มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ฝึกวินัยด้วยการพับผ้า


นอกจากจะได้ออกกำลังกายด้วยการถูพื้นห้องเรียน (แบบอิคคิวซัง) ได้ฝึกสมาธิจากการยิงและเดิน ได้ยืดกล้ามเนื้อจากการง้างคันธนูแล้ว พวกเรายังได้ฝึกวินัยจากการพับผ้าด้วย

ไม่ค่อยมีเวลาขอมามุขเดิมนะคะ photo blog ค่ะ : ) วันนี่นำภาพบรรยากาศการฝึกยิงธนูญี่ปุ่น (คิวโดะ) มาฝาก 

http://farm3.static.flickr.com/2189/2078615606_7ace25a091.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2363/2077827655_c2ef6ec3dd.jpg

ผู้ชายญี่ปุ่นผมยาวคือครูค่ะ กำลังดูท่ายิงว่าถูกไม๊ ส่วนฝรั่งผู้หญิงผมหยิกก็คือภรรยาครูญี่ปุ่น ช่วยกันสอนค่ะ

http://farm3.static.flickr.com/2129/2078617984_88d296c8f4.jpg

ที่อยากให้เห็นคือภาพนี้ค่ะ เป็นบรรยากาศหลังเลิกเรียน ทุกคนเปลี่ยนชุดแล้วกลับมารวมตัวกัน "พับผ้า" 

http://farm3.static.flickr.com/2295/2078618652_d0dceb2ffc.jpg http://farm3.static.flickr.com/2395/2077830767_96d83072ba.jpg

เป็นการฝึกระเบียบวินัยอย่างดีเลยค่ะ ผู้หญิงผู้ชายจะเด็กจะโตก็ต้องทำหมด ถ้าไม่พับแล้วจีบมันจะหายค่ะ แล้วกางเกง hakama นี้ก็ไม่ได้ซักกันง่ายๆ ต้องดูแลรักษาดีๆ

http://www.elovirta.com/2002/03/14/hakama/hakama.png
นี่คือวิธีพับค่ะ นำมาจาก http://www.elovirta.com/2002/03/14/hakama/
 

หมายเลขบันทึก: 150804เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 01:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • เห็นการพับผ้าแล้วทึ่งครับอาจารย์
  • ดีจังเลย
  • การฝึกให้เด็กๆช่วยเหลือตัวเอง
  • การพับผ้า การรีดผ้า การซักผ้า
  • จะทำให้เขาช่วยตัวเองได้มาก
  • แต่บ้านเราไม่ค่อยมีคนสอนเด็กๆเลยทำอะไรไม่เป็นอย่างน่าเสียดายครับ
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีค่ะอ.ขจิต

เอาสามีของมัทเป็นตัวอย่างได้เลยค่ะ

มัทชอบใจมากๆที่ไปเรียนคิวโดะแล้วเค้าพับผ้าเป็นเรื่องเป็นราว กลับบ้านก็ซักถุงเท้าผ้า (แบบที่แยกนิ้วแม่โป้งออก) ทันที ไม่มีทิ้งไว้หรือรอไว้ก่อน แถมซักถุงเท้าของมัทแถมให้อีก นึกไม่ถึงจริงๆว่าพาไปเรียนยิงธนูแล้วจะได้ผลเกินคาด (ฮา)!

อ.มัท ครับ

ผมเคยทำงานโรงแรม และทุกวันศุกร์เราจะมีการ ฝึกการพับแนบกิ้นครับ ก็พับแบบหลากหลาย ทำให้รู้ศิลปะบนโต๊ะอาหารได้

แถมยังมีการสอนจัดดอกไม้ ซึ่งต้องทำได้ทั้งชาย หญิง ที่เป็นพนักงาน เป็นความรู้ใหม่ที่ผมได้รับ เป็นอีกมุมหนึ่งที่ไม่เคย ก็ได้รู้

อีกความรู้หนึ่งคือ การพับผ้ามุมโต๊ะ ผมใช้ความรู้นี้ ในงานขององค์กรช่วงที่ทำงานประจำได้ดี

หลายคนแปลกใจว่าทำได้ไง ก็เราได้เรียนรู้มาก่อน

ทุกอย่างใช้สมาธิอย่างยิ่งยวดครับ ทำให้ใจแข็งๆของเรา นุ่มอ่อนลงได้เพราะกิจกรรมพวกนี้

ขอบคุณค่ะคุณเอก (จตุพร)

ชอบคำคุณเอกมากค่ะ

"ทำให้ใจแข็งๆของเรา นุ่มอ่อนลงได้เพราะกิจกรรมพวกนี้"

สวัสดีด้วยความคิดถึงมากๆๆๆๆค่ะ อ.มัท

อ่านที่ อ.มัทตอบ อ.ขจิตปุ๊บ พี่แอมป์ก็รีบล็อกอินกระโดดตุ๊บเข้ามาเลย   เพราะคำตอบของ อ.มัทประทับใจมาก..  : )
.....และภาพที่เห็นก็ชวนคิดเหลือเกิน....

บ้านเรา โดยภาพรวม ละเลยการฝึกวินัยเด็กไปเยอะเลยจ๊ะอ.มัท  เด็กๆจำนวนมาก ถูกสอน"ให้เรียน"อย่างเดียว  (พี่แอมป์ก็เกือบๆจะเป็นหนึ่งในนั้น)  ไม่ค่อยถูกฝึก ให้ทำงานบ้าน   ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า  เช็ดฝุ่น  เอาน้ำใส่ขวด   กวาดใบไม้  รดน้ำต้นไม้   ปีนหลังคากวาดใบไม้กับพ่อ  ไปตลาดกับแม่   ทำกับข้าวร่วมกัน  ไปยาลใหญ่  ถ้าอยู่ในโรงเรียนก็เทียบได้กับการทำเวรกวาดห้องเรียน  ลบกระดานดำ  กระดานขาว  มังคะ

ทั้งที่งานพวกนี้แหละ  ที่จะทำให้เขามีวินัย  มีน้ำใจ และเข้าใจ "วิถี" อันละเอียดอ่อนของปฏิสัมพันธ์ในทุกกิจกรรม  ที่จะต่อสานกันเป็นครอบครัว  จนทอดยาวเป็นวิถีชีวิต  ซึ่งก็คือฐานคิดของวัฒนธรรมศึกษานั่นเอง 

นึกถึงการชงชาของคนญี่ปุ่นขึ้นมาเลย  เขาฉลาดเนอะ    เขาใส่ความหมายเข้าไปในกิจกรรมพื้นฐานของชีวิต  เริ่มจากในครอบครัว  ทำให้เป็นพิธีกรรม เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์  จะได้สืบทอดวิธีคิดนี้ให้ยาวนาน(ที่สุดเท่าที่จะนานได้) 

...ถ้าพี่แอมป์ตีความผิดไปต้องขออภัยนะจ๊ะ    พี่ก็ไม่เคยเห็นพิธีนี้กับตาละ  ได้แต่อ่านๆดูเอา แล้วก็คิดไปเรื่อยเจื้อยตามประสา

การจะทำให้กิจกรรมใดๆในชีวิต  มีความหมายขึ้นมาได้นั้น (คือทำให้คนรู้สึกว่ามีคุณค่าและสำคัญพอที่จะใส่ใจสืบทอดนั้น)  ต้องออกแบบการสื่อสาร (อีกแล้ว  อิอิ) อย่างละเอียดอ่อน  ลึกซึ้ง   แบบที่ถ้อยคำและการสื่อความหมายนั้นต้องจับเข้าไปในใจคน  และให้ซึมลึกลงไปทุกอณูของหัวใจ  ให้ฝังรากหยั่งลึกอยู่อย่างนั้น 

และความศักดิ์สิทธิ์ของทุกพิธีกรรม  อยู่ที่การได้เอาตัวเป็นๆเข้าไปอยู่ในนั้น  ทุกคนต้องลงมือทำด้วยตนเอง  คนๆนั้นต้องได้รับรู้คุณค่าและความหมายอะไรบางอย่างด้วยอายตนะทั้งหมดของเขาเอง 

เขา ต้อง ลง มือ ทำ ด้วย ตนเอง
และ เห็นจริง ด้วยใจ ของ เขา เอง เท่านั้น

คนเหล่านั้นจึงจะสืบทอดวิธีคิด วิถีชีวิต  ความเชื่อ ค่านิยม  วัฒนธรรม ฯลฯ ที่พึงประสงค์อย่างที่เราหวังได้  

แต่โลกปัจจุบัน เราต้องสู้กับวัฒนธรรมเทคโนโลยี ที่มันทำอะไรๆแทนตัวเป็นๆของเราเกือบหมดแล้ว  แม้แต่การบอกรัก  อิอิ แล้วจะให้เขาเอา"ใจ"ที่ไหนมาสืบทอดวิถีเก่าๆ  ที่เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะทำไปทำไม  ใช้เครื่องมือช่วยอย่างที่เป็นอยู่นี่สบายดีออก  แล้วเราก็ยากที่จะอธิบายเขาด้วย  เพราะรอบตัวเขามีแต่ของประดิษฐ์โดยอิทธิฤทธิ์ของเทคโนโลยีที่ไกลดินทั้งนั้น    เขาได้ขยับตัวอย่างรู้คุณค่า...น้อยเหลือเกิน เพราะเทคโนโลยีช่วยเลื่อนนั่นขยับนี่ให้เขาเกือบหมดแล้ว

 วิถีพุทธนั้นลึกซึ้งนัก  เพราะที่สุดแล้วก็คือการรู้คุณค่าด้วยตัวเอง  (ทำเอง-รู้เอง) ทุกครั้งที่ขยับตัว  เขยื้อนใจ ต้องพิจารณาทุกการเคลื่อนไหว  แม้แต่ลมหายใจทุกๆช่วง   สงสัยเราต้องใช้ "พุทโธโลยี" ช่วยเสียแล้ว 

การออกแบบการสื่อสาร  เป็นงานหนักของ"ผู้ใหญ่ในวันนี้" เลยละ  : )

โอ้ยดูซิจ๊ะ...  พี่แอมป์ก็ไปซะยาวอีกแล้ว  นานๆได้คุยกับน้องสาว  ก็เลยบ่นเอ๊ยคุยยาวๆๆๆซะให้หายคิดถึง 

สุดท้ายนี้ พี่แอมป์อยากบอก (โดยทั่วๆไป อิอิ)  ว่า ความน่ารักของมวลมนุษยชาติ  คือน้ำใจที่จะช่วยกันทำงานโดยไม่แยกเพศเนี่ยแหละค่ะ   เฟมิ-นิดๆหน่อยๆ ขอยืนยัน และขอชื่นชมด้วยความจริงใจ  : ) 

อ้อ... ถึงอ.มัทจะใช้มุกเดิม... ก็ประทับใจทุกทีแหละจ๊ะ  เพราะทุกเรื่องที่น้องสรรหามาฝาก  ให้ข้อคิดดีๆทั้งนั้นเลยจ้า.... 

สวัสดีครับคุณหมอ

     ดูภาพแล้วให้หวนนึกถึงและเป็นห่วงเด็กไทยครับ...

          พ่อแม่ในยุคก่อน...พยายามสอนให้ลูกทำการงานในเรือนให้ได้ และเรียบร้อย...บางครั้งอาจได้มาจากการบังคับก็จริง...แต่จะติดตัวลูกไปตลอด...

         แต่ในทุกวันนี้...อาจเกิดจากภาวะการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ...วัฒนธรรมดี ๆ ก็หายไปหลายส่วน...พ่อแม่ก็ต้องเร่งรีบ...จึงไม่พยามยามที่จะให้ลูกเห็นความจำเป็นและสืบทอดให้ได้...ด้วยการทำการแทนลูกหมดทุกอย่าง...สุดท้ายเราจะเหลืออะไร...ลูกเทวดาครับ

                                           สวัสดีครับผม

ขอบคุณค่ะพี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล)

ชอบใจที่พี่เขียนอีกแล้้วค่ะ ต้องใช้พุทโธโลยี  : )  ความคิดเห็นของพี่ทำให้มัทคิดต่อยอดได้อีกสองสามเรื่อง

เรื่องแรกคือ การทำให้งานธรรมดาเป็นพิธิกรรมพิธีการซะ อย่างการชงชา การเขียนพู่กัน การจัดดอกไม้ หรือแม้แต่การถูพื้นทำความสะอาด

ทั้งหมดนี้มีรากฐานมาจากเซ็น ให้ค่อยๆทำงานอย่างมีสติและมีความสงบ ให้รู้ทั่วตัวและใจอีกทั้งรู้รอบตัวว่าอะไรสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง รู้และใช้พลังชีวิต (Ki หรือ Chi หรือ ปราณ) ได้อย่างสวยงามต่อเนื่องไม่ติดขัด

เหมือนกับที่พี่แอมป์เขียนไว้คือ ใส่ความหมายไปในสิ่งที่ทำ 

เรื่องที่สอง เรื่องการสื่อสารให้ทำงาน ทำพิธีกรรมนั้นๆ มัทจะเล่าเรื่องการถูพิื้นห้องฝึกยิงธนูให้ฟังค่ะ

ตอนที่ไปเรียนแรกๆ มีป้าญี่ปุ่นท่านนึงคอยคุมเด็กใหม่ให้ถูพื้น พวกเราก็รู้ว่าถูให้สะอาด เราก็ถูท่าใครท่ามัน บางคนก็เอา mob มาถู ป้าแกทำหน้าเข้ม ไม่ได้! ต้อง traditional japanese style! ใช้ผ้าถูกไถก้นโด่งไปเรื่อยๆ 

มัทกับเจษฏ์ก็ไม่ถูกใจเท่าไหร่ ก็ก้นโด้งแล้วกางเกงในมันโผล่เอาง่ายอ่ะ! แล้วมี mob ทำไมไม่ให้ใช้ (ว๊ะ)

ปรากฎว่าตอนหลังอาจารย์รุ่นพี่มาถูด้วย คือมาทำให้ดู เราก็ทำตามด้วยความเกรงใจ

พอป้าไปแล้ว อ.ที่อายุไม่มากมาบอกว่าที่ต้องทำความสะอาดโรงฝึก (dojo) เนี่ยะ เพราะ

1. เราเป็นชุมชน ทุกคนต้องช่วยกัน

2. โรงฝึกเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ๋ การทำความสะอาดเป็นการแสดงความเคารพสถานที่

3. ผู้น้องจะได้แสดงความเคารพรุ่นพี่ คือถ้าพี่ถูอยู่รุ่นน้องต้องเข้ามาบอกเลยว่า ให้หยุด น้องทำเอง 

4. ถูกให้พื้นสะอาดแล้วยังต้องถูให้ใจสะอาดด้วยพร้อมกันไปด้วย

5. ที่ฝึกต้องสะอาด ไม่งั้นถุงเท้าสกปรก

และ 6. เราจดทะเบียนเป็นชมรมกีฬา พวกค่าใช่จ่ายเราเอาไปหักภาษีได้ แต่จริงๆคำว่ากีฬาหมายถึงกิจกรรมที่ทำให้อัตราการเต้นหัวใจขึ้นนานอย่างน้อยครึ่งชม. เพราะฉะนั้น ถ้ามีคนมาตรวจ เดี๋ยวคนจะว่าได้ว่าเราบิดกฎ การถูพื้นนี่แหละที่ทำให้เราเข้าข่ายถูกกฎ เฮอะๆ

4 ข้อแรกดูดีเชียวนะคะ แต่ 2 ข้อหลังนี่แหละที่ทำให้เด็กทำตาม 

เด็กอาจยังไม่เข้าใจข้อ 1- 4 ยิ่งเรื่องให้ทำใจให้สะอาดไปพร้อมๆกับพื้นนี้คงยากหน่อย แต่เมื่อได้ลงมือทำเองแล้ว เค้าก็จะเข้าใจมากขึ้นไปเรื่อยๆ

ตอนนี้ป้าคนนั้นไม่มาซ้อมยิงแล้วค่ะ ไม่มีคนบังคับให้ถู แต่ก็ยังถูกันอยู่ : ) 

เรื่องนี้สอนด้วยว่า การบอกให้ทำแบบป้าบอกนั้นไม่ได้ผลหรอกค่ะ เพราะไม่รู้ที่มาที่ไป ทำไปทำไม การสื่อสารของครู แล้วก็การทำให้ดูเป็นตัวอย่างสำคัญจริงๆค่ะ

เรื่องสุดท้าย

คนที่คิดเรื่องพิธีชงชาก็คือ พระเซ็นอิคคิว ที่ภาพการถูพื้นก้นโด่งชินตาคนวัยเรานั่นเองค่ะ 

: )

ขอบคุณค่ะ นายช่างใหญ่

อย่าหมดหวังค่ะ คนเราเปลี่ยนกันได้ค่ะ : )

มัทคิดว่าปัญหาส่วนนึงเป็นเพราะพ่อแม่เองก็เห็นว่างานมันลำบาก เป็นเรื่องที่ไม่อยากทำแต่ต้องทำ 

มัทชอบที่ท่านติชนัทฮันสอนว่า ให้ล้างจานเพื่อล้างจานอ่ะค่ะ

การล้างจานมี ๒ แบบ  วิธีแรก ล้างเพื่อทำความสะอาดถ้วยชาม  วิธีที่สอง ล้างถ้วยชามเพื่อที่จะล้างถ้วยชาม”

...ถ้าหากว่าขณะล้างจาน เราไปคิดถึงแต่ว่าเดี๋ยวจะไปดื่มน้ำชา หรือคิดถึงเรื่องอื่นที่จะมาในอนาคต เราก็จะรีบล้างจานให้เสร็จๆ ไป เหมือนกับว่าเป็นเรื่องที่น่ารำคาญเหลือเกินแหละ เราไม่ได้ "ล้างจานเพื่อล้างจาน" แล้ว  และยิ่งกว่านั้น  ตอนล้างจานเราก็ไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วย  เราไม่อาจจะเข้าถึงความมหัศจรรย์ของชีวิตขณะที่เรายืนอยู่ที่อ่างล้างจานได้   และถ้าเราล้างจานไม่เป็น  ตอนที่เราดื่มน้ำชาเราก็ไม่ได้ดื่มน้ำชาด้วย  เพราะเรามัวจะไปนึกถึงเรื่องอื่นเสีย เกือบจะไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าเรามีถ้วยชาอยู่ในมือ  ด้วยเหตุนี้เราก็เลยหลงเข้าไปอยู่ในโลกของอนาคต  และจริงแล้วมันหมายความว่า เรามีชีวิตอย่างแท้จริงไม่เป็นเลยนิดเดียว"

- จากหนังสือ “ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ”

สวัสดีครับพี่มัทนา
ผมเห็นวิธีพับฮากามะแล้วนึกถึงฺฮากามะของตัวเอง

จีบมันจะคงอยู่รึเปล่าน้า

ตอนนี้ผมได้Shodan Ranking ของคิวโดแล้วนะครับ ดีใจมาก

เพิ่งกลับมาไทยได้เมื่อวานนี้ แบกธนูพร้อมอุปกรณ์ทุกอย่างมาหมดเลยฮะ ครูผมมอบให้มาเป็นที่ระลึก

ผมหวังจะได้เข้ายิงธนูพร้อมพี่ๆที่เมืองไทยนะครับ ถ้าเป็นไปได้

 

น้องศิระ

ดีใจด้วยจ้า พวกพี่จะสอบ shodan เดือน 7 หน้าที่ L.A.  น้องอย่าทิ้งนะ ฝึกๆไว้เรื่อยๆ ยิงไกลไม่ได้ก็ฝึก hasetsu โดยไม่มีลูกธนูไปเรื่อยๆ

ตอนนี้น้องสาวพี่ที่อยู่ kyoto ก็เริ่มไปยิงมา 3 ครั้งแล้ว 

อย่างน้อยเรามีกัน 4 คนแล้วที่ตามตัวกันเจอ : ) 

ฮาฮา.. คิดเหมือนคุณศิระเลยว่าฮากามะเรามันยังจีบอยู่รึเปล่า จริงๆเป็นฮากามะตอนรับปริญญาอ่ะค่ะ ตอนแรกกะจะขายทอดแล้ว แต่พอมาเริ่มหัดคิวโดะก็เปลี่ยนใจ เก็บไว้ดีกว่า เผื่อวันดีคืนดีได้ใช้

หนีกลับเมืองไทยไปหลายอาทิตย์ กลับมาอีกที จับคันธนูผิดๆถูกๆ แอบไปจับคันธนูแบบจับไม้กอล์ฟ ครูฝึกหัวเราะเลย มันลืมจริงๆแฮะ

เอารูปถูพื้นเวทีที่ใช้ฝึกยิงธนูมาฝากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท