เสวนา KM : World Bank & Thailand Experience Sharing (7) ... สรุป และปิดเสวนาค่ะ


การใช้ KM ต้องใช้เครื่องมือหลัก 3 อย่าง มีทักษะในการใช้จนกลายเป็นเครื่องมือชิ้น (ชุด) เดียวกัน คือ KM - LO - AI

 

อ.วิจารณ์ได้กล่าวสรุป และปิดการเสวนาค่ะ ส่วนของอาจารย์ที่ได้บันทึกขึ้น Blog อยู่ที่นี่ค่ะ ข้อสรุปจากเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ KM ระหว่างธนาคารโลกกับประเทศไทย

"เราได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ทั้งที่เป็นประสบการณ์ คุณ Erik นำประสบการณ์จาก WB และวิทยากรทางประเทศไทยที่นำประสบการณ์ตรง ในการดำเนินงานจัดการความรู้ ในการใช้เครื่องมือ CoP ในการจัดการความรุ้มาแลกเปลี่ยนกัน

ในบรรดาวิธีการเรียนรู้นั้น การบรรยาย เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ได้ผลน้อยที่สุด และที่ Erik บอกว่า ได้ผลดีที่สุด คือ การสอน ฝึก หรือแนะคนอื่น และที่ดีรองลงมา คือ ช่วยลงมือทำ การจัดการความรู้ ท่านฟัง ท่านก็อิ่มเอมนะครับ ว่า คิดว่าได้อะไรเยอะเลย ความเข้าใจเช่นนี้ ผมก็ขออนุญาตบอกว่า ผิดนะครับ ... ท่านฟังแล้ว คิดว่าตัวเองเข้าใจ แต่ความจริงไม่เข้าใจ ท่านยังเข้าใจได้น้อย ไม่มาก พูดให้ชัดๆ คือ เข้าใจไม่จริง ...

ท่านจะเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ได้จริง ต่อเมื่อท่านได้ลงมือปฏิบัติ และก็ต้องมีการฝึก ทบทวน ใคร่ครวญ และลองไตร่ตรอง คิดว่า อย่างนี้มันแปลว่าอย่างนี้จริงหรือเปล่า เขาคิดว่าอย่างนี้ด้วยหรือเปล่า ... การแลกเปลี่ยนในระนาบที่ลึกเช่นนั้น จะทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น นี่คือเคล็ดลับของการจัดการความรู้

มักจะมีคนมาคุยกับผมและยกย่องให้ผม เป็นปรมาจารย์ เป็นกูรู ผมก็จะบอกว่า ไม่ใช่หรอก เป็นนักเรียน เรื่องของการจัดการความรู้นี้ เราถือเป็นสิ่งที่เรียนรู้จากการปฏิบัติ พวกเราที่ สคส. ถือหลักเช่นนี้เสมอๆ เราดีใจมากที่คุณ Erik จะมา เราจึงไม่ตั้งเวทีว่า จะมีคนมาสอน หรือมาให้ประสบการณ์ แต่เราใช้คำว่า แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อที่จะให้เข้ากับบริบทของการจัดการความรู้ ชื่อ การจัดเวทีวิชาการทั้งหลาย ก็พยายามสื่อสิ่งที่เป็น tacit เล็กๆ ออกมาก ถ้าเราจะจัดการความรู้ก็ต้องปฏิบัติ ต้องสะท้อนความคิดซึ่งกันและกัน สะท้อนความรู้สึกซึ่งกันและกัน ด้วยใจที่เปิด ด้วยใจที่ไม่กลัว ว่า อะไรถูกอะไรผิด พูดเพื่อให้การแลกกัน บางทีเขาก็น่าจะเท่านั้นเองครับ ข้อสรุปจะไปอยู่ที่ตอนปฏิบัติแล้วได้ผล ได้ผลแล้วก็ยังบอกไม่ถูกเลยว่า ได้ผล ต้องมาคิดต่อ ต้องมาทดสอบ ปรึกษาภายใน เหตุผลก็คืออย่างนี้ละครับ ความรู้ก็จะไต่ระดับ จนเป็นความสามารถในการกระทำ และความเข้าใจขึ้นมาเรื่อยๆ

ผมมีหน้าที่จะมาสรุป ... ในเรื่อง KM เราก็มักจะบอกกันว่า จริงๆ มันสรุปไม่ได้ และก็ สิ่งที่เรามาแลกเปลี่ยนกันนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นประสบการณ์ คือ tacit k เป็นความรู้ที่อยู่ลึกๆ เอามาแลกกัน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ผมจึงไม่สามารถจะสรุปได้ แต่ก็จะพยายามหาประเด็นที่ได้ ลปรร. ร่วมกันนะครับ

เราพูดกันในเรื่อง ปัจจัยสำคัญที่จะนำ KM ไปใช้ประโยชน์

  1. คุณ Erik ก็บอกว่า มีปัจจัยสำคัญ 6 ปัจจัย อ.วิชิต บันทึกไว้นะคะ ที่นี่ค่ะ ของฝากจาก KM Applications : World Bank & Thailand Experience sharing
  2. คุณทวีสินก็บอกว่า มี 3 ปัจจัย สำคัญที่สุด คือ เรื่องผู้นำ (Leadership) เรื่องการมีเวที พื้นที่ หรือที่มีคนจะมาคุยแลกเปลี่ยนกัน ใน Office ของผมก็มีทุกที่ แม้แต่ในห้องน้ำ ห้องกินข้าว และคุณอำนวย (Facilitator)
  3. มีการพูดถึงเรื่อง Reinforcement
  4. มีการพูดถึงเรื่อง Empowerment
  5. คุณทรงพลพูดถึงเรื่อง ปักธงร่วม คือไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งปัก แต่ร่วมกันปัก ร่วมกันเป็นเจ้าของธง การสร้างความมั่นใจร่วมกันว่า เราทำได้
  6. มีการพูดกันถึงเรื่องการพัฒนาทักษะใหม่ ทักษะที่มีการพัฒนาในกรณีนี้จะทื่อ ใช้ได้กับสมัยก่อน สมัยใหม่ใช้ไม่ได้ มักใช้ในเรื่องของราชการ ชุมชน
  7. มีการพูดกันถึงเรื่อง Knowledge Sharing ต้องได้กำไรทุกฝ่าย (Win-Win Situation)
  8. มีการพูดกันว่า เราอย่าทำ KM แต่ ให้ใช้ KM เพื่อ ..... ให้รู้ว่า องค์กรของเรา หน่วยงานของเราต้องการใช้ KM เพื่อทำอะไร นี่คือความหมายเหมือนปักธงนั่นเอง และเวลาทำแล้วก็ให้มันเนียนเข้าไปในเนื้องาน ให้อยู่ในตัวงาน เอา KM ไปใช้ในการทำงาน
  9. มีการพูดถึงเรื่อง Head – Heart – Hand : Head ก็คือ เหตุผล เรื่องในเชิงทฤษฎี Heart ก็คือ จิตใจ การมีใจร่วม Hand ก็คือ ทักษะ ซึ่งหลายๆ อย่างก็ไม่ได้ใช้ Hand นะครับ ใช้ปากก็เยอะ

ความสามารถในการกำหนด เสาะหา สร้างและใช้ กำหนดให้เกิดการ Add Value ความรู้ที่ใช้ก็คือ การ Add Value เข้าไปในการทำงาน Add Value เข้าไปในองค์กร ความรู้นั้น เราสนใจในเรื่องว่า เสาะหามาจากไหน เราสร้างขึ้นมาเองเพื่อใช้ด้วย เสาะหาและปรับ และมีทักษะในการนำไปใช้ มีความกล้าในการนำไปใช้ และการปฏิบัติ KM เป็นเรื่องของการลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการอ่านหนังสือ การตามฟัง อ.ประพนธ์ แต่เพียงเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่คุณ Erik ย้ำมากคือ อย่าใช้ Technic เป็นสรณะ ใช้เป็นตัวช่วย ไม่ใช่ตัวโชว์

อีกเรื่อง ก็คือ ประสบการณ์ในเรื่อง CoP

  • ดร.กรอง บอกว่า CoP เป็นการเสรมิโครงสร้างในองค์กรตามแนวตั้ง ซึ่งไม่พอ ต้องมีวิธีการอื่นมาเสริม คือ โครงสร้างแนวนอน ที่จะสามารถทำให้คนมา ลปรร. ข้ามสายกัน
  • CoP เป็นการใช้ธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ที่มีการแสดงออก สนุกที่จะทำ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีวิธีที่ทำให้ CoP งอกงาม และออกดอกออกผล
  • ผอ.อัจฉรา (จากคำพูดของคุณศุภลักษณ์) มี 2 อย่าง คือ ตามดม และตามชม
  • คุณ Erik ต้อง cocordinate เบาๆ ให้เขารู้สึกเอง manage แบบไม่ manage
  • ตัวอย่างเช่น จส. 100 ร่วมด้วยช่วยกัน สคส. ก็มี GotoKnow ผ่าน Internet ซึ่งก็คือ Blog System ช่วยให้เกิดความเป็นอิสระ เกิดขึ้นเอง บุคคลเหล่านี้จะเป็นเพื่อนกันอย่างแรง เขาจะสนิมสนมคุ้นเคยกันมาก ซึ่ง สคส. จะมี Web blog อีก 2 เวที คือ learners.in.th สำหรับนักเรียน นักศึกษา และ researchers.in.th สำหรับนักวิจัย

สุดท้ายที่มาคุยวันนี้ … การใช้ KM ต้องใช้เครื่องมือหลัก 3 อย่าง มีทักษะในการใช้จนกลายเป็นเครื่องมือชิ้น (ชุด) เดียวกัน คือ KM - LO - AI"

 

หมายเลขบันทึก: 79178เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อีกส่วนหนึ่งของพลัง KM จากการไปร่วมงานเดียวกันครับ รายงานพิเศษ KM Applications : World Bank & Thailand Experience Sharing

ขอบคุณสำหรับบางช่วงบางตอนครับ

วิชิต ชาวะหา
ม.มหาสารคาม

ขอบคุณค่ะ อ.วิชิต ที่เพิ่ม link ให้ ... ทำให้ครบถ้วนจริงๆ ค่ะ
คุณกฤษณา คะ ... ดิฉันทำหน้าที่ขยายเรื่องราว ที่น่าเรียนรู้ และรับรู้ค่ะ ขอบคุณด้วยค่ะ ที่ติดตาม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท