ทันตาภิบาล ใน PCU


หลักสูตรพัฒนาทันตาภิบาล เพื่อการบูรณาการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปาก ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

 

2 วันนี้ (13-14 พย.49) กองทันตฯ ไปร่วมแจมกับ สถาบันพระบรมราชชนก (หน่วยงานผลิตทันตาภิบาล แห่งเดียวในประเทศไทย) เพื่อจัดทำ + ดำเนินการ หลักสูตรพัฒนาทันตาภิบาล เพื่อการบูรณาการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปาก ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

มีคณาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุข 4 แห่ง เข้าร่วม คือ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ขอนแก่น พิษณุโลก และตรัง

ทีมผู้จัด มี ทพญ.สุณี วงศ์คงคาเทพ เป็น manager จากกองทันตฯ ไปช่วย สบช. (สถาบันพระบรมราชชนก) ดำเนินการค่ะ ทีมกองทันตฯ ที่เหลือส่วนใหญ่ จะเป็นวิทยากร input ข้อมูล การดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ในภาพรวมของประเทศไทย ...

ถ้ามองโครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วย

  1. เรียนรู้หลักการ แนวคิด การทำงานบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก
  2. การทำงานบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก แบ่งตามกลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มเด็กต่ำกว่า 5 ปี เด็กวัยเรียน ผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน และผู้สูงอายุ
  3. เรียนรู้ทักษะการทำงาน เช่น เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข  และอื่นๆ

กระบวนการ ก็คือ มาเรียนรู้กัน ใช้เวลา 3 วัน และติดตามผลการปฏิบัติงาน หลังอบรม 3 เดือน ผู้เข้าอบรมเป็นทันตาภิบาล เลือกเข้ากลุ่มทำงานตามกลุ่มอายุต่างๆ ในข้อ 2 ค่ะ ก็คาดว่า อีก 3 เดือน คงได้เรื่องเล่าดีดี มาเล่าสู่กันฟังว่า มีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นกันบ้างใน PCU ค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทันตาภิบาล#pcu
หมายเลขบันทึก: 59551เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ช่วงนี้งานยุ่งๆเลยไม่ค่อยได้เข้ามา gotoknow แต่ก็ยังติดตามอ่านอยู่นะคะ จะรอฟังภาคต่อค่ะ

               

                    ได้มองหาแนวทางการทำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จริงๆ  (ชนิดที่ว่าเป็นของแท้)  มาตลอดเวลา กว่า  20  ปี   และก็ไม่ผิดหวัง....เป็นประสบการณ์ชีวิต    ที่ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญ...

                     การเรียนรู้  เพื่อวางบทบาทใหม่  ของทันตาภิบาล   ทันตแพทย์  กลับกลายเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นลู่ทางที่จะลดความทุกข์ ทั้งในฐานะของการเป็นผู้ให้และทุกข์ของคนไข้(ทำฟัน) ที่เป็นผู้รับ   ทุกข์ของเพื่อนๆทันตาภิบาล  ที่นั่ง  ยืน  อุด  ขูด  ถอน  ตลอด 20  กว่าปี  ขณะนี้หลายคน  แขนบวม (ต้องหยุดพักงาน) หลังปวด  ซึ่งไม่นับรวม  สายตาที่เริ่มจะต้องเปลี่ยนตามอายุ

                      ยังกังวลว่า  หลักสูตรใหม่ที่ทันตาฯส่วนหนึ่งจะได้เรียนรู้จากการอบรม  เมื่อกลับไปถึงที่ทำงาน  การทำงานจริงๆ  มีอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าเขาต้องทำ  (นอกจากใจรัก ) ถ้าพวกเรายังคาดหวังผลจากการลดต้นทุนต่างๆ ที่กล่าวมาลง  เราก็ต้องเอาจริง  ผลักดันทุกรูปแบบ  ทั้งกรม  กอง  สสจ.  ไล่ลงมา  ในขณะที่ภาคประชาชนมีความพร้อมและรออยู่  อยู่ที่ทันตาฯจะก้าวขาออกจาก  สอ.ที่ปราศจากความกังวลใจจากหัวหน้าสอ.หรือเพื่อนร่วมงานในฝ่ายทันตฯ

                      การอบรม ไม่กี่วัน ถึงแม้จะเป็นเวลาไม่มาก  แต่ก็จะเป็นฐานคิดการทำงานที่สำคัญ  ที่เราน่าจะคาดหวัง  เป็นการต่อยอดจากประสบการณ์ทำงาน  ทันตาฯที่ได้ก้าวมาถึงตรงนี้   น่าจะถือโอกาสนี้  ต่อยอดการทำงานอีกเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำคัญที่จะพัฒนาไปเรื่อยๆ     ทั้งนี้... พวกเรา  ควรจัดพื้นที่  จัดตัวบุคคลที่มีประสบการณ์ตรง(จริงๆ)  มาเป็นพี่เลี้ยง  ที่ปรึกษา.

                     คิดเรื่องนี้ทีไร ... นึกถึงทันตาฯ  ที่จบใหม่   ที่ยังใหม่สำหรับทุกเรื่อง  นึกถึงทันตาฯที่จบมานาน   นานจนไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับงานที่ซำๆ เพราะเคยชินจนเชี่ยวชาญ(เทคนิค)  นึกถึงทันตาฯที่เริ่มออกอาการสุดที่จะทน  เป็นอารมณ์ขุ่นๆ ซึ่งสะท้อนบางสิ่งบางอย่าง  สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนภาพลักษณ์ให้กับเพื่อร่วมงานอย่างดี  และทุกอย่างเกียวข้องกับความสุข  ของทุกคน..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท