KM ที่ซึมอยู่ในกิจวัตร ด้วยความแนบเนียน ในวันฝนตก


KM ที่ซึมอยู่ในกิจวัตร

              ในกิจวัตรในการเรียนการสอนในแต่ละวัน โอกาสที่จะได้พบเจอพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานโดยพร้อมหน้าพร้อมตา จะว่ายากก็ดูยาก จะว่าง่ายก็ง่ายอยู่เหมือนกัน

              บางครั้งก็ขึ้นกับเหตุการณ์ในปัจจุบันโดยไม่ได้คาดคิด เช่น เกิดเหตุการณ์ฝนตกทั้งวัน อาจารย์ทุกท่านของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่สอนรายวิชา ITA (การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ) จึงได้ซื้ออาหารใต้ตึก เพื่อมารับประทานในห้อง และสนทนาพูดคุยกัน เรื่องที่พูดคุยก็เป็นเรื่องสัพเพเหระทั่วไป แต่ เรื่องเด่นวันนี้ก็คือการจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ LMS (Learning Management System) คือระบบจัดการการเรียนการสอน ซึ่งอาจารย์หลายท่านกำลังทดลองใช้ ระบบนี้ โดยใช้ Moodle เป็นตัวจัดการ

moodle

                และเนื่องจากในห้องพักยังมีท่านอาจารย์ผู้อาวุโส อีกสองท่าน คือท่านอาจารย์สุเทพ และอาจารย์อรรณพ (อาจารย์แพนด้า) มาร่วมวงรับประทานอาหารด้วย (แต่อาจารย์สุเทพ สุขภาพไม่ค่อยดีนักจึงมานั่งสนทนาอย่างเดียว)

                อาจารย์แพนด้าได้กล่าวออกมาในการสนทนาว่า ขณะที่รับประทานอาหารและพูดคุยกันนี้ เรากำลังดำเนินกระบวนการ KM อยู่ (แต่อาจจะไม่ครบทุกขั้นตอน) ท่านพยายามชี้ให้เห็นถึง การเปิดหัวข้อการสนทนาให้เป็นอิสระ คืออยากคุยอยากพูดก็พูด และแสดงความคิดเห็นออกมา

                 พิจารณาดูแล้วก็พอจะเข้าใจความหมายของการใช้ สุนทรียะสนทนา ขึ้นมาบ้างเพราะจากการสนทนาของเรา จากเรื่องทั่วๆไป ก็นำไปสู่เรื่องปัญหาในการการจัดการเรียนการเรียนการสอน และนำมาสู่การแก้ไขของอาจารย์ท่านอื่น และสิ่งที่อาจารย์บางท่านกำลังหาทางแก้ไข นั่นก็คือการหันมาใช้ LMS ตัว Moodle จากเว็บของศึกษาทั่วไป

                  สรุปว่า สุดท้ายก็สามารถ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการใช้ Moodle และอาจารย์ทุกท่านก็หันมาเริ่มใช้ LMS ตัวนี้ กันทุกคน

                  สุดท้าย อาจารย์แพนด้าก็เข้ามากระซิบ บอกว่า ขณะนี้ เรากำลังทำ ตัว P (Peer Assist) จากตัวย่อ SPA(Storytelling-PeerAssist-AAR) ที่อาจารย์ท่านยึดเป็นหลักในการปฎิบัติของ KM
 ซึ่ง Peer Assist หรือเพื่อนช่วยเพื่อน นี้ ผมอาจจะช่วยเพื่อนเยอะหน่อย เพราะเคยใช้ Moodle มา แต่ในขณะเดียวกันผมก็ได้ความรู้เพิ่มในสิ่งที่ยังไม่รู้ จากท่านอาจารย์อรรณพ เพราะท่านใช้ Moodle มาก่อนหน้านี้หลายเทอมแล้ว รวมถึงคำถามของเพื่อนก็ทำให้ผมต้องค้นหาคำตอบ สิ่งที่ยังไม่ทราบก็ได้ทราบ สิ่งที่ทราบแล้วก็เพิ่มความมั่นในในคำตอบ

                    แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้เกี่ยวกับ KM ที่เกิดขึ้นโดยที่ผมไม่ได้สังเกต เลยหากไม่ได้คำแนะนำ จากอาจารย์ครับ

หมายเลขบันทึก: 120074เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2007 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เยี่ยมมากครับ อาจารย์
  • การจัดหน้า Blog ทำได้สวยงามมาก สมกับที่เป็นนัก IT จริง ๆ
  • ตามความเป็นจริง เราใช้วิธีการของ KM กันมานานแล้ว แต่อาจจะไม่รู้ หรือ เรียกในชื่ออื่น
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างคน คือ หัวใจของ KM ครับ เกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานะการณ์
  • KM ที่ถูกต้องจะต้อง เนียนอยู่ในงานประจำ ครับ
  • อย่างที่ผมพูดในเที่ยงวันนี้ ในครั้งนี้ปัจจัยแวดล้อม (ฝน) ทำให้เกิดโอกาสนี้ขึ้น ถ้าพวกเรามองเห็นประโยชน์และ สร้างโอกาสเช่นนี้ให้เกิดขึ้น เป็นประจำ อาจจะแค่สัปดาห์ละครั้ง หรือ สองสัปดาห์ครั้งในช่วงเริ่มต้นก็จะทำให้เกิดชุมชนฅนปฏิบัติ หรือ CoP (Community of Practice)  ของอาจารย์สอนวิชา ศึกษาทั่วไป หรือ วิชา ด้าน IT  หรือ เรื่องของ E-learning ได้ครับ

 

สวัสดีครับอาจารย์พงษ์ศักดิ์

ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ

รูปของผม ยืนอยู่ด้านหลังท่าน CKO ผศ.ดร.พิศมัย ศรีอำไพ ครับ

ชื่อแจ๊ค

  • สวัสดีครับ อ.พงษ์ศักดิ์
  • เป็นKMที่เป็นธรรมชาติมากเลยครับ
  • และบล็อกของอาจารย์ก็สวยงามมากเช่นกันนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ผมเสนอ งบฯ '51 เมื่อวานนี้เองครับ

คาดว่าเรื่องวิชา GE  ปีหน้าคงเห็นการเป็นแปลงเป็น e-Learning เต็มตัวอย่างแน่นอนครับ

โปรดติดตามครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท