เลขาฯกกอ.ยอมรับมหา"ลัยไทยไร้ทิศทาง


ความซ้ำซ้อนของหลักสูตร ทิศทางของมหาวิทยาลัย คุณภาพการศึกษา
 
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพิ์มติชน ปีที่ 30 ฉบับที่ 10591 (www.matichon.co.th/matichon) ได้มีการรายงานข่าวดังสรุปต่อไปนี้


เลขาฯกกอ.ยอมรับมหา"ลัยไทยไร้ทิศทาง

ขยายเกินตัวจนที่นั่งเรียนมากกว่าน.ศ.

นายกฤษณพงศ์ กีรติกร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา" ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คุณภาพการศึกษาไทยมีความอ่อนแอทั้งระบบ โดยในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาไทยขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง เติบโตอย่างน่ากลัว เพราะเกิดความซ้ำซ้อนในการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง จนขณะนี้มีที่นั่งเรียนในมหาวิทยาลัยมากกว่าคนเรียน ทำให้เวลานี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องใช้กลยุทธ์กวาดต้อนนักเรียน บางมหาวิทยาลัยไปตั้งโต๊ะรับนักศึกษากันถึงในโรงเรียนมัธยมศึกษา ดังนั้น หากจะพัฒนาอุดมศึกษาก็ต้องเริ่มสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้น ตนอยากเห็นสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ นำผลประเมินคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ไปใช้ในการจัดสรรทรัพยากรการศึกษา หรืออย่างน้อยสภามหาวิทยาลัยได้นำข้อมูลไปใช้ในการจัดสรรทรัพยากรให้กับคณะและสาขาวิชาต่างๆ

จากรายงานข่าวข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยกับเลขาธิการ กกอ. ที่ว่าการศึกษาไทยมีความอ่อนแอทั้งระบบ และมีการขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง และซ้ำซ้อน ซึ่งการดำเนินการแก้ไขส่วนหนึ่งก็ย่อมที่จะเป็นหน้าที่ของ กกอ.และรัฐบาลในการกำหนดนโยบายและมาตรการการศึกษาในภาพรวม นอกเหนือจากที่ระบุไว้กว้างๆ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ในขณะเดียวกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเองก็จะต้องพิจารณาการเปิดหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรการและนโยบายการศึกษาของชาติ ความต้องการของอุตสาหกรรมที่เป็นจริง สภามหาวิทยาลัยเองก็ต้องดูแลกำกับภาพรวม ไม่อนุมัตให้เปิดหลักสูตรที่ซ้ำซ้อนหรือเป็นหลักสูตรที่ขาดความพร้อม โดยใช้ข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เป็นจริง เช่น ข้อมูลการจบการศึกษา ข้อมูลการจ้างงาน ข้อมูลจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา หรือดัชนีชี้วัดของสมศ. ฯลฯ ในการกำกับดูและการบริหารงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ให้เป็นไปอย่างไร้ทิศทางตามที่เลขา กกอ. ได้กล่าวไว้

หมายเลขบันทึก: 83377เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 07:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่านอาจารย์กมลวัลย์

  • เป็นข้อมูลที่น่าตกใจ เมื่อผมได้ฟังเช่นเดียวกันกับท่านอาจารย์ นั้นหมายถึง ต้องมีสถาบันใดสถาบันหนึ่งต้องแพ้ ต้องอวสาน ไปอย่างแน่แท้ ด้วยการแข่งขันในเชิงปริมาณ อย่างในสถานการณ์ปัจจุบัน
  • ทำให้ผม ในฐานะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านการประกันคุณภาพ ต้องคิดหนักเมื่อมองถึงสถาบันตนเอง โดยเฉพาะอย่างที่อาจารย์ว่า เรื่อง หลักสูตร
  • ถึงแม้ สกอ. จะออกมาตรฐานหลักสูตรระดับป.ตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ปี 48 มาแล้วก็ตาม ก็มีผู้ที่จะตีความแบบฉลาดแกมโกง หรือหาช่องหลบ จากระเบียบ ทำให้สกอ. ไม่สามารถควบคุมได้ดังเจตนารมณ์

ด้วยความเคารพ 

กัมปนาท

 

กัมปนาท

ด้วยความเคารพ

สวัสดีค่ะ อาจารย์กมลวัลย์

เห็นด้วยกับแนวคิดข้างต้นค่ะ    จากประสบการณ์การทำงานของตน   ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนมาเป็นสถาบันอุดมศึกษา เมื่อปี 2548   ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ไม่ได้เกิดจากการประสานงานกัน   ดิฉันเห็นปัญหาที่มันเกิด แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก   ทำได้ก็แต่เพียงขอบเขตหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ   พร้อมกับการทำใจ   ...

สถาบันอุดมศึกษา  ที่ไม่ได้สังกัด สกอ.  ไม่ได้ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ   ดังนั้นการร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ จึงมีน้อย   ผลกระทบที่เกิดก็ตกกับนักศึกษา  ทั้งๆ ที่พวกเขาก็เป็นคนไทยเหมือนกัน  น่าจะได้รับสิทธิในความเจริญก้าวหน้าเท่าเทียมกับที่อื่นๆ

ยังไงก็ตาม   เป็นกำลังใจให้อาจารย์ได้ทำหน้าที่ของอาจารย์   เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกันนะคะ

 ด้วยความเคารพค่ะ


ประเทศไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเรื่องการศึกษาค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพื้นฐาน อุดมศึกษา หรือกลุ่ม ปวช ปวส ค่ะ เพราะผลิตนักศึกษาไม่ได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมหรืออุตสาหกรรมเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม ปวช ปวส ที่ฐานการผลิตลดลง ค่านิยมของผู้เรียนก็น้อยลง (เพราะคนส่วนใหญ่อยากทำงานนั่งโต๊ะมากกว่าทำงานหน้างาน) แต่มีความต้องการมากขึ้นในอุตสาหกรรม

ดิฉันคิดว่าบางทีนโยบายภาครัฐก็มุ่งทำยอดให้มีผู้จบมากๆ แต่ไม่ได้ให้การสนับสนุนพื้นฐานการผลิตนักศึกษาอย่างจริงจัง การลงทุนเกี่ยวกับ infrastructure รวมถึงทุนมนุษย์ของสถานศึกษาอย่างเราก็ไม่สอดคล้องค่ะ ก็ได้แต่ทำหน้าที่ของตนอย่างที่คุณมนต์ว่าไว้ค่ะ แล้วก็ทำใจ .......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท