คณิตศาสตร์ว่าด้วย การปลูกกล้วย


สวัสดีครับทุกท่าน

            นานแล้วครับ ว่าจะเขียนบทความเรื่องนี้ แต่ไม่ได้เขียนสักทีครับ วันนี้เอาแบบคณิตศาสตร์สำหรับการปลูกกล้วยกันเลยครับ

มาดูภาพ(ด้านล่าง)ต้นกล้วยก่อนนะครับ ดูเป็นไร่กล้วยก่อนนะครับ

(From http://img2.travelblog.org/Photos/7169/48538/f/265115-Banana-Fields-Forever-1.jpg)

(From http://delivery.viewimages.com/xv/71451922.jpg?v=1&c=ViewImages&k=2&d=17A4AD9FDB9CF193CC300C081D9F4700E789B300CA8FDA5E7C8B5E5F0428C2754E9C89C783688B46)

จากภาพด้านบนนี้ คุณลุงบอกว่า รีบโตเข้านะลูก แล้วคุณลุงก็คิดต่อว่า กล้วยต้นนี้ จะเติบโตและแทงช่อเครือไปทางทิศไหนหนอ เดาได้ไหมครับ

(From http://www.hort.purdue.edu/ext/senior/fruits/images/large/bananaplant.jpg)

แล้วภาพด้านบน พวกเธอเหล่านี้หล่ะครับ จะชี้เครือไปทางไหนกันครับ

(From http://www.davidmacd.com/images/barbados_st_lucia/100_4807_banana_tree.jpg)

แล้วจากภาพด้านบน ต้นนี้ที่ชี้เครือมาทางนี้ ในอดีตก่อนมาอยู่ตรงนี้ เธอหันหัวท้ายไปทางทิศไหนจากกอเดิมของเธอ ครับ 

(From http://www.hort.cornell.edu/4hplants/Fruits/Images/Banana%207.JPG)

แล้วภาพด้านบนเธอต้นเล็กนี่หล่ะครับ โตขึ้นเธอจะหันเครือไปทางไหนหนอ....ธรรมชาตินี่ออกแบบและซ่อนอะไรไว้ให้เราคิดเพียบเลยนะครับ สุดยอดจริงๆ ครับ  คุณพอจะเดากันได้ไหมครับ ว่าเครือของตัวน้อยจะชี้เครือไปทางใดกันแน่ 

มาดูต้นกล้วยกันครับ ว่ามันจะมีรูปแบบอย่างไรบ้างครับ แบบมีเครือและเห็นภาพทั้งกอ (ภาพด้านล่าง)ครับ

Image:Luxor, Banana Island, Banana Tree, Egypt, Oct 2004.jpg

(From http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e4/Luxor,_Banana_Island,_Banana_Tree,_Egypt,_Oct_2004.jpg/410px-Luxor,_Banana_Island,_Banana_Tree,_Egypt,_Oct_2004.jpg)

ภาพด้านบน กอนี้ยังไม่โตมากนักครับ มีสองต้นใหญ่ และมีต้นเล็กๆ ที่โคนต้นอีกสองสามต้นครับ  ต้นใหญ่นั่น คงเป็นต้นแรกที่ถูกเอามาปลูก แล้วต้นที่สองรองลงมา คงเป็นหน่อใหม่ที่แตกจากต้นใหญ่นั่นเอง ส่วนต้นกล้าน้อยๆ นั่นก็เช่นเดียวกันครับ

พอจะเห็นใช่ไหมครับ ว่าเธอหันเครือไปทางนั้น แสดงว่าอดีตของเธอก็มีการจัดเรียงตัวอยู่แบบนี้เช่นกันครับ เพียงแต่เมื่อก่อนเธอจะหันหน้าไปทางไหนแค่นั้นเอง

จากภาพตัวอย่างทั้งหมดแล้วนั้น เรามามองกอกล้วยแบบด้านบนดูบ้างครับ ผมไม่มีภาพตอนนั่งเฮลิคอปเตอร์มาให้ดูนะครับ แต่จำลองเอาด้วยการวาดแบบเร่งรีบห้านาทีด้วยโปรแกรม mspaint แบบเด็กๆ นะครับ

กลุ่มด้านซ้ายมือ มีวงกลมอยู่ 8 วง นะครับ แทน ต้นกล้วย แล้วรวมกันเป็นกอกล้วยนะครับ (มองให้เป็นกอกล้วยนะครับ ฮิๆๆ) ต่อมา เจ้ากากบาทสีแดงๆ ในแต่ละต้นกล้วยนั่นคืออะไรหนอ

กากบาทสีแดงนั่นแทน ทิศทางของการแตกเครือของต้นกล้วยแต่ละต้นนะครับ เพราะต้นกล้วยจะแทงเครือออกมาจากต้นตัวเอง ในทิศทางด้านนอกของกอ เสมอ ครับ อาจจะเพี้ยนๆ จากตำแหน่งไปบ้างในของจริง แต่ไม่คลาดเคลื่อนมากครับ เพราะยังคงแนวทางนี้เสมอครับ

ต่อมา ข้อสำคัญคือ การปลูกกล้วย เราขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ใช่ไหมครับ  แล้วหนึ่งต้นของกล้วย จะมีเครือเพียงเครือเดียวเท่านั้นนะครับ แทงเครือออกมาแล้วต่อมาจะอยู่ที่เจ้าของแล้วหล่ะครับ ว่าจะเอาลำต้นไปทำอะไรกันบ้าง

คำถามของเรา คือว่า หากเราต้องการจะปลูกต้นกล้วย ชุดใหม่ กอละต้น แล้วเราบังคับให้ต้นกล้วย แทงเครือแรกชี้ไปทางทิศใดทิศหนึ่ง เราจะทำอย่างไร วางแผนการปลูกอย่างไร

สมมุติจากภาพแนวเส้นสีแดง คือแนวของการปลูกกล้วย เราต้องการให้กล้วยยื่นเครือมาทางแนวเส้นสีแดง

วิธีการง่ายๆ มีอยู่ 2 วิธี คือ

  1. ตอนขุดหลุมแล้วหย่อนกล้วยปลูกลงหลุมก็ให้ด้านเครื่องหมายสีแดงชี้ไปทางแนวเส้นสีแดง สมมุติว่าเป็นทิศเหนือก็ได้ครับ โดยทำการมาร์กสีเอาไว้ที่ลำต้นก่อนจะขุดแยกหน่อจาก กอแม่นะครับ

  2. หากต้องการให้ซับซ้อนมากขึ้น ก็จำทิศทางของแนวของต้นกล้วยต้นนั้นก่อนขุดว่าทำมุมกับทิศเหนืออย่างไร แล้วทำการหมุนก่อนจะปลูกครับ แต่อันนี้ซับซ้อนหน่อยครับ สู้แบบง่ายๆ แบบชาวบ้าน สู้ข้อ 1 ไม่ได้ครับ ง่ายที่สุดครับ

คุณมองเห็นคณิตศาสตร์สำหรับการปลูกกล้วยแล้วใช่ไหมครับ

ต้นกล้วยเอง...เป็นพืชที่สุดยอดในการตรึงน้ำมาเก็บไว้ในลำต้นนะครับ ต่อให้คุณปลูกในพื้นที่ใดๆ ก็ตามขอให้เค้างอกขึ้นมาให้ได้ก่อน เรื่องการตรึงน้ำ คงไม่ใช่ปัญหาครับ... จากยอดภูมิปัญญาตรงนี้ คุณสามารถเอาไปต่อยอดได้อีกมากมายครับ 

ยังมีอะไรอีกหลายๆ อย่างเกี่ยวกับต้นกล้วย ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ นะครับ ไว้จะเอามาเล่ากันต่อนะครับ

 ขอบคุณมากๆ นะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

 ปล. กระบวนการในการใช้วิธีการนี้ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านนะครับ แต่ผมหาต้นตอที่มาไม่ได้ครับ หากมีใครทราบรบกวนแจ้งด้วยนะครับ โดยผมเอาแนวคิดนั้นมาเขียนในแบบเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์นะครับ ผมไม่ได้คิดในเรื่องนี้เป็นคนแรกนะครับ

หมายเลขบันทึก: 100809เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
อ่านแบบงงอยู่นาน จนรู้ว่า สุดยอด
P

สวัสดีครับคุณตาหยู

  • ขอโทษด้วยครับ อาจจะเขียนไม่ค่อยละเอียดหรือจัดเรียงไม่ค่อยดีนัก พร้อมมีคำผิดๆ อยู่ด้วยครับ
  • ประโยชน์ที่มีมากกว่านี้ ก็คือ การปลูกต้นกล้วยบนคันนา โดยใช้วิธีนี้เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยเอนลงไปในนาข้าวตอนที่มีเครือนะครับ
  • โดยเราออกวิธีการหมุนเพื่อให้แนวเครือชี้ไปตามแนวเดียวของคันนานะครับ
  • และประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกครับ

ผมไปค้นเจอ แนวทางอันเดียวกันนะครับ ที่นี่นะครับ กล่าวไว้ว่า

สำหรับเทคนิคที่จะทำให้กล้วยตกเครือในทิศทางที่ต้องการไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เสริมพิเศษแต่อย่างใด เพียงแต่ใช้ความสังเกตนิดหน่อย คือให้พิจารณาหน่อกล้วยที่จะปลูกว่าหน่อกล้วยที่มีอยู่นั้น ส่วนที่เป็นเหง้าจะมีรอยแผลที่ถูกตัดแยกมาจากเหง้าของต้นแม่ ถ้าปลูกหน่อนั้นลงไป เมื่อกล้วยโตขึ้นและตกเครือ เครือจะอยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับรอยแผลนั้นเสมอ ดังนั้นถ้าต้องการให้เครือของกล้วยหันไปในทิศทางใด ก็ต้องสังเกตและปลูกให้รอยแผลอยู่คนละด้านกับทิศที่เราต้องการให้กล้วยตกเครือ 

จากบทความ  เทคนิคการปลูกกล้วย เด็กเกษตร
สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งตะโกhttp://gotoknow.org/blog/aggienan/47397

สวัสดีครับ

มาแนะนำเทคนิคการปลูกกล้วยแบบ ไฮ​​โดร​​โพ​นิกส์แบบพอเพียง(เทคโนโลยีชาวบ้าน) จากบทความของคุณโสทร นะครับ น่าสนใจมากๆ นะครับ หลังจากได้มีการตัดเครือกล้วยแล้ว ก็ไม่ต้องโค่นต้นกล้วยทิ้ง แต่ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ต่อ ด้วยการเลียนแบบกาฝาก

ผมขอเรียกวิธีนี้ว่า ต้นกล้วยสมรม  ฮ่าๆๆๆๆ

ขอบคุณมากครับ

หวัดดีคะ
  • เข้ามาอ่านอีกรอบ  แล้วก้อได้้ความรู้เรื่องการปลูกกล้วยกลับไปอีกรอบ ขอบคุณนะคะ
  • แต่แย่จัง ยังหาคณิตศาสตร์ไม่เจอเลยคะ พี่เม้งแอบฝังคณิตศาสตร์ไว้ในหลุมกล้วยอ่ะดิ อิๆๆๆ รู้นะ ว่าแล้วก้อไปเอาจอบมาขุดดูดีกว่า หุๆๆๆๆ

สวัสดีครับคุณเม้ง

  • ขอชมว่าเยี่ยมในเรื่องความละเอียดอ่อนของการสังเกตครับ
  • ถ้าถ่ายทอดข้อนี้ให้เด็ก ๆ ได้ ประเทศจะมีคนรุ่นใหม่เก่ง ๆ เกิดขึ้นมากมายแน่ครับ
ไม่มีรูป
ลี

สวัสดีครับน้องลี

  • อิๆๆ ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
  • คณิตศาสตร์ที่ว่านั่น ก็อยู่ในการพรรณาให้ฟังนั่นหล่ะครับ
  • เราต้องแปลงสิ่งที่พรรณา นั้นให้เป็นการใช้ในทางสัญลักษณ์ให้ได้ หากจะเอาไปทำต่อยอดนะครับ
  • ลองคิดดูครับ พี่ว่าน้องลีคงมองออกอยู่แล้วครับ ว่าตรงไหนคือคณิตศาสตร์ครับ
  • แล้วมาเล่ากันต่อนะครับ ว่าเจออะไรบ้าง
P

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • สบายดีไหมครับ
  • ต้องขอมอบความละเอียดอ่อนให้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้สังเกตและคลุกคลีกับการปลูกกล้วย อันนี้ครับ
  • ผมว่าโรงเรียน ควรจะมีบรรยากาศให้สัมผัสสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะระดับไหนครับ สร้างภูมิปัญญาให้เกิด เด็กช่างสังเกตแล้วเอามาเป็นข้อสงสัยในการหาคำอธิบาย เพราะธรรมชาติจะถูกฝังอะไรบางอย่างเอาไว้แล้วในตัวของสิ่งนั้นใช่ไหมครับ อยู่ที่ว่าเราเห็นหรือเปล่า
  • หากท่านอาจารย์คิดว่าเป็นประโยชน์ก็นำไปช่วยกันเผยแพร่ สร้างมุมมองให้เด็กกันนะครับ อาจจะได้อะไร
  • ผมเคยสอนวิชา โมเดลการจำลองทางคณิตศาสตร์ ผมบอกเด็กว่า หากเราเดินกลับหอพัก แล้วฝนตก เราจะคำนวณได้อย่างไร ว่าเราเปียกฝนเท่าไหร่ เด็กเค้าตะลึง เพราะหากจะเปลี่ยนเป็นคณิตศาสตร์ มันต้องค้นหา ดูว่าฝนทำมุมอย่างไร ตกแรงไหม พื้นที่ผิวของร่างกาย อิๆๆๆ
  • เราต้องสะกิดมุมมองให้เด็ก ต่อวงจรให้ได้ครับ แล้วเราจะได้อะไรตอบรับจากเด็กๆ สนุกครับ
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆ นะครับ

Guten Mogen K.Meng;

โมเดลการจำลองทางคณิตศาสตร์ ผมบอกเด็กว่า หากเราเดินกลับหอพัก แล้วฝนตก เราจะคำนวณได้อย่างไร ว่าเราเปียกฝนเท่าไหร่ เด็กเค้าตะลึง เพราะหากจะเปลี่ยนเป็นคณิตศาสตร์ มันต้องค้นหา ดูว่าฝนทำมุมอย่างไร ตกแรงไหม พื้นที่ผิวของร่างกาย อิๆๆๆ

wow! such an amazing idea

ขนาดนั้นเลยรึคุณเม้ง .... ทำมุม พื้นที่ผิว ปริมาตร ปรึซึม ...  แบบตอนเรียน ตกคณิตฯ ทำไงดีล่ะคะ

....  นึกถึงตอนเด็ก ซ้อนท้ายรถเครื่องป๋าไปโรงเรียนขณะฝนตก  แต่ปูไม่เปียกฝนเลยล่ะ ...  ไม่ได้ใช้หลักคณิต ด้วยนะ .. ไม่ต้องใส่เสื้อกันฝน  ไม่มีร่ม ...

คุณเม้งลองเดาดูสิคะ ว่าทำไม ....  ?

 

P
poo  

กูทเท่นทาก คุณปู

 ....  นึกถึงตอนเด็ก ซ้อนท้ายรถเครื่องป๋าไปโรงเรียนขณะฝนตก  แต่ปูไม่เปียกฝนเลยล่ะ ...  ไม่ได้ใช้หลักคณิต ด้วยนะ .. ไม่ต้องใส่เสื้อกันฝน  ไม่มีร่ม ...

คุณเม้งลองเดาดูสิคะ ว่าทำไม ....  ?

คำตอบแบบคร่าวๆ นะครับ (กรณีคุณปูไม่ขาดเรียนครับ)

  • ด้วยเทวดาสงสารเมตตาเด็กตัวน้อยจะเปียกปอน เลยบันดาลให้ลมพัดไปในทางจากหน้ารถไปหลังรถ
  • นั่นคือเกี่ยวกับมุมการตกของฝนด้วยครับใช่หรือเปล่าครับ
  • กำลังคิดว่าหากฝนตกไปในทิศทางด้านหลังแบบตามก้นรถของป๋า คุณปูจะเปียกไหมหนอ
  • คือคณิตศาสตร์มันฝังอยู่ภายในนะครับ เพียงแต่เราไม่ได้รู้สึกถึงนะครับ 
  • อิๆๆๆ สนุกๆ ครับผม

สนุกดีค่ะ ได้ความรู้ด้วย ไม่น่าเชื่อว่า ธรรมชาติทีอะไรที่น่าสนุก+แปลกอย่างนี้

ช่างสังเกตุดีจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท