ถึงเวลาคิดใหม่ทำใหม่กับหลักสูตรการพัฒนาระบบสารสนเทศ


เป็นครั้งที่สองแล้วค่ะ ที่ดิฉันได้รับการติดต่อผ่าน GotoKnow จากคนไทยที่เรียนจบและทำงานต่ออยู่ต่างประเทศ ทั้งสองท่านนี้เป็นมันสมองของชาติในสาขาที่คาดแคลน คือ ด้านพัฒนาระบบสารสนเทศ ค่ะ

ที่ดิฉันกล่าวว่่่่า ขาดแคลน ก็เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ใช้งานได้จริง ซึ่งนักพัฒนาต้องเข้าใจและสามารถนำมาใช้เป็นซึ่งหลักการของ User-centered system development (UCD) นั่นยังน้อยมากสำหรับประเทศไทยค่ะ

เนื่องมาจาก การเรียนการสอนด้านนี้ในประเทศไทยยังมีจุดอ่อนอีกเยอะค่ะ เช่น

- เน้นการพัฒนาระบบในรูปแบบการพัฒนาแบบเดิมๆ

- เน้นเฉพาะการพัฒนาในส่วน computer ไม่เน้นด้าน human เช่น เน้นแต่เขียน DFDs, ER Diagrams ต่างๆ แต่นำไปใช้ไม่ได้ เพราะเก็บ requirements จากผู้ใช้ไม่ครบถ้วนและวิเคราะห์ไม่เป็น

- เน้นการใช้ tools ต่างๆ ปรากฎว่าใช้ tools เป็น แต่ไม่เข้าใจหลักการการพัฒนาระบบ

- ไม่เน้นให้เข้าใจทฤษฎีและหลักการด้านการพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับการทำงานของ Human information processing

- ไม่เน้นให้เห็นความสำคัญของ user involvement ในตลอดการพัฒนา กลายเป็นว่า นักพัฒนาเหล่านี้มี Ego สูงมาก และเอาความรู้ด้าน technical ต่างๆ ที่เรียนมา เป็นเกราะกำบัง ไม่พยายามเข้าใจและไม่สนใจผู้ใช้

- ไม่ให้ความสำคัญแก่ทีมงานพัฒนาที่ทำงานในส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการเขียน program เช่น usability engineer, HCI engineer, graphic designer, interface designer, information scientist, information architecture, information designer แล้วแต่จะเรียกค่ะ

หลักสูตรการเรียนการสอนด้านการพัฒนาระบบของประเทศไทยต้องมาคิดใหม่ทำใหม่ค่ะ 

ดิฉันเป็นคนแรกที่สอนวิชา Human-Computer Interaction ​(HCI)  ในมอ. เมื่อประมาณ 3-4 ปีมาแล้วค่ะ ซึ่งเป็นวิชาที่เป็นรากฐานให้นักพัฒนาระบบเข้าใจแนวคิดและหลักการของการพัฒนาระบบแบบ User-centered system development

แต่ดิฉันไม่เคยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้เป็นวิชาหลักค่ะ ปัจจุบันก็จะเป็นเพียงแค่วิชาเลือก

บอกได้อย่างเดียวว่า KnowledgeVolution จะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าหากไม่มีแนวคิดทางด้าน Usability เข้ามาเป็นฐานความคิดค่ะ 

ดิฉันเป็น Usability Engineer ส่วน ดร.ธวัชชัย เป็น Computer Scientist ค่ะ ทีมงานขาดงานใดงานหนึ่งไม่ได้อย่างแน่นอนค่ะ 

A system developer is not a king, but a customer is.


หมายเลขบันทึก: 77592เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
วันที่สถานการณ์สุกงอม  จะมีคนมาอยากรู้ด้วยความต้องการที่จะรู้และทำครับ  วันไหนคือวันนั้น  ผมไม่รู้ครับ  ต้อง Education กันอย่างรีบเร่งครับ

เห็นด้วยครับ

บ้านเราชอบแก้ปัญหาปลายเหตุครับ

สิ่งที่ต้องทำ คือ คงต้องสร้างคนให้คิดถึงต้นเหตุของปัญหา แล้วแก้กันที่นั่น 

ตามหลัก อริยสัจ 4 ครับ

 เด็กเดี๋ยวนี้ คิดไม่เป็นกันแล้วครับ เป็นทาส วัตถุนิยม จนสมองฝ่อ หมดแล้ว

ขอบคุณครับ ;) 

 

อยากให้โปรแกรมเมอร์ทั้งหลายเปลี่ยนแนวคิดเป็นแบบที่อ.จันทวรรณบอกจังเลยค่ะ นี่ถ้าวิชานี้ยังเป็นแค่วิชาเลือก เราคงต้องรออีกนานกว่าจะมีโปรแกรมเมอร์คลื่นลูกใหม่ใช่ไหมคะ เจอแต่แบบที่คิดว่า He's the King of the King เบื่อจะแย่อยู่แล้วค่ะ

ดิฉันก็คงทำในสิ่งที่ดิฉันพอจะช่วยด้วยได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ KnowledgeVolution ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด เพื่อจะเป็น best practice ให้แก่นักพัฒนาท่านอื่นๆ

และในขณะเดียวกันก็จะพยายามบันทึกความคิดประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดออกไปผ่านทางบล็อก http://HCI.gotoknow.org หวังว่าคงมีคนได้เข้ามาใช้ความรู้เหล่านี้ค่ะ เหมือนปิดทองหลังพระนะค่ะ เพราะเราไม่เห็นว่าใครนำความรู้ไปใช้บ้างค่ะ

bloggers  หลายท่านคิดเช่นเดียวกันค่ะ :)

หนูดีใจนะค่ะ  ที่ได้เลือกเรียนวิชา Human-Computer Interaction ​(HCI)กับอาจารย์จันทวรรณค่ะ

ต้องบอกว่าวิชานี้ประยุกต์ใช้ได้กับงานหลาย ๆ อย่างมาก  อย่างน้อยเวลาที่หนูจะทำ presentation สิ่งหนึ่งที่ไม่ลืมคิด คือ จะทำอย่างไรให้คนที่ต้องดู present ของเรา ดูง่าย สบายตา ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มาก ๆ ค่ะ ที่ได้ให้ความรู้ดี ๆ มาโดยตลอด

เข้ามาในเว็ปนี้โดยบังเอิญค่ะ แต่เห็นด้วยกับความคิดอาจารย์นะคะ เพราะก็จบทางด้านนี้มาเหมือนกันแต่หางานที่นี่ยากมาก พอพูดถึง HCI คนไม่ค่อยจะรู้จักกันเลย ในมหาวิทยาลัยก็ไม่ค่อยจะมีวิชานี้ให้สอน

ก็เข้ามาทักทายค่ะ ดีใจที่มีคนคิดเหมือนกัน

อยากให้เพิ่มวิชา hacking (อาจจะมีชื่อดีกว่านี้เข้าไปในหลักสูตรด้วย) เพราะว่าหลายๆอย่างเหมือนเป็นของที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะซอฟต์แวร์เสรี ที่นำมาเป็นฐานในการแก้ไข ต่อยอดได้ บางทีก็ถูกละเลยไป แล้วก็ไปเขียนใหม่ (แบบไม่ดีกว่า) แทนอย่างน่าเสียดาย

เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นแม้แต่ใน lab เดียวกัน 

Open-source software development คงเป็นชื่อที่ดีตามคำแนะนำของคุณวีร์นะค่ะ :)

ปัญหาอาจจะเกิดจาก ตลอดเวลา 3-4 ปี ที่เรียนมาในมหาวิทยาลัย หรือก่อนหน้านั้น การบ้าน ข้อสอบ หรือโจทย์ต่างๆ ก็มักจะเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด (การเอางานของคนอื่นมาแก้ให้ตรงความต้องการเป็นบาปในห้องเรียน) พอมาทำ project ต่างๆก็อาจจะติดนิสัยนั้นมาด้วย (อาจจะกอปรกับขาดทักษะในการแก้โปรแกรมของคนอื่น) การต่อยอมโปรแกรมต่างจึงเป็นไปอย่างยากลำบากมาก
พอไม่ต้องไปทำโปรแกรมใหม่จากพื้นแล้ว ก็น่าจะมีเวลามาสนใจเรื่องรับ requirement สร้าง mock-up , page flow หรืออะไรทำนองนี้มากขึ้น :-D

HCI ค่อนข้างจะเป็นศาสตร์ที่เป็นหลักการและเจตคติ มากกว่าศาสตร์ที่เป็นหลักทางการตำเนินการ พูดกันง่ายๆ ก็คือ HCI เป็นศาสตร์ที่จะนำไปปฏิบัติโดยตรงไม่ได้ แต่เป็นศาสตร์ที่จะต้องใช้เป็นหลักยึด ฉะนั้น HCI จึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากที่จะนำไปปฏิบัติโดยใช้แค่กฏและเกณท์ ต้องอาศัยประสบการณ์และการศึกษาในรายกรณีเป้นหลัก 

 

การที่เราจะทำให้นักพัฒนารุ่นใหม่เห็นและยอมรับเรื่องเจตคติของการให้มนุษย์เป็นศุนย์กลางของการพัฒนาระบบมากกว่าเอาเทคโนโลยีเป้นศุนย์กลางต้องเป็นงานหนักและท้าทายเอาการที่จะเปลี่ยน

 

แต่เราก็เริ่มแล้วละครับ จากตรงนี้ สักวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะมองกลับมาแล้วยิ้มกับความสำเร็จ

  • ความคิด "สังคมมีส่วนอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรม ความคิดให้กับคลื่นลูกใหม่(เด็ก) ขอยกตัวอย่าง(จากความจริง) ในสังคมที่กำลังเห่อ graphic เกมส์ online , animation 3D ใครก็ต้องมองว่านี้คืองานที่ทำแล้วได้เงินเยอะ สังคมให้การยอมรับดูหรู ดูเป็นผลงานที่จับต้องได้ การสร้างเกมส์หรือการนำเข้ามีการยอมรับมากขึ้น"
  • หลักสูตรที่เห็นว่ามีการเพิ่มเข้ามาในคือกราฟิคและเกมส์ ซึ่งโดยส่วนก็ถือว่าเป็นการพัฒนาระบบ ai และการออกแบบกราฟิค ถ้ายังสนับสนุนส่วนนี้ก็เหมือนกับผลักดันให้ธุรกิจเติบโต(อย่าง adsl ที่ถูกลงเพราะร้านเกมส์) แต่มันสมองจะไปอยู่ด้านการพัฒนาเกมส์และกราฟิค(ไม่รู้คิดมากไปมั้ย)
  • จะมีนักพัฒนาที่มีใจรักอย่างน้องวีร์ สักกี่คนที่ยังชื่นชอบ text mode และรักในการพัฒนาระบบที่ไม่มีกราฟิค
  • รุ่นน้องหรือเพื่อนส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ เป็นผู้ดูแลระบบ(system engineer)  นักออกแบบระบบ(sa) หรือนักออกแบบ+พัฒนา web
    ไม่มีใครอยากเป็น developer งานหนัก พัฒนาช้า เงินเดือนน้อย ดูไม่มีผลงาน ก้าวหน้าช้า
  • เมื่อก่อนสังคมให้การยอมรับ developer(ตอนที่ computer ยังไม่เป็นเครื่องใช้ประจำบ้านเหมือนปัจจุบัน) แต่ในความเป็นจริง dev เปรียบเสมือนผู้ใช้แรงงาน (ผู้ว่าจ้าง) ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่ใช้งานอย่างหนัก เพราะบุคคลากรที่จบใหม่มีอัตราค่าจ้างต่ำกว่า ครั้นจะพัฒนาระบบ Open-source ก็ไม่รู้จะเอาตังก์ที่ไหนซื้อบะหมี่รองท้องไปวันๆ 
  • ขอยกตัวอย่างนักพัฒนาที่ดังหน่อยอย่าง web blog exteen อาจจะมองกันที่การยอมรับทางสังคม และมีงานประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีรายได้หรือผลกำไร ก็ไม่เกิดการจ้างงาน ทำกันด้วยความสมัครใจ หรือน้ำใจ ไม่มีคลื่นลูกใหม่ ก็ทำกันอยู่แค่ในทีม (หรือผมมองด้านเดียว)
  • บ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใช้มากกว่าผู้ผลิต เท่าที่สังเกตระบบ phpMyAdmin,phpNuke,CMS,Blog,Dairy, Web app ต่างๆ แต่หาผู้ที่พัฒนาระบบพวกนี้ไม่ได้ เป็นสังคมของผู้ใช้มากกว่า ไม่ได้มองเห็นคุณค่าของผู้สร้าง เหมือนเรื่อง Charlotte’s Web / แมงมุมเพื่อนรัก ที่กล่าวว่า "ใยแมงมุมไม่ใช่ปาฏิหารย์ แต่แสดงให้เห็นถึงปาฏิหารย์เบื้องหน้า"
  • dev เปรียบเสมือนแมงมุม ที่ทำงานหนักแต่ไม่มีใครกล่าวถึงว่ากว่าจะได้ระบบที่ดีขนาดนั้น เค้าทำงานไปกี่แสน กี่ล้านบรรทัด หรือคิดหัวแทบแตกกว่าจะได้ interface ที่สวยงาม ระบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แม้เพียงเล็กน้อย อาจใช้เวลาถักทอ(โค้ด)เป็นร้อย เป็นพันบรรทัด ไม่เคยมีใครใส่ใจ(concept open-source ให้ความสนใจกันที่ code บ้านผมยังไม่เจอสังคมแบบนี้)  คนส่วนใหญ่สนใจที่ผลลัพธ์ ที่จะได้จากระบบ ถ้าดีก็มีคนใช้ ถ้าไม่ดีก็ไม่มีใครพัฒนาต่อ ก็หายสาบสูญไปจากโลก
  • แทบไม่มีระบบ Open-source ที่เป็นของคนไทย ยกเว้น OS&Office ประมาณว่าไม่มีรายได้ก็ได้รับการยอมรับ การยกย่องทางสังคม
    ต่างประเทศทำได้ แต่เราแข่งกับเค้าไม่ได้
    ไม่มีทีมเวิร์ค ไม่มีใครอยากอดข้าว หรืออยากทำงานหนักแล้วได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า
  • และด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าเป็นความลับทางธุรกิจ เป็นลิขสิทธิของผู้ว่าจ้าง จะเอาโค้ดมาเปิดเผยก็กลัวคนอื่นจะทำตามแล้วดีกว่า ทำให้เสียผลประโยชน์ 
  • หลักสูตรการเรียนไม่ได้สร้างเรา แต่เราเลือกที่จะเป็น แมงมุม(ไม่มี)เพื่อนรัก (ถูกมองว่ามองโลกในแง่ร้ายอยู่บ่อยๆ)
  • ต้องถามสังคมก่อนว่าอยากได้คลื่นลูกใหม่แบบไหน ? ผู้ใช้เพื่อผลิตงานอย่างอื่น หรือผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

* ขออภัยด้วยนะครับถ้ามีถ้อยคำ+อารมณ์ที่แสดงข้อความไม่สุภาพ ;p

ชอบแนวคิดที่ว่า เพิ่ม วิชา hacking ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูเป็นนักศึกษาโปรเจ็กต์อาจารย์เมื่อสองปีที่แล้วเห็นจะได้ค่ะ รหัส 43 ค่ะ

เป็นนักเรียนที่ได้เรียนวิชา HCI กับอาจารย์และทำโปรเจ็กต์เกี่ยวกับ Interface สำหรับเด็ก

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้จากอาจารย์อยู่เป็นประจำ เพราะสนใจเกี่ยวกับด้านนี้มากๆค่ะ

วันก่อนได้เสอนหัวข้อวิจัยสำหรับปริญญาโททางด้านศึกษาศาสตร์เทคโนโลยีทางการศึกษาเกี่ยวกับ Usability ของ CAI และ WBI สำหรับเด็ก แต่อาจารย์บางท่านบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะแตกต่างนัก ตัวอย่างที่แนะนำไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบ Interface ค่ะ ก็เลยรู้สึกจนมุมเพราะพยายามยกนู่นนี่มาชี้แจงแต่ก็ไม่เป็นผล รู้สึกเศร้ามากๆ (อยากวิ่งกลับไปกางตำราที่เคยเรียนกับอาจารย์จันทวรรณแล้วเอามาชี้แจงอาจารย์อีกรอบ :)

 ต้องขอบคุณความรู้อาจารย์มากๆค่ะ ยังคงเชื่อมั่นในเรื่องของการออกแบบค่ะ

และเห็นด้วยมากๆกับมะปรางเปรี้ยวเลยค่ะว่าวิชานี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกทาง

 เป็นกำลังใจให้อาจารย์เสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท