เมื่อห้องสมุดเข้าสู่ยุค 2000


ใจความที่จับได้จากการฟังบรรยายเรื่อง Comuter science & Internet in Library Science โดยคุณ Cochrane, Lynn Scott

เมื่อผ่านปี 2000 เข้ามา การดำเนินงานของห้องสมุดถือเป็นยุค Transformation โดยนับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา หาแบ่งยุคสมัยจากปี 1960-ปัจจุบันจะแบ่งยุคของระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดออกเป็น 3 บุค คือ ปี 1960s-1980s นับเป็นยุค Automation ปี 1980s-1990s ถือเป็นยุค Innovation และยุคปัจจุบันคือยุคTransformation

ยุคนี้เป็นยุคของอินเทอร์เน็ต ที่ห้องสมุดต้องจัดการให้เกิดความเสมอภาคในการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อในการค้นคว้าให้กับผู้ใช้บริการทุกเพศทุกวัย เป็นข้อสังเกตแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะแพร่หลายเพียงใด แต่ยังมีบางคน บางชุมชน ที่ยังขาดโอกาสในการใช้

นอกจากนี้ห้องสมุดต้องทำหน้าที่ในการกลั่นกรองข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือสอนให้ผู้ใช้รู้จักพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีอยู่หลากหลาย เพื่อการนำไปใช้ที่ถูกต้อง ตรงกับความต้องการ และเกิดประสิทธิภาพ

อีก 1 บทบาทที่บรรณารักษ์ต้องทำ คือมีหน้าที่ในการประเมินแหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตที่ดี และแนะนำให้กับผู้ใช้ได้ เพราะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตหลายแห่งบริการฟรี ที่ต้องตระหนักคือ ไม่มีของดี ราคาถูก  และสิ่งที่ต้องวางแผนคือ เมื่อบอกรับทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เมื่อเลิกบอกรับจะสามารถใช้งานข้อมูลที่เป็นดิจิทัลเหล่านั้นได้อย่างไร

นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาการใช้งบประมาณในการซื้อทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีราคาแพง ว่าสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการหรือเปล่า ดังนั้นอีกเรื่องที่ต้องทำคือ การวิเคราะห์ผู้ใช้บริการ

หมายเลขบันทึก: 81649เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทั้งนี้บรรณารักษ์เองก็ต้องรู้วิธีสืบค้น

และกลั่นกรองทรัพยากรที่ให้ความรู้

และต้องอาศัยความชำนาญมากๆ

เห็นด้วยค่ะ แต่ตอนนี้สำหรับตัวเองรู้สึกแย่จัง พอดีรับผิดชอบงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิต ในด้านการสืบค้นข้อมูลก็ด้อยลง...คิดว่ายุคต่อไปอาจถูก layoff แน่ๆค่ะ

เป็นทรรศนะที่จะจริงครับ

29 มิย.2550

   ห้องสมุดปัจจุบันในปี คศ.2007 กำลังเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงท

ทรัพยากรสารสนเทศอย่างช้าๆ แต่บางชนิดก้พัฒนาไปรวดเร็วมาก

ทำให้ ณ ปัจจุบัน ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด จะมีอยู่ 3 

ลักษณะ หรือประเภทเท่านั้น  คือ 

1.textbooks

(เป็นการบันทึกบนกระดาษแบบธรรมดาทั่วไป)  

2. Digital Texts 

(เป็นการบันทึก texts ลงบนวัสดุ digital ได้แก่

CD)   

3. Online or web link

     ส่วนทรัพยากรสารสนเทศชนิดอื่นๆ กำลังล้มหาย/ตายไปจาก ระบบบริการสืบค้นของห้องสมุด จะเหลือแต่

ซากโบราณวัตถุเก่าๆ ไม่มีวัสดุใช้ ดังที่เราพบเห็นในทุกวันนี้

จะหาซื้อ VDO Tapes, cassett tapes, slides ฯลฯ ไม่มี

ใครผลิตมาขายเลย และ ทุกวันนี้ฝ่ายบริการมัลติมีเดีย ก็กำลังไม่มีงานทำ

เพื่อผลิต หรือ จัดหาวัสดุดังกล่าวมานี้  ห้องสมุดจะเหลือทรัพยากร 3 อย่างเท่านั้น และในอนาคตอันใกล้ๆนี้ หนังสือจาก กระดาษ จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ digital resources กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับจากการจัดหา และการแปลงรูปแบบ สิ่งที่จะตามมาในอนาคต ก็คือ ฐานข้อมูลอ้างอิง ที่กำลังพัฒนาเป็นระบบ online ที่ผู้ใช้สืบค้น สามารถสืบค้นผ่านระบบโทรศัพท์ และเมล์นานาชนิดได้ ฝ่ายบริการจัดหาวัสดุอ้างอิงก็กำลังมีงานทำน้อยลง

ถ้าสารานุกรม และพจนานุกรม สามารถสืบค้นทาง online ได้

ทำไมจะเป็นไปไม่ได้ ส่งข้อมูลจากดาวพระเสาร์ กลับมาโลกยังทำได้

แค่ส่งข้อมูลบนผิวโลกแค่นี้ทำไมจะทำไม่ได้

      อนาคตอีก 10-15 ปี ระบบห้องสมุดจะมีขนาดเล็กลงๆ เพราะใ้ช้พื้นที่น้อยลงในการ

จัดเก็บวัสดุสารสนเทศ

     ปัญหาคือ บรรณารักษ์ จะทำงานกันอย่างไร และจะต้องเรียน

รู้ระบบการทำงานบริการอย่างไรต่างหาก OPAC เป็นเครื่องมือที่

มีประสิทธิภาพที่สุด ในกระบวนการตอนนั้น ณ ขระนี้เราจะต้อง เตรียม

การกันอย่างไร หลักสูตร ความรู้รอบ และ vision เป็นปัจจัย ที่สำคัญยิ่ง

บรรณารักษ์ จะต้องกลายพันธ์ุ์ เป็นคนพันธุ์ใหม่ ที่ใช้ technology เป็น

เครื่องมือ ที่ทรงอำนาจในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ 

อย่างมีประสิทธิภาพ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท