ความสุขในการเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หาดใหญ่ (3)


"เพื่อนช่วยเพื่อน"

             การดำเนินการในเวที  บางครั้งต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา  ในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากร "การจัดการความรู้เพื่อการส่งเสริมการเกษตร" โดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  บันทึกตอนที่ 2 บันทึกตอนที่ 1

             ช่วงเช้าของวันที่ 20 กันยายน  2550  เป็นหน้าที่ของผมและพี่เกรียง (เกรียงไกร  เลขาพันธ์)  ต้องดำเนินการ   ซึ่งได้รับมอบห้องอบรมมาเลยจากทีมวิทยากร ของ ม.อ. ว่ามอบหมายไปเลยเต็มที่ตามกระบวนที่ผมและพี่เกรียงต้องการ 
 
             หลังจากสังเกตการณ์   ในช่วงเย็นของวันที่ 19 กันยายน 2550 แล้ว  โดยดูข้อมูลการอบรมของ 3 วันแรก  ก็หารือกันระหว่างผมกับพี่เกรียง  เพื่อให้กิจกรรมเชื่อมโยงและเป็นประโยขน์กับผู้เข้ารับการอบรม   และให้ได้รู้จริง ๆ

             ในส่วนของผมที่ต้องการมากที่สุดที่ตั้งใจไว้คือ  "เพื่อนช่วยเพื่อน"  ทุกคนก็เป็นพี่เป็นน้องเป็นเพื่อนนักส่งเสริมการเกษตรด้วยกัน   ที่อยากช่วยเพื่อนเนื่องจากที่ผ่านมากระบวนการ KM    ช่วยผมให้ผ่อนเบาในการทำงานลงได้จริง ๆ  และทำงานในบรรยากาศที่สนุกกับเกษตรกร   จึงอยากให้เพื่อนได้นำไปใช้  และไม่คิดไปผิดทางไม่เช่นนั้นเหมือนเป็นการเพิ่มงาน  กลายเป็นมีความจำเป็นที่ต้องทำ   ไม่ใช่เป็นเครื่องมือ 

             ช่วงเช้าวันที่ 19 กันยายน  2550  มีความจำเป็นที่จะต้องบรรยาย    เพื่อสร้างความเข้าใจให้เพื่อน ๆ    แต่ผมก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องราวประสบการณ์   โดยเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้ผมไม่เข้าใจและไปผิดทาง   เผื่อว่ามีใครอาจคิดแบบที่ผมคิดในตอนก่อนหน้านี้
   
            จะว่าไปแล้วจะให้เข้าใจเลยก็ไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าหากไม่ลงมือทำ  ยิ่งมีใจติดยึดและเกรงทฤษฎีด้วยแล้ว  ยิ่งทำให้ขาดความมั่นใจในการลงมือทำ    

            โมเดลปลาทู    ส่วนหัวส่วนเดียวมีคนพูดถ่ายทอดทางทฤษฎีไม่เหมือนกัน   เป็นทั้งที่เขียนไว้ว่า  "วิสัยทัศน์ " "คุณเอื้อ"  "กำหนดทิศทางว่าจะไปทางไหน"  แล้วอะไรกันแน่  สับสนได้ง่าย ๆ  

             ในบริบทของนักส่งเสริมฯ แล้วอาจมีความแตกต่างกับองค์กรใหญ่ ๆ   เราคำนึงถึงองค์กรเล็กของเราที่เราสังกัด   งานที่ทำเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร   เพราะฉะนั้นต้องแยกความแตกต่าง  หัวปลาองค์กร  กับหัวปลางานกิจกรรมที่เป็นหัวปลาย่อยออกมาให้ได้อย่างเข้าใจ   จึงจะให้เข้าใจได้และปฏิบัติได้อย่างเชื่อมโยงไม่ขาดจากกัน

             ต้องลองลงมือทำไม่ต้องกังวลเรื่องจะถูกหรือผิดไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ทำไม่ได้เริ่ม

                                             


             ภาพที่ผมนำเสนอคือ ภาพ KM ที่ไปผิดทาง   คือภาพด้านบนนี้   ซ้ายของคาน  คือเทคโนโลยีกับเครื่องมือซึ่งเป็นส่วนที่เราเน้นหนักจนเกินไปและขาดความสมดุลกับทางขวามือ ซึ่งเป็นเรื่องของคน และกระบวนการ   การพยายามให้คนทำงานทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เข้าใจคนหรือจัดกระบวนการให้เหมาะสมกับเครื่องมือเทคโนโลยี  ก็ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายได้อย่างยากลำบาก   


เหมือนการลากเกวียนที่มีล้อเป็นสี่เหลี่ยมไม่สามารถลื่นไหลตามแรงน้ำหนักที่พยายามลากหรือดันได้   นี้คือส่วนหนึ่งสั้น ๆ ที่ผมพูดคุยกับ เพื่อน ๆ นักส่งเสริม ฯ  


                                            

     ผมพูดน้อย ๆ   เพื่อเตรียมการปรับเวทีในช่วงภาคบ่าย  โดยการฝึกปฏิบัติและต้องการองค์ความรู้ที่เป็นประสบการณ์จากเพื่อน ๆ ที่เคยฏิบัติงานมาแล้วจริง  

     

รวมถึงส่วนหนึ่งอยากให้เพื่อน ๆ เห็นกระบวนการพื้นฐานว่า KM เป็นอย่างนี้  ไม่ได้อะไรมากมายนัก  เมื่อเริ่มนับหนึ่งได้จะนับสองนับสามก็ต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด   จะดัดแปลงปรุงแต่งก็อยู่กับประสบการณ์หน้างานเราเอง
         

หมายเลขบันทึก: 134939เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • เมื่อชาติทีแล้วสงสัยเป็นคุณครูแน่ๆๆเลยพี่บ่าว
  • ชาตินี้เลยต้องมาเป็นคุณครูอีก
  • ดีใจที่ได้แลกเปลี่ยน
  • อยากให้ปรับตามบริบทของหน่วยงาน
  • ถ้าตามปลาทูทั้งหมด
  • คงมีโมเดลเดียวแน่ๆๆ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับพี่ชาญวิทย์
  • ลงมือทำเมื่อไรก็จะเริ่มเข้าใจ และพัฒนาต่อไปได้นะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

อาจารย์ขจิตครับ

  • มีอะไรแลกเปลี่ยนแนะนำบ้างนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่มาเยี่ยม

น้องวีรยุทธ (สิงห์ป่าสัก)

ดีใจมากในกิจกรรมการให้กำลังใจ Blogger ชาวกรมส่งเสริม ฯ  เป็นแรงกระตุ้นอย่างดีเลยครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยม

  สวัสดีครับ  พี่วิทย์

  • เข้ามาเก็บเกี่ยวประสบการจากพี่ๆ
  • ขอบคุณมากที่นำมาแบ่งปัน
มาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ค่ะ เรื่องอบรมKM ใส่เท่าไหร่ก้ไม่เต็ม อิอิ

สวัสดีครับ  น้องจุก(เกษตรยะลา)

  • รูปใหม่มาดเท่ห์ของจริง

 

 

สวัสดีครับ คุณแก่นจัง

  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ MOO

  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมให้กำลังใจนะครับ

สวัสดีค่ะพี่ชาญวิทย์

  • มาติดตามบันทึกประสบการณ์ของพี่ ค่ะ
  • "เพื่อนช่วยเพื่อน"  ทุกคนก็เป็นพี่เป็นน้องเป็นเพื่อนนักส่งเสริมการเกษตรด้วยกัน   ที่อยากช่วยเพื่อนเนื่องจากที่ผ่านมากระบวนการ KM    ช่วยให้ผ่อนเบาในการทำงานลงได้จริง ๆ  และทำงานในบรรยากาศที่สนุกกับเกษตรกร   จึงอยากให้เพื่อนได้นำไปใช้  และไม่คิดไปผิดทางไม่เช่นนั้นเหมือนเป็นการเพิ่มงาน  กลายเป็นมีความจำเป็นที่ต้องทำ   ไม่ใช่เป็นเครื่องมือ 
  • คำพูดของพี่โดนใจจริงๆ ค่ะ หนูก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน  ทุกวันนี้พี่ๆส่วนใหญ่ คิดไปผิดทาง คิดเป็นการเพิ่มงาน  กลายเป็นมีความจำเป็นที่ต้องทำ
  • หลายคนทำงานแบบไม่เปิดใจที่จะรับสิ่งใหม่ๆ เลยมองทุกอย่างเป็น negative  งานที่จะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ก็เลยไม่มี ทำแต่ตามหน้าที่
  • ถ้าเราชวนกันใส่หมวกสีเหลือง (ตาม ทฤษฎีหมวก) ได้ก็ดีนะคะพี่

หวัดดีค่ะพี่ชาญวิทย์ น้องจะพยายามนำความรู้ที่ได้รับการแลกเปลี่ยนไปใช้ค่ะ

ในบริบทของนักส่งเสริมฯ แล้วอาจมีความแตกต่างกับองค์กรใหญ่ ๆ   เราคำนึงถึงองค์กรเล็กของเราที่เราสังกัด   งานที่ทำเป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร   เพราะฉะนั้นต้องแยกความแตกต่าง  หัวปลาองค์กร  กับหัวปลางานกิจกรรมที่เป็นหัวปลาย่อยออกมาให้ได้อย่างเข้าใจ   จึงจะให้เข้าใจได้และปฏิบัติได้อย่างเชื่อมโยงไม่ขาดจากกัน 

P น้อง Tud Too

P น้อง Plam

P พี่ทวี

         ขอบคุณทั้ง 3 ท่านที่แวะมาเยี่ยมและร่วมแลกเปลี่ยน

         ต้องขออภัยที่มาตอบช้า  เพราะไม่ได้เข้ามานานเหมือนกัน 

       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท