โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้


สิ่งสำคัญคือการให้ความสำคัญกับเวลา ต้องมีเวลาในการทำความเข้าใจ มีเวลาในการทำ และห้ามคิดว่าการนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการทำงานเป็นภาระ

     

        ในวันที่ 3 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา ดร.เลขา  ปิยะอัจฉริยะ, ดร. สุวัฒน์ เงินฉ่ำ และคุณอุษา ชูชาติ ได้เข้าพบและหารือกับ ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช และทีม สคส. ในเรื่องการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และดร.เลขา  ปิยะอัจฉริยะ ได้เล่ารายละเอียดของโครงการเบื้องต้นว่าได้นำการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานแล้ว โดยทำสุ่มพื้นที่ พบว่ามี 4 เขตจาก 17 เขตที่ทำ KM ในรูปแบบของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ซึ่งใช้รูปแบบของสถาบันเพิ่มผลผลิตคือ สุพรรณบุรี เขต 1, สุราษฏร์ธานีเขต 1, พิษณุโลก เขต 1, สุรินทร์ เขต 1 และได้ร่างหลักสูตรขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการดังนี้

  1. ต้องการมีความรู้พื้นฐาน KM
  2. ต้องการกระบวนการที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานวิจัย KM ทุกขั้นตอน
  3. ต้องการมีทักษะในการปฏิบัติการ KM ในบทบาทต่างๆ
  4. ต้องการคำปรึกษาและที่ปรึกษาในขณะดำเนินการ
ซึ่งประเด็น/สาระของหลักสูตรคือ
  • การมีความรู้และแนวคิดพื้นฐานการจัดการความรู้
  • เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น Story Telling, สายธารปัญญา
  • การฝึกทักษะในการเป็นคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ และคุณลิขิต ฯลฯ
  • ศึกษากรณีตัวอย่างกระบวนการจัดทำ KM ครบวงจรในองค์กร
  • สรุปและชี้แจงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ KM กับการนำแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ
  • บทบาทของสพท. สถานศึกษาและคณะนักวิจัยส่วนกลาง
        ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ได้แสดงความคิดเห็นว่าจาก  Workshop ของเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 พบว่า การให้ผู้เข้าร่วมที่ผ่านกระบวนการ KM ในรุ่นที่ 1 มาแล้ว  ทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย"  ประจำกลุ่ม  ทำให้การเล่าเรื่องและกิจกรรมกลุ่มย่อยลื่นไหลเป็นอย่างดี และการให้มีตัวอย่างเรื่องเล่าก่อนเริ่มกิจกรรมเล่าเรื่องจริงๆ  ทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจและสามารถเล่าเรื่องหรือประสบการณ์ของตนเองตรงตามหัวปลาออกมาได้ดี  บรรยากาศการเล่าเรื่องจึงสนุกสนาน นั่นคือ “KM จะไปเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร” และทีมสคส. จะให้การสนับสนุนด้านเทคนิค (Technician Support) และในการจัดการฝึกอบรมปฏิบัติการครั้งนี้ ทีม สคส. เข้าไปช่วยจัดการอบรมแค่ 2 รุ่น คือรุ่นที่ 1 และ 2  โดยรุ่นที่ 1 จะจัดอบรมให้ และจะให้ทางทีมแกนนำของโครงการฯ ดูวิธีการจัด และในรุ่น 2 จะให้แกนนำรุ่นที่ 1 ดำเนินการจัดในรุ่นที่ 2 และทีมสคส. จะเข้าไปเสริม เพื่อให้ทางทีมแกนนำสามารถดำเนินการจัดในครั้งถัดไปได้ และในครั้งต่อๆ ไปทางทีมสคส. จะเข้าไปเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น
และเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมในการผลักดันให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป
        สิ่งสำคัญคือการให้ความสำคัญกับเวลา ต้องมีเวลาในการทำความเข้าใจ มีเวลาในการทำ และห้ามคิดว่าการนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการทำงานเป็นภาระ  ซึ่งอันที่จริงแล้วการนำ KM มาใช้เป็นเรื่องที่ช่วยการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และต้องมีการปลุกเร้าให้เกิดการเริ่มต้น เป็นอีกข้อหนึ่งที่สำคัญ
      และการดูงานโรงเรียนตัวอย่างที่มีการใช้กระบวนการ KM ในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนจีระศาสตร์ หรือโรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งเป็นการดูงานในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้กระบวนการ KM ได้ดียิ่งขึ้น
      และในการฝึกอบรมปฏิบัติการของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ มีการจัดจำนวน 6 ครั้ง โดยเริ่มต้นการอบรมในเดือน มิถุนายน 2549 ในเขตพื้นที่การศึกษา (เขตตรวจราชการศธ.)  
หมายเลขบันทึก: 23588เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์จ๊ะจ๋า...
  • ขอแสดงความชื่นชมบทความของอาจารย์ โดยเฉพาะ "60 ล้านความดี เริ่มที่เยาวชน" มีการทำเป็นชุดบทความ (ตอนที่...) ทำให้น่าติดตาม (ตอนต่อไป...)
อรุณศรี นิภานันท์

เรื่องนี้ทำเฉพาะการศึกษาพื้นฐานหรือค่ะ /จะทำในระดับอุดมศึกษาหรือไม่ /อยากมีส่วนร่วมในการเข้าไปศึกษาในเรื่องดังกล่าวจะต้องทำอย่างไร

ขอบคุณมากค่ะ

 

เริ่มโครงการแค่ในเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนคะ ยังไม่ได้ดำเนินการถึงในอุดมศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาอันได้แก่ กทม. ฉะเชิงเทราเขต 1 ลพบุรีเขต 1 อยุธยา เขต1 สุพรรณบุรีเขต2 แม่ฮ่องสอนเขต1 นครสรรค์เขต 3 พิษณุโลกเขต1 มหาสารคามเขต2 นครราชสีมาเขต1 สุรินทร์ เขต1 อุดรเขต3 หนองบัวลำภูเขต1 สกลนครเขต2 สุราษำร์ธานีเขต1 สงขลาเขต3 ยะลาเขต1 และเราจะมีประชุมกลุ่มย่อยกันเพื่อวางแผนงาน จะรายงานความคืบหน้าในฉบับต่อจากนี้นะคะ

ขอบคุณที่ติดตามและจะตอบคำถามหลังสุดของคุณอรุณศรี ในภายหลังคะ

เกษม ตันธนะศิริวงศ์

   Yes, it's important to get started with motivation or what KM users will acquire benefits from, so that they will consider KM a tool for improving themself or their organization. However, I wonder, "Would it be any different lectures for diversed KM tranees or organizations, for example,between high school teachers and village headers?

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท