ไป peer assist ถึงเชียงใหม่ (2)


ด้วยภารกิจอันยุ่งเหยิง (ข้อแก้ตัวที่ใช้ได้เสมอ)  ก็เลยได้แต่เตรียมวิธีการสัมมนาในสมอง  (ไม่ได้บอกทางโน้นว่าโปรแกรมเราจะเป็นอย่างไร)  แต่คิดคร่าวๆ ว่า..

  • บ่ายวันเสาร์ (ครึ่งแรก) – เรียนรู้แนวคิด KM จากวิดีโอ “ขับเคลื่อน KM ประเทศไทย” ของสคส.
  • บ่ายวันเสาร์ (ครึ่งหลัง) – ฝึกทักษะ story telling  การบันทึก และ การสกัดแก่นความรู้ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม
  • เช้าวันอาทิตย์ – เล่าประสบการณ์ Patho OTOP แล้วให้เข้ากลุ่มคิดโครงการพัฒนางาน

แต่พอไปถึง ที่ประชุม เกือบ 10 โมงครึ่งกว่าๆ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่เกิน 40 คน  เป็นช่วงท้ายของการบรรยายโดย อ.เลิศลักขณา  ท่านเป็นหญิงเก่งแนวหน้าคนหนึ่งของวงการพยาธิวิทยา เพราะได้ ศ. เร็วมาก  เป็นคนสวย ปราดเปรียว คล่องแคล่ว  style การพูดเท่าที่ได้สัมผัส  เป็นวิทยากรมืออาชีพได้สบายๆ เลย

พอ 11 โมง ก็ให้ตัวแทนห้องต่างๆ มาเสนอ โครงการพัฒนางาน  อ้าว!   เราก็วางแผนไว้แล้วนี่ ว่าจะมีการเข้ากลุ่มเพื่อคิดโครงการพัฒนางานพรุ่งนี้  เอ.. แล้วพรุ่งนี้จะทำอะไรดีหละ!!

แต่พอได้ฟังเจ้าหน้าที่นำเสนอ เป็นการเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาสั้นๆ ยังไม่ค่อยเป็นระบบ บางห้องก็ไม่ได้เตรียมมา  ถามไถ่ไปมา ก็ได้ความว่า เพิ่งมีการบอกให้เตรียมนำเสนอเพียง 2 วันก่อนการสัมมนา ก็เลยโล่งอก  โปรแกรมพรุ่งนี้ ที่จะทำแบบ OTOP คิดว่ายังมีประโยชน์อยู่ เพราะจะช่วยแนะแนวทางวิธีคิดแก้ปัญหางานที่เป็นระบบและวัดผลได้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น


หลังทานอาหารเที่ยง  ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาที่เราต้องรับผิดชอบเต็มที่ ทำตามแผนที่วางไว้ คือ เปิดวิดีโอ KM  แต่มีเงื่อนไข มีโจทย์ให้ทำเล็กน้อย ให้ฟังอย่างตั้งใจ หลังฟังให้จับกลุ่ม discuss กันว่าได้เรียนรู้แนวคิดอะไรบ้าง แล้วก็ออกมา share กัน  และเนื่องจากวีดิทัศน์มีความยางถึง 30 นาที คิดว่ายาวเกินกว่าคนหนึ่งจะจับแก่นอะไรได้ครบ  จึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม  แต่ละกลุ่มให้ตั้งใจดูในเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้มากที่สุด โดยแบ่งเรื่องเป็น 3 ตอน คือ มูลนิธิข้าวขวัญ  เรื่องของปูนแก่งคอย และ เรื่องของกรมส่งเสริมการเกษตร

ก็พบว่า วิธีนี้ ดูเหมือนจะดีกว่า เปิดให้ดูเฉยๆ แล้วก็ถามตามหลังว่า มีความรู้สึกอย่างไร   ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากกลุ่มต่างๆ สามารถจับแก่นสำคัญของการจัดการความรู้ได้อย่างดี และครบถ้วน 

เรื่องหนึ่งที่กลุ่มเห็นตรงกัน คือการร่วมกันทำงานเป็นทีม ทำเพื่อส่วนรวม

อ.ธานินทร์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าภาควิชานิติเวช  แขกรับเชิญของการสัมมนา ถามว่า หากเจ้าหน้าที่ในหน่วยมีความขัดแย้งกันมาก จะทำให้เขาร่วมกันทำงานเป็นทีมได้อย่างไร 

อาจต้องสร้างเงื่อนไขบางอย่าง ให้เกิดการทำงานเป็นทีม ซึ่งเตรียมมาเล่าให้อยู่แล้วในวันพรุ่งนี้”   เป็นคำตอบที่ให้ไป  ก่อนที่จะพัก break อาหารว่าง 

หลังกลับเข้ามา ประเมินจากอารมณ์ของผู้เข้าร่วมสัมมนาที่รู้สึกถึงวิถีการทำงานอย่างมีความสุข ที่ทุกคนมีคุณค่า และ ทำร่วมกันเป็นทีมจากเรื่องราวในวิดีโอ  และ จากคำถามของ อาจารย์ธานินทร์ ก็เลย คิดว่า น่าจะเล่าประสบการณ์ Patho OTOP ให้ฟังเลยดีกว่า แทนกิจกรรม story telling ซึ่งนับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเลย  เพราะเสียงตอบรับ คำถามหลายคำถาม  ทำให้ประเมินว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาให้ความสนใจกับเรื่องที่เล่าให้ฟังมาก และดูเหมือนยิ่งจุดประกายความอยากพัฒนามากยิ่งขึ้น

ก็เป็นอีกประสบการณ์หนึ่ง ที่เรียนรู้ว่า อาจต้องปรับเปลี่ยนหัวข้อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ดีกว่าจะทำตามกำหนดที่วางไว้แบบไม่ยอมยืดหยุ่น 

ชักจะโม้ยาวไปแล้ว  พักแค่นี้ก่อน รออ่านตอนต่อไปนะคะ

 

ศ.พญ. เลิศลักขณา ภู่พัฒน์  หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ มช.

 

ป้าเดือน(หากจำชื่อผิดต้องขออภัยด้วย) อยู่ห้องย้อม  บอกว่า ดีใจมากๆ ที่มีโอกาสพูด

   

 

หมายเลขบันทึก: 80828เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ต้องบอกว่า คุณสมบัติของอาจารย์ที่ตัวเองชอบมากคือ การวางแนวปฏิบัติและมุ่งถึงเป้าหมายเสมอ และได้เห็นชัดเจนจากการวางแผนแบบ"ฉุกเฉิน" ทั้งตอนเริ่มและระหว่างงานเลยค่ะ การนำมาเล่าก็เป็นการเสนอแบบอย่างให้เราๆที่ยังทำไม่ค่อยเป็น ได้พยายามค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท