เรื่องเล่าจากดงหลวง 115 วงจรหน้าจืด ทั้งบานทั้งจืด


บัดนี้เวลาก็ล่วงเลยมานานโขแล้ว มีแต่ “หน้าบานแบบจืดๆ” ครับทั้งในเมืองและชนบท

รถยนต์กับคนทุกชนชั้นเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้วหรือ..? ในบางประเทศเขามี Zone ให้รถวิ่งในเมืองอย่างจำกัด เมื่อเข้าเขตนั้นๆ ก็ต้องจอดรถของคุณไว้ แล้วใช้จักยานขี่ต่อไปตามเป้าหมายที่จะไป เมื่อคราวก่อนผู้บันทึกเขียนไว้ว่าพี่น้องดงหลวงได้เงินพิเศษมาจากรัฐบาล เหมือนส้มหล่นสมัยเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่รัฐค้างคาสัญญาที่ทำกันไว้ เมื่อท่านนายกคนปัจจุบันขึ้นแท่นก็ใช้โอกาสนี้จัดการข้อคั่งค้างนี้ซะ  ชาวบ้านยังไม่ทันได้จับเงินเลย สั่งเหมารถมอเตอร์ไซด์มาจากร้านในเมืองให้มาส่งเป็น Lot ใหญ่ นับหลายสิบคัน ก็เงินของเขา เขาอยากจะซื้ออะไรก็เรื่องของเขา มุมนี้ไม่มีใครคัดค้าน แต่มุมมองอื่นๆน่าสนใจ เช่น ทำไมเขาไม่เก็บเงินก้อนนี้ไว้สำหรับลงทุนทางการเกษตร ทำไมไม่ฝากเงินไว้ก่อนเพื่อความจำเป็นต่างๆค่อยเบิกมาใช้ ใช้อย่างมีแผนหน่อย ...ทำไม...ทำไม.. 

เพื่อนรุ่นน้องท่านหนึ่งเป็นรองสาธารณสุขจังหวัดแห่งหนึ่งและเป็น ผอ.วิทยาลับชุมชนด้วย กล่าวกับผู้บันทึกว่า  

พี่ พี่ เห็น Fortuner คันงามนั่นไหม   

ผู้บันทึกก็ตอบว่า เห็น ทำไมหรือ..  

น้องกล่าวต่อไปว่า พี่ทราบไหมว่า รถ Series นี้ที่วิ่งบนท้องถนนแถบนี้ ผู้เป็นเจ้าของส่วนมาก ถึงหกในสิบคันเป็น ผอ.โรงเรียนครับ....  

น้องท่านนี้เป็นเพื่อนกับเจ้าของศูนย์ขายรถยนต์ยี่ห้อนี้ จึงทราบข้อมูลดี  และเงินที่เอามาซื้อคือเงินที่มาจากการกู้สหกรณ์ครูครับ  คนไหนคนนั้น... หากตามไปดูยอดเงินกู้สหกรณ์ก็พุ่งพรวดพลาดทะลุทะลวงมากยิ่งกว่าตลาดหุ้นเสียอีก ทำไมถึงมีค่านิยมเช่นนั้น ท่านนักการศึกษาจะไปปฏิรูปการศึกษาต้องนั่ง Fortuner ไม่งั้นปฏิรูปไม่ได้..ไปไม่เป็น.. กินไม่ได้ แต่เท่ห์ระเบิดเถิดเทิง..   

ที่สนามกอล์ฟจะพบว่าท่าน ผอ.มาดเข้มด้วยเสื้อผ้ามีระดับ ก้าวลงมาจากรถยี่ห้อนี้แล้วก็วาดลวดลายในสนามด้วยเงินติดปลายนวมครั้งๆหนึ่งไม่ต่ำกว่า 2-3 พันบาท สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นบางคนบางท่านเท่านั้นนะครับ  แต่มีไม่น้อย ยิ่งสถิติที่น้องผู้บันทึกกล่าวมายิ่งสะดุ้งหลายตลบ.. 

ทั้งหน้าจืดหน้าบานมันควบคู่กันไปเพราะค่านิยมจมไม่ลง  

ผู้บันทึกเคยมีโอกาสลงลึกเรื่องกองทุนหนึ่งของรัฐที่เจตนาเพื่อให้ชาวบ้านกู้ไปทำการเกษตรต่างๆ ซึ่งในหลักการต้องมีคณะกรรมการในหลายระดับตั้งขึ้นมาช่วยกันทำงานพิจารณาเงินกู้ แล้วก็อนุมัติเงินกู้

·        ใครอยากกู้ก็ไปเขียนแบบฟอร์มแสดงเหตุผลการกู้เพื่อการเกษตร 

·        ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณา

·        หากอนุมัติก็เอาไปเลย

·        แล้วเงินที่ได้มาก็เอาไปใช้ตรงบ้างไม่ตรงบ้างกับวัตถุประสงค์ที่ขอกู้เงิน                                                                                  

·        สมมุติว่าเอาเงินไปใช้จริงๆตามวัตถุประสงค์ ก็ไม่มีหลักประกันว่าจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ เพราะอาชีพการเกษตรนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก บริษัทประกันภัยไม่กล้ารับประกัน  หรือจะทำก็เลือกดีๆ และเบี้ยประกันสูงมาก ชาวบ้านชายป่าที่ไหนจะไปทำประกัน

·        หน่วยงานที่ปล่อยก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรที่จะตามไปดู ไปให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการทำการเกษตรต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงลงมา

·        ผลที่สุดก็ล้มเหลว วงจรกู้เริ่มเกิดขึ้นใหม่เพื่อใช้หนี้เก่า แล้วก็วนเวียนซ้ำซากแบบนี้ และแน่นอนหนักมากขึ้น 

ถามว่าเจ้าหน้าที่รู้ไหมเรื่องเหล่านี้ รู้ครับแต่ไม่มีเงื่อนไขที่ดีเพียงพอในการแก้ไข ได้แต่ประชุมแล้วก็ฝากเตือนชาวบ้านเรื่องนี้  มันจะไปแก้อะไรได้ล่ะ การแก้ปัญหานี้ไม่ใช่แค่ประชุมแล้วบอกอย่างนั้นอย่างนี้  ง่ายจัง.. 

กองทุนเงินล้านเข้าไปอีก ชาวบ้านก็ปรบมือชอบใจ ยกนิ้วให้กับท่านผู้วิเศษที่จะแก้ความยากจนในหกปี  กองทุนเงินล้านก็แปรสภาพเป็นมอเตอร์ไซด์ ที่บริษัท ห้างร้านก็รับลูกทันที สมัยก่อนต้องวางเงินดาวน์ เป็นหมื่น  ไม่กี่ปีต่อมา แค่เงิน พันบาทก็เอารถมอเตอร์ไซด์ออกได้แล้ว วันนี้ไม่ต้องดาวน์มาเอารถคันสวยออกไปได้เลย เพียงสองสามเดือนรถมอเตอร์ไซด์คันสวยนั้นก็กลับมาวางที่หน้าร้านขายในฐานะรถยืด    

 หกปีที่จะแก้ไขปัญหาความยากจน แบบ อาจสามารถโมเดล ข้าราชการสะดุ้งเมื่อเวลาใกล้เข้ามา ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย บังเอิญที่กรุงเทพฯเกิดเภทภัยทำให้เก้าอี้ตัวหนึ่งขาหักลง เลยส่งผลให้อาจสามารถโมเดล กลับเข้าไปอยู่ในมิติของอดีตไปแล้ว 

บัดนี้เวลาก็ล่วงเลยมานานโขแล้ว มีแต่ หน้าบานแบบจืดๆ ครับทั้งในเมืองและชนบท  

หมายเลขบันทึก: 102607เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับน้องขจิต

  • พี่ตามไปเยี่ยมแล้วครับ
  • มุมมองนักการเมืองนั้นบางทีเราก้ได้ข้อสรุปใหม่ว่า เขาจริงใจครับที่จะแก้ไขปัญหาสังคม แต่ก็จริงใจกับการหาผลประโยชน์ใส่ตนด้วยแบบคู่ขนาน และมากกว่าด้วย (ฮาแบบแหบๆๆ)
  • ประวัติศาสตร์สอนเรามาหลายบทแล้วไม่จำกันเน๊าะ

สวัสดีค่ะ

อยากเห็นคนชนบทคิดอะไรยาวๆกว่านี้ค่ะ

ช่วยเล่าหน่อยค่ะว่า คนสูงอายุ50 upเขาทำอะไรกัน

คนชนบทอายุไม่มากแต่ดูเหมือนอายุมากค่ะ เพราะเขาตรากตรำมากกว่า

ลองอ่านที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/goodliving/102625

สวัสดีครับท่าน sasinanda

ชาวชนบทอายุเกิน 50 เขาทำอะไร  ก็ทำงานตามปกติครับ ยังทำนาทำสวนเหมือนเดิม ยกเว้นว่ามีลูกหลานอยู่ด้วย ลูกหลานก็ช่วยทำงานมากขึ้น  แต่ที่พบเห็นยังขึ้นภูเขา เลี้ยงวัว เก็บผัก รดน้ำต้นไม้ แต่ง่รที่ใช้กำลังมากๆเช่นไถนา ขุดดินก็ให้ลูกหลานทำครับ

คนชนบทตากแดดตากฝนจึงดูอายุแก่กว่าจริง ผมจะตามเข้าไปดู blog ครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณบางทราย

แวะมาเยี่ยมอีกแล้วครับ

ผมเห็นด้วยกับคุณขจิตทุกข้อเลย   โดยเฉพาะเรื่องความไม่จริงใจในการแก้ปัญหาของนักการเมือง(ส่วนใหญ่)

นักการเมืองส่วนใหญ่จะคิดหาโครงการใหม่ๆให้ชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านประทับใจว่ามี"ผลงาน" เลือกตั้งครั้งหน้าจะได้อ้างเอาบุญคุณกับชาวบ้านได้ แต่หลังจากมีโครงการแล้ว ไม่เคยติดตามดูผลสัมฤทธิ์เลย

แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะเหลืออะไร?ล่ะครับ

อาจารย์ศิริศักดิ์ครับ 

  • ผมลงคะแนนให้กับนักการเมืองหนุ่มเมืองหมอแคนทุกครั้ง ตั้งแต่เขายังเป็นพลังธรรมที่เช้ารถปิคอัพเปิดหลังคายกมือไหว้ชาวบ้านทั่วเมือง
  • แต่แล้วก็ผิดหวังที่เขาเปลี่ยนไปจนรับไม่ได้
  • แต่ที่ดีๆก็มีอยู่บ้างครับ แต่หาทำยายากจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท