้อย คือ การปรุงอาหาร แต่ละส่วนก็พยายามทำส่วนของตนเองให้ดีที่สุด เช่น ตัวอย่างของการทำก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ น้ำซุปก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นหมู เป็นต้น คนที่มีหน้าที่ทำเส้นก๋วยเตี๋ยวก็ทำอย่างดีที่สุด คนปรุงรสของน้ำซุปก็ทำสุดฝีมือ รวมไปถึงคนทำลูกชิ้นหมูก็เช่นกัน แต่เมื่อมาใส่รวมกันแล้วไม่ได้ดูถึงปริมาณของส่วนผสมแต่ละส่วน และเครื่องปรุงต่าง ต่างให้เหมาะสมแล้วจะมีผลทำให้ก๋วยเตี๋ยวชามนั้น มีรสชาติที่น่าผิดหวังมากเลย

เจ้าตัวปัญหาในเรื่องนี้ คือ ถ้าแยกส่วนปัญหาการประมาณผลผลิตอ้อยเพื่อความสะดวกในการทำ วิจัย เพื่อสร้างความเข้าใจของแต่ละสาขาวิชา และเพื่อความสะดวกในการหาทางแก้ปัญหา น่าจะแยกได้สองส่วน คือส่วนของผลผลิตอ้อยของแต่ละเขต และขนาดพื้นที่ของแปลงอ้อยในแต่ละเขต ปัญหาต่อมาคือ จะเชื่อมโยงผลงานแต่ละส่วนอย่างไร ให้ทราบว่าแต่ละส่วน เมื่อรวมกันแล้วมีผลต่อการให้ผลผลิตอ้อยอย่างไร

“เดี๋ยว เดี๋ยวก่อน เอาทีละเรื่องจะดีกว่ามั๊ง” ลุงมาส่งเสียงหยุดเรื่องไว้ก่อนที่จะลงลึกเกินไป

“แล้วผลผลิตน้ำหนักสดสดหรือลำแห้งของอ้อยขึ้นอยู่กับอะไรล่ะ” ลุงมาเริ่มถามขึ้นมาในวงสนทนาชาวไร่อ้อย ของหมู่บ้านอ้อยใหม่

“ถ้าจะดูเฉพาะผลผลิตของต้นอ้อยแต่ละต้น แต่ละกอ ข้าว่าน้ำหนักสด หรือ ลำแห้งของอ้อยน่าจะขึ้นอยู่กับอายุอ้อย ปลูกได้นานกี่เดือน มีน้ำท่าน้ำฝนอุดมสมบูรณ์เพียงใด ใช้พันธุ์อะไร ให้จำนวนลำต่อกอมากไหม และเป็นพันธุ์ที่ให้น้ำตาลดีไหม ปลูกในดินอะไร ใส่ปุ๋ยให้อ้อยเพียงพอหรือเปล่า ทำหญ้าทำรุ่นได้ทันเวลาหรือเปล่า มีโรคมีแมลงศัตรูรบกวนหรือเปล่า” น้าใจ เพื่อนบ้านทางท้ายหมู่บ้านอ้อยใหม่ เป็นคนรุ่นใหม่ ออกความเห็นบ้าง
 

“ยัง ยังไม่พอนะ ต้องดูว่าหลายอย่างนะ เช่นว่า มีแสงแดดแรงพอไหม อุณหภูมิอากาศสูงกี่องศา หรือ ต่ำนะ ต่ำถึงกี่องศา และต้องดูตลอดฤดูปลูกด้วยนะ” น้าใจ เสริมขึ้นมาด้วยน้ำเสียงอย่างเรียบ เรียบ ทุกคนตั้งใจฟังว่าแสงแดดจะไปเกี่ยวกะผลผลิตอ้อยได้อย่างไรกัน ...

ลุงมาเลยบอกกับน้าใจว่า “เอาอย่างนี้ดีกว่า เองลองเริ่มตั้งแต่ตอนที่ข้าวางลำอ้อยลงในร่องปลูกเลยดีกว่า จะได้เข้าใจจาก จุดเดียวกัน”

“ผลผลิตอ้อยที่ลุงมา ลุงใจ ป้ามี และพี่ใบอ้อย หรือที่แปลงของฉันมันขึ้นกับเหตุผลและปัจจัยหลายอย่าง และปัจจัยแต่ละอย่างก็มีผลแบบสะสมต่อผลผลิตอ้อย ที่แน่ แน่ น่าจะแบ่งออกได้เป็น สี่ปัจจัยหลัก คือ
ปัจจัยเกี่ยวกับฟ้าอากาศ ก็มีแสงแดด มีอุณหภูมิอากาศ มีเรื่องเกี่ยวกับน้ำฝนและการกระจายตัวของมันในแต่ปีแต่ละพื้นที่
ปัจจัยเกี่ยวกับดิน ก็มีเรื่องเนื้อดิน เกี่ยวกับความสามารถในการอุ้มน้ำของแต่ละชุดดิน เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุด
ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะทางกรรมพันธุ์ของอ้อยแต่ละพันธุ์ บางพันธุ์ก็แตกกอดี ให้ลำมาก แต่ไม่หวานเลย บางพันธุ์ลำเล็กไม่หวานแต่มีเยื่อใยสูง
ปัจจัยเกี่ยวกับโรค-แมลงศัตรูอ้อยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผลผลิตอ้อยของพวกเรา
และสุดท้าย ฉันว่า สำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่น คือ การจัดการของพวกเรา แต่ละคนก็ต่างกันไป บางคนปลูกห่าง บางคนปลูกถี่ บางคนไม่ทำหญ้าเลย บางคนก็สูบน้ำให้ไม่ได้ และบางคนก็ไม่ได้บำรุงรักษาดินเลย เล่นปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตท่าเดียว

อย่างแปลงของฉันที่เมื่อปีกลายได้ผลผลิตอ้อยน้อยหน่อยเพราะว่า ไม่ได้ทำหญ้าตั้งแต่ต้นฤดู พอจะมาทำตอนกลางฤดูก็ไม่ทันแล้ว อ้อยโตไม่สูงหญ้า หญ้าสูงท่วมอ้อย เลยทำให้ได้ผลน้อยกว่าของลุงใจ ปีนี้ข้าจะหาทางเล่นกับเจ้าหญ้าและก็วัชพืชให้อยู่มือ เลย”

น้าใจได้โอกาส ร่ายยาวเรื่องของเจ้าตัวปัญหา

 ====================>>>

() | () | () | (๔) | () | ()

หมายเลขบันทึก: 140436เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2007 01:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ อาจารย์
  • เหมือนหนังเลยครับ พอเริ่มจะสนุกก็หมดเวลาเสียแล้ว
  • จะติดตามตอนต่อไปครับ
  • สวัสดี พี่แดง
  • ขอบคุณที่ติดตามอ่าน
  • กำลังมาเป็นระยะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท