เรื่องเล่าจากดงหลวง 85 ตลาดชุมชน (3) สิ่งที่ไม่คาดคิด


ตลาดชุมชนไม่ใช่พิมพ์เขียว แต่เป็นหลักการที่ชุมชนนำเอาไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละชุมชน จึงมีรูปแบบที่หลากหลายทั้งลักษณะการบริหาร ระเบียบ ข้อบังคับ ความชอบความถนัด ลักษณะเฉพาะของชนเผ่าพื้นที่ของชุมชนนั้นๆ และที่ปรากฏชัดเจนคือ มีเรื่องของบทบาทชายหญิงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเต็มที่ ผู้หญิงจะเป็นตัวหลักเสียส่วนใหญ่ ในการขับเคลื่อนการตลาดเสียด้วยซิ...

การเกิดขึ้นและพัฒนาตลาดชุมชนดูจะเป็นความสอดคล้องต้องกันระหว่างคนนอกที่มองเห็นโอกาสในการทำตลาดชุมชน และคนในที่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จึงทำให้ตลาดชุมชนขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าบางแห่งจะมีอุปสรรค แต่ก็เป็นช่วงการปรับตัวขององค์กรและกิจกรรม  

เรามองเห็นเงินไหลออกในกรณีศึกษาชุมชนแล้วมีข้อเท็จจริงแสดงออกมา และเมื่อทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่าเงินควรจะไหลออกให้น้อยลง ต้องทำกิจกรรมที่ให้เงินไหลเวียนอยู่ในชุมชนให้มากที่สุด ตลาดชุมชนจึงเป็นเค้าลางของสาระสำคัญดังกล่าว และเมื่อดำเนินกิจกรรมไปแล้ว 3 ปี การสัมมนาประจำปีทุกครั้งก็มีภาพสะท้อนออกมาว่า สิ่งที่ชุมชนได้นั้นมากกว่าเงินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อน ดังนี้ 

การขยายฐานการผลิตอันเป็นกิจกรรมพื้นฐานการพึ่งตนเอง: เมื่อมีตลาด และสินค้าท้องถิ่นขายได้ ก็เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการขยายฐานการผลิต โดยอาศัยแหล่งน้ำที่มีอยู่ทั้งส่วนตัวและแหล่งน้ำสาธารณะ ในกรณีแหล่งน้ำสาธารณะก็รวมกลุ่มกันปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เช่นที่บ้านโนนทองโนนธรรม จังหวัดมหาสารคาม บ้านคำข่า อ.กุดบาก จังหวัดสกลนคร พืชผักที่ปลูก เช่น ถั่วพุ่ม ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดหวาน ผักเสี้ยน แตงไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็มีหลายแห่งที่มีข้อจำกัดเรื่องแหล่งน้ำไม่มีหรือ มีแหล่งน้ำแต่ไม่มีน้ำเพียงพอ 

 ตลาดชุมชนเป็นกลไกทางวัฒนธรรม: ตลาดคือสถานที่ที่คนมาพบปะกัน ผู้มีสินค้าแม้ปริมาณน้อยๆก็มาขายได้ และผู้ที่มีเงินจำนวนน้อยก็มาซื้อได้เพราะราคาไม่แพง ตลาดชุมชนได้ก่อให้เกิดแม่ค้ารายใหม่ๆ ทุกเพศทุกวัย ซึ่งรวมไปถึงเยาวชนและเด็ก ซึ่งได้เรียนรู้การค้าขาย  

เช่นที่บ้านโจดหนองแก จังหวัดขอนแก่น มีเด็กและเยาวชนมาขายสินค้า 3 รายต่อนัด ที่บ้านกุดแฮด จังหวัดสกลนครกล่าวว่า ตลาดชุมชนทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขกับการได้มานั่งขายของและร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน เช่น ร่วมกันทำ ผงนัว  ปุ๋ยชีวภาพ และการตรวจอาหารปลอดภัย  ก่อให้เกิดความสามัคคี เช่น การรวมหุ้นเพื่อการพัฒนาตลาด เงินค่าการตลาดสามารถนำมาใช้เพื่อการประชุม รณรงค์ อบรมต่างๆ เด็นรุ่นใหม่หันไปกินอาหารขยะมากขึ้น ตลาดชุมชนมีส่วนช่วยให้มีการผลิตอาหารพื้นบ้าน และชักนำให้มาสนใจอาหารปลอดภัย โดยมีส่วนสำคัญให้รัฐลดค่ารักษาพยาบาลชาวบ้านที่เจ็บป่วยอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะอีกด้วย(หมายเหตุ ผงนัวคือสิ่งทดแทนผงชูรส ทำมาจากใบไม้ต่างๆมากกว่า 10 ชนิด รวมทั้งใบผักหวานป่าด้วย)

 แม่เฒ่าบางคนออกมาขายของ และบางคนมาเดินซื้อสินค้า

 ตลาดชุมชนกับสิ่งแวดล้อม: ที่บ้านกุดแฮดชาวบ้านกล่าวว่า คนที่เก็บของป่ามาขายได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในป่าชุมชนบนภูพาน เช่นหน่อไม้ ผักหวาน เริ่มมีการนำมาปลูกไว้ในสวนมากขึ้น แทนที่จะขึ้นไปเอาแต่ในป่าเท่านั้น แต่ก็มีบางส่วนที่ยังไม่เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ ก็เป็นประเด็นที่คณะกรรมการตลาดชุมชนนำเอาไปพิจารณาประชุมทำความเข้าใจกับสมาชิกร้านค้าและประชาชนทั่วไปในชุมชน ถึงระดับความพอดีในการใช้ประโยชน์จากป่าเพื่อการบริโภคและนำมาขายในตลาดชุมชนและส่งเสริมให้เกิดการปลูกทดแทนในที่ส่วนบุคคลมากขึ้นด้วย  

บทบาทสตรีโดดเด่นมากในงานตลาดชุมชนทุกแห่ง

จากการศึกษาของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น(RDI)พบว่า ตลาดชุมชนไม่ใช่พิมพ์เขียว แต่เป็นหลักการที่ชุมชนนำเอาไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละชุมชน  จึงมีรูปแบบที่หลากหลายทั้งลักษณะการบริหาร ระเบียบ ข้อบังคับ ความชอบความถนัด ลักษณะเฉพาะของชนเผ่าพื้นที่ของชุมชนนั้นๆ และที่ปรากฏชัดเจนคือ มีเรื่องของบทบาทชายหญิงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเต็มที่ ผู้หญิงจะเป็นตัวหลักเสียส่วนใหญ่ ในการขับเคลื่อนการตลาดเสียด้วยซิ... ยกให้เธอเป็นแม่ทัพใหญ่เถอะงานนี้ เพราะเธอละเอียดลออมากกว่าผู้ชายหลายเท่าตัวเลยครับผม..

คำสำคัญ (Tags): #rdi
หมายเลขบันทึก: 93498เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 01:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

ใตรๆมากๆ พูดกันมานานว่า

ผู้หญิงจะเป็นตัวหลักเสียส่วนใหญ่ ในการขับเคลื่อนการตลาดเสียด้วยซิ... ยกให้เธอเป็นแม่ทัพใหญ่เถอะงานนี้ เพราะเธอละเอียดลออมากกว่าผู้ชายหลายเท่าตัวเลยครับผม..

ทำไมไม่ใช่ผู้ชายคะ

จริงๆผู้ชายน่าเป็น หัวแถวนะ

สวัสดีครับ

เธอก้าวเข้ามาจัดการเองครับ ส่วนผู้ชายเป็นคนจัดการอยู่เบื้องหลังมากกว่า เช่น จัดการประชุม จัดเตรียมสถานที่ตลาดชุมชน ติดต่อทางราชการ การส่งเสริมการผลิต

ส่วนสตรีนั้นเป็นผู้กำหนดแผนการผลิตเองเลยในกรณีบ้านคำข่า..?? เธอเก่งมากครับ

ที่ผู้ชายมีบทบาทมากก็มี เช่นที่บ้านหนองแคน ทาง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เข้ามาเป็นผู้จัดการให้ทุกอย่าง และยกทีมงานมาช่วยทั้งหมดครับ

ชุมชนที่เป็นชนเผ่าผู้ไทยนั้น โดยทั่วไปไม่เฉพาะเรื่องตลาดนะครับสตรีจะมีบทบาทมากจริงๆ แม้แต่การประชุมมีแต่สตรีมาเข้าร่วมมากกว่าผู้ชาย แตกต่างจาก ไทยอีสาน และชนเผ่าอื่นๆครับ

การตลาดในรายละเอียดนั้น เช่น การเก็บค่าตลาด ผู้ชายเป็นคนเก็บ ส่วนการจัดการว่าใครจะนั่งขายตรงไหน เอาวันไหนขาย วันไหนหยุด ฯ สตรีมีบทบาทสูงมากครับ

ประเด็นที่ตั้งไว้น่าสนใจมากครับ ผู้ชายน่าจะเป็นหัวแถวนะ ?

ถ้าไม่รบกวนมาก ขอภาพประกอบอย่างนี้ได้จะเยี่ยมมาก ทำให้เห็นบรรยากาศสดๆนะครับ

เห็นด้วยครับครูบาครับ 

พยายามจะเอารูปมาใส่ บางทีหารูปที่ต้องการไม่ได้เหมือนกัน รูปน่ะมีมาก แต่ไม่ตรงกับเนื้อหา

 

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ พี่บางทราย ผู้ชายเป็นหัวแถวไปเคลียร์ ไปจัดพื้นที่ให้สะดวกนะคะ ดีแล้ว ผู้หญิงละเอียดอ่อนมากกว่าอย่างคุณsasinanda กล่าวไว้เห็นด้วยมากเลยค่ะ จึงทำสิ่งที่ต้องใช้ความสามารถ ความอดทนในการบริหารจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหารการกินของครอบครัว

 

สวัสดีน้องคุณนาย

เห็นด้วยครับ เป็นจังหวะด้วยกระมังครับว่าที่หมู่บ้านที่มีตลาดชุมชนนั้นเป็นชนเผ่าผู้ไทย ซึ่งสตรีมีบทบาทมาก ไม่ใช่เฉพาะกิจกรรมนี้เท่านั้นนะครับ เกือบทุกกิจกรรมสตรีมีบทบาทมากกว่า ซึ่งเราไม่ได้เข้าไปจัดการอะไรเลย เป็นเรื่องที่ทางชุมชนเขาจัดการกันเอง  อย่างไรก็ตามก็เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนั้นครับ

สวัสดีครับ พี่บางทราย  ในชุมชนที่เข้มแข็งถ้ามองลงไปให้ลึกจะเห็นว่าส่วนหนึ่งเริ่มมาจากกลุ่มแม่บ้านที่เข้มแข็ง รวมตัวกันได้ครับ  ทำให้ต้องมามองถึงการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน บางทีต้องมุ่งไปที่กลุ่มแม่บ้านก่อนครับ
  • สวัสดีครับน้องภูคา
  • ใช่ครับหารศึกษาชุมชนก่อนเพื่อให้เราเข้าใจสถานการณ์ของชุมชนจึงเป็นงานเริ่มแรกของคนนอกที่เข้าไปทำงานกับชุมชน
  • ใช่ครับบางแห่งแม่บ้านแข็งและเข้มมากด้วยจริงๆ หากเริ่มที่นั่นก่อนย่อมเป็นการใช้ร่วมมือเข้ากับศักยภาพชุมชนอย่างแท้จริง
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท