บางเสี้ยว...แห่งลุ่มน้ำสาละวิน...มุมมองที่ถูกมองข้าม (ตอนที่ ๒ จบ )


ก่อนลาจากสาละวิน ฉันยังแอบหวังในใจเล็กๆ ว่าต้องมาเยือนดินแดนแถบสาละวินนี้อีกอย่างแน่นอน

ต่อจาก ภาคแรก

มนต์เสน่ห์ ..ท่าตาฝั่ง...

ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านทาตาฝั่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และชาวบ้านต่างมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งพิงอาศัยป่าและน้ำ ... ใช่แล้ว..น้ำสาละวิน..นี่เองที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดเส้นหนึ่งที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชน ความสมบูรณ์ของป่าและความสมบูรณ์ของน้ำสาละวินทำให้ชุมชนปกาเกอะญอกลุ่มนี้เลือกที่นี่เป็นที่อยู่อาศัย ความน่าสนใจไม่เพียงแค่น้ำสะวินเท่านั้น รายล้อมชุมชน การตั้งบ้านเรือน ชาวบ้านมีการปลูกพืชผักที่สามาถกินได้ไว้รอบบ้านและมีทุกหลังคา เรียกได้ว่าเดินไปทางไหนก็ไม่อดแน่ๆ เมื่อเดินไปรอบๆ ชุมชนจะเห็นว่าชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิมของปกาเกอะญอไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านเรือน การแต่งกาย ภาษา รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่

อ้ายไพโรจน์ พนาสกุล นักสื่อความหมายท้องถิ่น พาเราเดินชมรอบชุมชนพร้อมกับให้ความรู้ตลอดเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ เรื่องราวของพื้นที่สมัยที่มีทหารอังกฤษเข้ามาในช่วงที่มีสัมปทานป่าไม้ การทำไร่หมุนเวียน การทำนา ระบบการจัดการน้ำ (เหมือง) ของชุมชน จุดสาธิตและวิธีการหีบน้ำมันงาแบบโบราณที่หาชมได้ยาก การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาวบ้าน รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงพักเก่า สมัยที่ชุมชนยังไม่ย้ายมาอยู่จุดที่อยู่ในปัจจุบัน หาดแท่นแก้ว วิถีชีวิตประมงริมน้ำสาละวิน เรื่องราวต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากอ้ายไพโรจน์นั้น ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นให้เรารู้จักชุมชนท่าตาฝั่งมากยิ่งขึ้น

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเรื่องการจัดการหละ..ชาวบ้านทำยังไง..

อ้ายไพโรจน์ พนาสกุลเล่าให้ฟังต่อว่า ชาวบ้านได้คุยกันถึงเรื่องนี้ด้วย กลัว กลัวว่าผลประโยชน์จะมาสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในชุมชน จึงมีการจัดระบบการจัดการและจัดสรรรายได้ โดยราคาที่พักแบบ Home Stay 100 บาท/คน เจ้าของบ้านจะได้ 80 บาท อีก 15 บาท หักเข้ากลุ่มการท่องเที่ยว และอีก 5 บาท เอาเข้ากองทุนพัฒนาหมู่บ้าน ส่วนค่าอาหรนั้นมื้อละ 3050 บาท/คน แต่ไม่มีการหักเข้ากองกลาง และค่าบริการนักสื่อความหมาย นำเที่ยว 200 บาท/วัน/2-3 คน โดยนักสื่อความหมายจะได้ 190 บาท และหักเข้ากลุ่มท่องเที่ยว 10 บาท และได้ร่วมกันกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ชาวบ้านสามารถพาเที่ยวได้ 3 โปรแกรม ได้แก่

 1.      แบบ ไป กลับ 1 วัน จากท่าน้ำเข้าหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมในชุมชน ชมวิว

2.      แบบ 2 วัน 1 คืน เริ่มเข้าบ้านพักแบบ Home Stay ชมหาดแท่นแก้ว เที่ยวชม โรงพักเก่า ธนาคารอาหารจากป่าของชุมชน

3.      แบบ 3 วัน 2 คืน เริ่มเข้าบ้านพักแบบ Home Stay ชมหาดแท่นแก้ว เที่ยวชม โรงพักเก่า ธนาคารอาหารจากป่าของชุมชน ศึกษาเส้นทางป่าต้นน้ำในห้วยแม่กองคา ห้วยกองกูด กล้วยไม้ป่า ดูนกนานาพันธุ์ นั่งเรือชมวิถีประมงริมน้ำสาละวินยามเย็น และเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีแบบดั้งเดิมของคนในชุมชน

ฝันใสๆ..ของคนท่าตาฝั่ง..

หลายคนอาจเป็นห่วงชุมชนนี้ที่อาจจะตั้งรับและไม่รู้เท่าทันในเรื่อง

การท่องเที่ยวและอาจจะเป็นเหมือนคมดาบที่กลับกลายมาทำร้าย

ชุมชน

แต่หลังจากที่ได้คุยกับพะตี่ปรีชา ปัญญาคมแล้วนั้นกลับพบว่า

     คนที่นี่ไม่ได้มองการท่องเที่ยวเพียงเพื่อได้รายได้ แต่พวกเขาต้องการให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือให้คนในชุมชนได้รู้จัดการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน รักษาฐานวัฒนธรรมให้ยังคงอยู่ถึงลูกหลาน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนเข้าใจชุมชนมากขึ้น ได้เรียนรู้วิถีคนกับป่าและสามารถสื่อสารกับสังคมภายนอกให้เข้าใจความเป็นพวกเขามากขึ้น ที่สำคัญอยากให้การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นสร้างความสุขให้กับคนในชุมชน ครอบครัว พะตี่ยังกล่าวต่ออีกว่า ชาวบ้านไม่ต้องการนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แค่เพียงปีละ 2 3 กลุ่ม พวกเขาก็พอใจแล้ว แต่ขอแค่ให้นักท่องเที่ยวที่มาได้เรียนรู้ เข้าใจ และสามารถเป็นกระบอกเสียงแทนเสียงเล็กๆ ริมน้ำสาละวินนี้ได้เท่านั้นก็พอ

ก่อนลาจากสาละวิน ฉันยังแอบหวังในใจเล็กๆ ว่าต้องมาเยือนดินแดนแถบสาละวินนี้อีกอย่างแน่นอน 

หมายเลขบันทึก: 75303เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ครูอ้อยโชคดีได้อ่านทั้งตอนแรกและตอนจบเลยค่ะ
  • อยากไปเที่ยวบ้างค่ะ...ขอบคุณค่ะคุณเอก

ขอบคุณครับ ครูอ้อยสิริพร กุ่ยกระโทก

หากติดตามไปเรื่อยๆ มาตลอด ก็เห็นว่าผมผเขียนเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น เพราะเป็นงานวิจัยที่ผมรับผิดชอบอยู่ ในส่วนของการประมวลผลเป็นเรื่องเป็นราวผมยังไม่ขยับเลย แต่เขียนลงใน Gotoknow เป็นเรื่องเป็นราวเลย

น้องๆร่วมทีมวิจัย คงหมั่นใส้ผมเป็นแน่ :)

  • ครูอ้อยลืมชื่อของเจ้าของภาพในบันทึกค่ะ 
  • แต่จำได้ว่า  ชื่อไพเราะมาก 
  • รบกวนคุณเอกตอบด้วยค่ะ ..... ขอบคุณค่ะ

"พอมีดา" ครับ ชื่อของเธอแปลว่า "ดอกไม้กลางคืน"

พอมีดา  สาวน้อยกระเหรี่ยงสาละวิน เธอบอกกับผมว่า เธอเกิดช่วงกลางคืน และแม่ของเธอตั้งชื่อให้ว่า ดอกไม้แห่งราตรี ครับ

อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/fortune/55141

ขอบคุณครับครูอ้อยครับ

  • ตามน้องไปเที่ยวสาละวินค่ะ
  • สาวพอมีดา สวยน่ารักดีนะคะ หน้าตามีความสุขดีค่ะ
  • สาละวินไม่เคยสิ้นมนต์ขลัง...
  • ชุมชนปกาเกอะญอ บ้านทาตาฝั่งคือวิถีที่เรียบง่าย พอเพียงและกลมกลืนกับธรรมชาติ และดีใจกับที่คุณเอกยังยืนยันว่า "ที่นั่น" ..ชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิมของปกาเกอะญอไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านเรือน การแต่งกาย ภาษา รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่
  • ก่อนจากเช่นกันครับ...ชื่อของหญิงสาวนั้นไพเราะมาก ...
ใช่เลย  ครูอ้อยนึกออกแล้ว   ครูอ้อยชอบชื่อนี้มาก  พอมีดา
  • ภาคแรกกับภาคสอง สวยคนและแบบ ครับ
  • แต่ก็ยังมีความสงสัยอยู่เหมือนเดิม

พี่อร Bright Lily

บันทึกผมเที่ยวแต่บ้านป่าครับ อยากมีโอกาสไปเที่ยวจีนแบบพี่อรจัง

จีนเป็นประเทศที่ผมอยากไปครับ

คุณ แผ่นดิน

ที่บ้านท่าตาฝั่ง วิถีชีวิตคนบ้านป่า ริมฝั่งสาละวิน มีอะไรที่พวกเราคาดไม่ถึงอีกเยอะครับ สินค้าที่เป็นสินค้าหัตถกรรมที่นี่ฝีมือดี ละเอียดมากครับ

พอมีดา  ดอกไม้ราตรี สาวกระเหรี่ยงที่ผมเคยรู้จัก เธอนิสัยดี น่ารักครับ

ครูสิริพร กุ่ยกระโทก  ครูอ้อย

ครูตามไปตามลิงค์แล้ว ใช่มั้ยครับ นั่นคือคำตอบครับผม

อาจารย์หมอ นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง

อาจารย์ตามผมไปเที่ยวสาละวินทั้งสองภาคเลย...ว่าแต่อาจารย์มีข้อข้องใจสิ่งใดครับ...

อาจารย์สอบถามผมได้เลยครับผม ผมยินดีตอบทุกข้อสงสัย...

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท