ธนาคารไทยพาณิชย์ กับกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม


กิจกรรมองค์กรเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์เน้นที่เศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตพอเพียง ซึ่งมีชาวบ้านรวมตัวกันดำเนินชีวิตแบบพอเพียงมากมายทั่วประเทศ เป็นโอกาสที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะเข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชื่นชม ต่อยอด และเชื่อมโยงเครือข่ายการปฏิบัติวิถีชีวิตพอเพียงของชาวบ้าน ยกระดับ "ความรู้ปฏิบัติ" เพื่อชีวิตพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นความรู้ที่ทันสมัย ไม่ใช่วิถีชีวิตพอเพียงแบบล้าสมัย

         วันที่ 13 พ.ย.49   ผมไปร่วมประชุมคณะทำงานพิเศษเรื่องกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม   และประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์  มีความประทับใจแนวคิดและความเชื่อลึก ๆ ด้าน CSR ที่ผู้บริหารธนาคารฯ กำลังสร้างขึ้นในธนาคารไทยพาณิชย์

         ผมเข้าใจว่าขณะนี้ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารที่มีความเข้มแข็งมั่นคงที่สุดในประเทศไทย  (โดยดูจากดัชนีหลายอย่างที่ผมอธิบายไม่เป็นเพราะรู้ไม่จริง)  แม้จะไม่ใช่ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ธนาคารกรุงเทพใหญ่ที่สุด)   เมื่อองค์กรเข้มแข็งทางธุรกิจ   ผลประกอบการดี  มีความมั่นคง   องค์กรก็ต้องสร้างความมั่นคงทางสังคม  สร้างทุนสังคมขององค์กร

         วิธีสร้างทุนสังคมขององค์กรก็คือ  สมาชิก (พนักงาน) ขององค์กรต้องไม่แยกตัวออกจากสังคมและชุมชน   ทั้งระดับองค์กรและระดับพนักงานเป็นรายบุคคลต้องมีสำนึกพลเมือง (civic - mind) หรือสำนึกสาธารณะ  สำนึกชุมชน  และสำนึกอย่างเดียวไม่พอ   ต้องเข้าไปร่วมกิจกรรม  ร่วมทุกข์ร่วมสุข  และส่งเสริมการสร้างสุขในสังคมด้วย  

         ผมเข้าใจว่า  นี่คือหัวใจของ CSR ที่ธนาคารไทยพาณิชย์กำลังขับเคลื่อน

         กิจกรรมองค์กรเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์เน้นที่เศรษฐกิจพอเพียง  วิถีชีวิตพอเพียง  ซึ่งมีชาวบ้านรวมตัวกันดำเนินชีวิตแบบพอเพียงมากมายทั่วประเทศ   เป็นโอกาสที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะเข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ชื่นชม  ต่อยอด  และเชื่อมโยงเครือข่ายการปฏิบัติวิถีชีวิตพอเพียงของชาวบ้าน   ยกระดับ "ความรู้ปฏิบัติ" เพื่อชีวิตพอเพียง   เศรษฐกิจพอเพียง  ให้เป็นความรู้ที่ทันสมัย   ไม่ใช่วิถีชีวิตพอเพียงแบบล้าสมัย

วิจารณ์  พานิช
 14 พ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 59549เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อาจารย์ลองใช้ google ค้นอ่านข่าวโดยใช้วลี "แกรมมี่ ไทยพาณิชย์ มติชน" ย้อนหลังดูนะครับ คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ...
ไทยพาณิชย์เพื่อสังคม (ฟังแล้วตลก)
ดิฉัน น.ส. จุฑาทิพย์  นกแก้ว  เป็นลูกค้าที่ดีมาตลอดโดยผูกขาดการเดินบัญชีกับ ธ.ไทยพาณิชย์  ตั้งแต่ปี 2540  เป็นต้นมา  ซึ่งมีเงินที่หมุนเวียนในระยะเวลา 10 ปี เป็นยอดเงินถึง 9 หลักโดยไม่เคยขอสินเชื่อกับธนาคารนี้แต่อย่างใด.   และเมื่อปี พ.ศ. 2547  ได้กู้เพื่อที่อยู่อาศัยในวงเงิน 3.6  ล้านบาท  ระยะเวลา 20 ปี  จาก ธ.ไทยพาณิชย์.    ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมาได้นำส่งค่างวดมาด้วยดีตลอด เป็นจำนวนเงิน รวมกว่า 6.2  แสนบาท   จนกระทั่งงวดของเดือนธันวาคม 2549 ไม่ได้ชำระค่างวดครบถ้วนตามจำนวนเนื่องจากขาดสภาพคล่อง   จึงขอคำปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อขอปรับลดค่างวดเป็นการชั่วคราว และได้รับคำเสนอจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร คุณชุณพล  สุรจินดามณี   ให้ลดการจ่ายค่างวดเป็นระยะเวลา 6 เดือนโดยมิได้แจ้งเงื่อนไขอย่างอื่น  โดยให้ไปลงนามในสัญญาในวันที่ 30 มกราคม 2550  ซึ่งการเสนอครั้งนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกปราบปลื้มยินดี.     ดิฉันได้ไปตามนัด  จะด้วยบุญหรือโชคชะตาก็ว่าได้ที่ดลใจให้อ่านสัญญาอย่างละเอียด   จึงได้พบว่ามีการซ่อนเงื่อนไขซึ่งไม่เคยได้แจ้งให้ดิฉันทราบมาก่อน   โดยเงื่อนไขดังกล่าวระบุว่าหลังจากได้ส่งค่างวดที่ปรับลดลงแล้วครบ 6 เดือน  ดิฉันจะต้องนำเงินโดยประมาณ 3.5  ล้านบาท  ไปปิดบัญชีเงินกู้  ภายในไม่เกิน 25  กรกฏาคม  2550.   ดิฉันจึงปฏิเสธที่จะลงนามในสัญญาเนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อเสนอที่ทางธนาคารได้แจ้งให้ดิฉันทราบ.ดิฉันจึงได้นัดหารือใหม่.     ในวันที่  2   กุมภาพันธ์  2550  ดิฉันได้เข้าไปพบเจ้าหน้าที่ธนาคารฝ่ายสินเชื่อที่ สนง.ถนนเพชรบุรี  ชื่อ  คุณดุสิตา   ศรีสมบัติ  และคุณชุณพล   สุรจินดามณี    ประโยคแรกที่คุณชุณพลฯ ถามด้วยน้ำเสียงและกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมว่า  ว่ายังไงครับ    ดิฉันจึงได้ถามว่าเงื่อนไขในสัญญาที่คุณนัดให้เซ็นในวันที่ 30  มกราคม 2550   ตรงที่ว่า  ต้องนำเงินจำนวน 3.5  ล้านมาปิดบัญชี  ซึ่งคุณไม่ได้แจ้งให้ทราบมาก่อนหมายความว่าอย่างไร   แต่คำตอบที่ได้รับไม่ต่างจากเงื่อนไขที่ซ่อนไว้ในสัญญา และยังพูดอีกว่า เงื่อนไขดังกล่าวธนาคารเป็นผู้เสียผลประโยชน์ และทางคุณยังต้องการอะไรอีก   ท่านผู้อ่านลองคิดดูถ้าดิฉันมีเงินขนาด 3.5 ล้านภายใน 6 เดือน  ดิฉันคงไม่ต้องขอโอกาสปรับลดค่างวดจากทางธนาคาร.    และที่ยิ่งน่าแปลกใจสำหรับความคิดและข้อเสนอของผู้บริหารระดับนี้เขาคิดว่าลูกค้าโง่หรือที่จะรับข้อเสนอของเขา.          เมื่อเราได้รับความเดือดร้อน   และเราเป็นลูกค้าที่ดีมาโดยตลอดจึงเข้าไปขอโอกาส  แต่กลับเป็นเช่นที่กล่าวมาข้างต้น  หรือต้องรอให้เราเป็นหนี้เสีย   เสียก่อนถึงจะยอมเจรจากับเราอย่างดี คุณคิดว่าประเทศไทยยังมีหนี้เสีย (NPL)ไม่พออีกหรือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท