ชมรมผู้สูงอายุ ร่วมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ เขต 5 โคราช (6) ... ชมรมผู้สูงอายุ ที่พุทไธสง จ.บุรีรัมย์


ปี 2550 ที่พุทไธสงจะมองเป็นภาพรวม มีเป้าหมายจะทำหมู่บ้านในฝัน เป็นต้นแบบหมู่บ้านในฝัน

 

ที่พุทไธสง หมอเก้ากันยาเจ้าเก่า เธอเคยเล่าเรื่องกิจกรรม ปี 2549 ให้ฟังแล้ว ที่นี่นะคะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานทันตฯ ในผู้สูงอายุ (5) รวมกลุ่มผู้สูงอายุจัดกิจกรรม (ตอนที่ 3 อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์)

มาปี 2550 ที่พุทไธสงมีการขยายกิจการ เอ๊ย กิจกรรมค่ะ โดย ... ปี 2550 ที่พุทไธสงจะมองเป็นภาพรวม มีเป้าหมายจะทำหมู่บ้านในฝัน เป็นต้นแบบหมู่บ้านในฝัน จึงได้นำโครงการ ที่เริ่มจากจังหวัด ซึ่งทำโครงการการสร้างพลังในการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-14 ปี (ลดการบริโภคขนมหวานในเด็ก 6-14 ปี) ... เราได้เอาไปลงในหมู่บ้านที่เราจะทำเป็นหมู่บ้านในฝัน และจะนำมาเชื่อมโยงกับผู้สูงอายุ

 

จะเชื่อมโยงกับผู้สูงอายุตรงที่ เราจะเอาผู้สูงอายุ และ อสม. ที่เคยอบรมมาด้วย และประธาน อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้แทนครู ทันตบุคลากร เจ้าหน้าที่ สส. ในพื้นที่

กิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ใน PCU หายโศก และ PCU บ้านแฮด อ. พุทไธสง จ. บุรีรัมย์ ปี 2549 และโครงการการสร้างพลังในการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อลดปัญหา การเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-14 ปี (ลดการบริโภคขนมหวานในเด็ก 6-14 ปี) ปีงบประมาณ 2549  ดังนี้

กลุ่มนักเรียนและคุณครูในโรงเรียน

  1. แกนนำให้ความรู้กับเพื่อนนักเรียนในโรงเรียน
  2. คุณครูและแกนนำสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี หลังรับประทานอาหารกลางวันทุกวัน ทุกชั้นเรียน

กลุ่มผู้ใหญ่ จะรวมทั้งแกนนำผู้สูงอายุในชุมชน

และที่ PCU บ้านแฮด ... ได้นำกิจกรรมจากโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุใน PCU หายโศก และ PCU บ้านแฮด อ. พุทไธสง จ. บุรีรัมย์ ปี 2549 และโครงการการสร้างพลังในการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-14 ปี (ลดการบริโภคขนมหวานในเด็ก 6-14 ปี) ปีงบประมาณ 2549 มาผสมผสานกับโครงการพัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านแฮด ปีงบประมาณ  2550 ดังนี้

โครงการร่วมแรง กาย ใจ สานสายใยผูกพันพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านแฮด ปีงบประมาณ 2550

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ทั้งกาย จิต และสังคม
  2. เพื่อให้บริการเชิงรุกแก่ผู้สูงอายุในชุมชน  ทั้งการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ
  3. เพื่อกระตุ้นและดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือสังคมได้

โครงการพัฒนานวัตกรรมบริการสุขภาพ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านแฮด ปีงบประมาณ 2550

กลุ่มเป้าหมาย ... ผู้สูงอายุในเขตตำบลบ้านเป้า จำนวน 861 คน

วิธีดำเนินการ

  1. ประชาสัมพันธ์โครงการในทุกหมู่บ้านเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินงาน
  2. ทำประชาคมในหมู่บ้านเพื่อค้นหาปัญหา
  3. จากโครงการการสร้างพลังในการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 6-14 ปี (ลดการบริโภคขนมหวานในเด็ก 6-14 ปี) ปีงบประมาณ 2549  PCU ออกตรวจเยี่ยมให้ความรู้ผู้ขายสินค้า ให้รู้ถึงผลเสียการขายลูกอม ขนมหวาน หมากฝรั่ง น้ำอัดลม และขอความร่วมมืองดขายลูกอม ขนมหวาน หมากฝรั่ง น้ำอัดลม ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี
  4. คัดเลือกและจัดตั้งกลุ่มผู้ช่วยเหลือผู้สูงวัยในหมู่บ้าน (อาสาสมัครช่วยเหลือผู้สูงวัย) โดยความสมัครใจเน้น กลุ่ม อสม. และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ หมู่ละ 7 คน ทั้งตำบล 84 คน
  5. จัดอบรมให้ความรู้อาสาสมัครช่วยเหลือผู้สูงวัย เพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุในหมู่บ้าน (รวมถึงผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) และคอยติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  6. จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุที่สมควรได้รับการช่วยเหลือในแต่ละหมู่บ้าน
  7. แบ่งผู้สูงอายุในหมู่บ้านให้อาสาสมัครเป็นผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือ 1 : 10-15 คน อาสาสมัครทุกคนจะมีสมุดบันทึกประจำตัวคนละ 1 เล่ม
  8. สร้างแกนนำสุขภาพ (จากอาสาสมัครช่วยเหลือผู้สูงวัย) โดยให้ความรู้ด้านสุขภาพ โรคต่างๆ ที่พบบ่อยและสุขภาพช่องปากผู้สูงวัย ให้แกนนำสุขภาพสอนและแนะนำผู้สูงอายุคนอื่นโดยทำกิจกรรมในช่วงเวลาในตอนเช้าที่ไปวัด (วันพระเดือนละ 1 ครั้ง) แล้วให้ผู้สูงอายุไปสอนคนที่บ้านหรือเพื่อนบ้านต่อเพื่อเป็นการขยายผลไปเรื่อยๆ
  9. ให้บริการเชิงรุกในชุมชน ทีมสุขภาพ (จนท. อสม. อาสาสมัคร) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในรายที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ ในรายที่มีปัญหาอาสาสมัครจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลอย่างต่อเนื่อง และให้บริการเยี่ยมบ้าน (ผนวกกับการเยี่ยมบ้าน) ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถไปรับบริการที่สถานบริการได้
  10. กิจกรรม ตา-ยาย สอนหลาน จัดประชุมเพื่อพัฒนาปราชญ์ชาวบ้านโดยให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพิ่มทักษะให้กับปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน สอน และเล่านิทานในศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนเดือนละ 1 ครั้ง
  11. จัดทัศนศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุที่อำเภออื่นที่เข้มแข็ง เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานของชมรม (ประธานผู้สูงอายุทุกหมู่บ้าน อสม. และอาสาสมัครช่วยเหลือผู้สูงอายุ รวม 40 คน)
  12. ประเมินผลงานตามโครงการ โดยใช้แบบสอบถามและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนไป

ปัจจัยที่ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ

  1. การตระหนักถึงปัญหาในชุมชน และการร่วมมือกันจากหลายส่วน ในการแก้ไขปัญหาในชุมชน ได้แก่ ประชาชนในชุมชน วัด ผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบล สถานีอนามัย และโรงพยาบาลชุมชน
  2. ความเข้มแข็งของชุมชน ความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  3. งบประมาณสนับสนุนในเรื่องการอบรม และการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 80405เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท