กรมอนามัยรับแขก ... KM Bakery ตอน 5 ... สภากาแฟ (8)


เราดำน้ำไปไกลมาก มา SWOT ว่า อุ๊ย จุดอ่อนจุดแข็ง ทำทุกอย่างตามทฤษฎี หลังจากนั้น เอาทฤษฎีของ KM มาจับ มากำหนดวิสัยทัศน์ มากำหนดทุกอย่าง เสร็จแล้วสติแตก เพราะว่าเราไปอิงทฤษฎี เราทำไม่ได้เลย เราก็ยังหาไม่ได้ว่า แล้วมันคืออะไรล่ะ

 

 

คุณจิ๋ว (เพ็ชรัตน์) ... เรื่องยากๆ อยู่ที่นี่ค่ะ ... KM นักวิชาการ

กลุ่มของนักวิชาการสิคะ ของจริง เรื่องยาก ...

กลุ่มงานวิชาการมีกันอยู่ 9 คน แต่ละคนรู้ไส้รู้พุง วันหนึ่งอยู่ดีๆ ให้มาทำงาน KM ก็เริ่มจะยากเลย เราเริ่มจาก SWOT งานของเราเลย นักวิชาการน่ะ เริ่มงานทั้งทีก็ต้องเริ่มที่ยากสิคะ ... โอย เราดำน้ำไปไกลมาก มา SWOT ว่า อุ๊ย จุดอ่อนจุดแข็ง ทำทุกอย่างตามทฤษฎี หลังจากนั้น เอาทฤษฎีของ KM มาจับ มากำหนดวิสัยทัศน์ มากำหนดทุกอย่าง เสร็จแล้วสติแตก เพราะว่าเราไปอิงทฤษฎี เราทำไม่ได้เลย เราก็ยังหาไม่ได้ว่า แล้วมันคืออะไรล่ะ

 

เอ้าลองเลียนแบบห้องคลอดก็แล้วกัน ห้องคลอดเขาลุยเลย เราก็เริ่มลุยเลยเหมือนเขา ... ในขณะที่ลุยครั้งแรก ก็ลุยกันแบบเป็นทางการ มีกำหนดเวลานัดหมายตายตัว ให้มาเจอกันนะ ... แต่กลายเป็นว่า ... แต่ละคนจะไปกำหนดนัดตัวเองได้นี่ยากมาก บางคนต้องออกไปต่างจังหวัดด้วย ทำงานด้วย ก็ไม่ได้ แล้วก็เครียด เครียดมาก ไม่สำเร็จ เราคุยกันแบบนี้ 2-3 หน สิ่งที่ได้ก็มีแต่ปัญหาอุปสรรค ทุกคนยังเหนียมอายว่า คือเราทำงานกันอยู่เรารู้ว่า ใครเป็นยังไง วันหนึ่งให้เรามายกย่องตัวเอง มา share เราก็ออกไปทำงานกัน 2 คน แล้วจะมา share อะไรล่ะ

คุณจิ๋ว (เพ็ชรัตน์ คีรีวงก์) ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ

วันหนึ่งเราก็คิดได้ว่า เอาละ เราเปลี่ยนกระบวนการใหม่ ไม่เป็นทางการละ ช่วงเช้าที่เรามาเจอกันที่สภากาแฟตอนเช้า ใครอยากคุยอะไร ก็คุย ใครอยากยกยออะไรก็ยกยอ เราก็เริ่มจากจุดเล็กจุดน้อย เช่น เราเคยจัดประชุม (เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเราจะเล่าเรื่องอะไรที่เราจะยกยอตัวเอง ที่เป็นสิ่งดีดีที่จะมา share ในงานของเรา) และไปสร้างการมีส่วนร่วม

  • ... บอกว่า มีการจัดประชุม และคนที่จากจังหวัด คนนี้เป็นคนที่ไม่เคยชมเลย จะติทั้งหมด ในแบบประเมินจะมีปัญหาไปหมด เอกสารไม่ครบถ้วน แต่วันหนึ่ง เกิดมาบอกว่า ประชุมครั้งนี้ดีมาก เขาก็เริ่มจะนึกว่า เอ๊ะ แล้วไอ้ที่ดีมากนั้น เขาทำอะไรกันบ้าง เริ่มก็มีการมา share ละ เริ่มดึงประเด็นละว่า มันคืออะไร
  • ... พอมีคนเริ่มต้นได้ เราจะนึกออกว่า วันนั้นไปจังหวัดไปประสานงาน เขาให้ขนมกลับมา เขาถูกใจอะไรเราล่ะ เราก็นึกถึงกันที่จะมา share กันในส่วนนั้น

ก็มีการเริ่มเล่าเรื่อยๆ ในกลุ่มก็จะมีสภากาแฟ ไม่เป็นมาตรฐานตายตัวว่า เดือนหนึ่งต้องเจอกันกี่ครั้ง เราก็บอกว่า วันไหนที่เราเจอกัน 4-5 คน เราคุยเลย คุย และก็มีคนเก็บประเด็น เราก็ได้ในส่วนที่เราไปทำงาน และเราเริ่มได้ ในส่วนที่เป็นประสบการณ์ดีๆ นี่ก็คือการเริ่มต้นจากกลุ่มนักวิชาการ

หลังจากที่เราคุยกันตรงนั้นแล้ว แต่ว่า ... คนทำงานก็มีจำกัดในหน่วยงาน ... เริ่มตันละ หมดมุขละ ที่จะ share กัน อยากได้ความรู้ข้างนอกละ สิ่งที่เราทำมันมีอะไรบ้าง ... ก็มีการ ลปรร. ข้ามฝ่าย ตอนที่จัดเวที ลปรร. ข้ามฝ่ายมีการทำ 2 ครั้ง ครั้งแรกในกลุ่ม รพ. อีกครั้งก็คือ เรามี 5 ฝ่ายมาเจอกันในบรรยากาศที่ดีมาก

ตอนนี้ CKO คุณหมอณัฏฐาบอกว่า คำว่าบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เราพูดกันบ่อย แต่ว่า มันคืออะไรล่ะ บรรยากาศที่เอื้อ ... แต่ในเวทีพวกนี้เรามีอย่างนี้จริงๆ เลย ทุกคนอยากมาทำอะไรร่วมกัน อยากมา share สิ่งดีดีร่วมกัน มันเป็นบรรยากาศที่ดีงามของตรงนั้น เป็นการ ลปรร. ข้ามฝ่าย อันนี้เป็นตัวอย่างว่า หลังจากที่ทำแล้ว KM เกิด

นอกจากที่จะมา ลปรร. ด้วยการเล่าเรื่องสิ่งที่เป็นดีดีแล้ว ต้องบันทึก ไม่อย่างนั้นไม่เกิด อย่างที่คุณหมอสมศักดิ์บอกไว้นะคะว่า ความรู้ที่อยู่ในตัวตนนั้นที่มีอยู่ ต้องบันทึก ว่าใครเล่าเรื่อง และประเด็นเรื่องเล่านั้น

อีกส่วนหนึ่ง เรามีบอร์ด ประชาสัมพันธ์ เพราะว่าคนที่เล่าเรื่องจะมี 9-10 คน แต่คนในหน่วยงานมีหลายคน เราจะได้ share ในวง และมาอ่าน และมีจดหมายข่าว และมี KM Center และมี Portfolio คือ แฟ้มสะสมงานว่า ใครไปทำมา ใครไปทำงานที่ไหน เขาก็จะจดไว้ ไปทำอะไร ได้อะไร มีประสบการณ์อะไร ได้บทเรียนอะไร ก็จะเขียนไว้

... KM Bakery มื้อนี้ อิ่มอร่อยไปด้วยนะคะ ...

 

หมายเลขบันทึก: 29940เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท