จุดอ่อน จุดแข็งของ2 Stat counter (ตัวนับสถิติ) ที่น่าใช้ : Sitemeter และ Histat


การศึกษาเปรียบเทียบ 2 ตัวนับสถิติ ดูกันค่าต่อค่าครับ จนสังเกตเห็นข้อแตกต่างที่เกิดขึ้น
ตัวนับสถิติเป็นสิ่งที่ใช้ชี้วัดความนิยมของเวบไซต์, blog แหล่งข้อมูลในอินเทอร์เนต เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมของผู้ที่คลิกเข้ามาเยี่ยมชมเวบนั้นๆ ทั้งในเชิงปริมาณ แนวโน้ม ข้อมูลรายละเอียดในเชิงลึกของผู้เข้าชม

ตัวนับสถิติมีหลายตัว ทั้งฟรีและจ่ายตังค์  กรณี ตัวนับสถิติที่สามารถสมัครได้ฟรี มีให้เลือกมากมาย แต่คุณภาพของการให้บริการแตกต่างกันไป หลาย blog / website เลือกตัวนับสถิติที่ให้ข้อมูลเพียงจำนวนผู้เข้าชมเท่านั้น

ถ้าเลือกตัวนับสถิติที่ดี เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคข้อมูล มองหาจุดแข็งจุดอ่อนในเวบไซต์ หรือ blog ของเราได้


จุดแข็ง จุดอ่อนที่นำมาบันทึกนี้ มาจากการสังเกตใน blog แห่งนี้นี่เองครับ หลายท่านอาจจะสังเกตเห็นว่า ทำไม blog นี้ ถึงได้ติดตัวนับสถิติหลายตัวนัก

ติดไว้ เพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบ ดูกันค่าต่อค่าครับ จนสามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างที่เกิดขึ้น


เคยแนะนำไปแล้ว สำหรับตัวนับสถิติสำหรับ blog

BlogPatrol ตัวนับสถิติสำหรับบล็อกโดยเฉพาะ - Free Blog Stats Report



คราวนี้เป็นการแนะนำตัวนับสถิติในแบบเปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อย ระหว่าง sitemeter.com ที่หลายท่านนิยมใช้ และ histat.com ตัวนับสถิติน้องใหม่ที่น่าสนใจทีเดียว

การสมัครใช้บริการตัวนับสถิต
- sitemeter.com สมัครฟรี แต่การกรอกรายละเอียดในการสมัคร ดูยุ่งยาก หลายขั้นตอน และต้องคลิกหลายหน้า หากอ่านภาษาอังกฤษไม่เข้าใจ หรือไม่เข้าใจคำศัพท์ที่ปรากฏในเวบไซต์  อาจจะสมัครไม่สำเร็จได้ ในส่วนของ username ต้องกำหนดเอง แต่ passward ระบบจะกำหนดให้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง

- histats.com สมัครฟรีเช่นกัน มีการกรอกรายละเอียดเพียงไม่กี่ช่อง ใช้ อีเมล์เป็น username ส่วน passward ก็สามารถกำหนดเองได้ ส่วนข้อมูลที่เหลือ ระบบจะกำหนดให้ และสามารถสมัครได้สำเร็จ ภายในเวลาไม่นาน

จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง histats.com นั้น ใช้ username เดียว สามารถสมัครกี่ตัวนับก็ได้ครับ  เหมือนการสร้าง blog ใน gotoknow ที่ 1 username จะสร้างกี่ blog ก็ได้ แต่สำหรับ sitemeter.com นั้น 1 username ต่อ 1 นับสถิติครับ ถ้ามีหลาย blog ก็จะต้องสมัครหลายครั้ง และต้องจำ username และ password ให้ดีด้วย

การที่ใช้ username เดียวกันได้ จะคล้ายกับ webstat4u ทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลสถิติแต่ละ blog แต่ละ website ได้ภายในไม่กี่คลิก ในกรณีที่ติดตัวนับสถิติหลายอัน สามารถคลิกดูแต่ละแห่งได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

ในส่วนของ webstat4u จะได้นำเสนอจุดเด่น จุดแข็งในโอกาสต่อไป ......



รูปแบบของไอคอนที่นำไปติดที่เวบไซต์หรือ blog
- sitemeter.com มีรูปแบบทั้งเป็นตัวเลขที่กำหนดวันที่เริ่มนับ เป็นตัวเลขเฉยๆ หรือเป็นไอคอนของ sitemeter ที่ไม่แสดงตัวเลขให้ปรากฏ หากต้องการดูรายละเอียดต้องคลิกเข้าไปดู

- histats.com มีรูปแบบให้เลือกนับร้อยแบบ ทั้งแบบแสดงไอคอนเฉยๆ  และให้แสดงข้อมูลที่ต้องการในเวบไซต์ทันที โดยสามารถเลือกให้แสดงได้สูงสุด 5 ข้อมูล ทันที โดยไม่ต้องคลิกเข้าไปดู
ซึ่งข้อมูลที่แสดงได้แก่ Total  Page view จำนวนครั้งที่คลิกเข้ามาดู, page view  today จำนวนครั้งที่คลิกภายในวันนั้น,   Total visitor (จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด),   Total visitor todayจำนวนผู้เข้าชมภายในวันนั้น Online จำนวนผู้ที่กำลังออนไลน์ หรือเปิดดูหน้าเวบไซต์ หรือ blog ณ เวลานั้น

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ของ sitemeter ก็มีเช่นกัน แต่จะต้องคลิกเข้าไปดูข้างใน

การส่งรายงานสถิติให้ทางอีเมล์
sitemeter มีคุณสมบัติข้อนี้ ซึ่งในขณะที่สมัครและกรอกอีเมล์แล้ว ระบบจะสรุปข้อมูลสถิติส่งให้ทางอีเมล์ทุกสัปดาห์ แต่ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปปิดคุณสมบัตินี้ได้หากไม่ต้องการ

- histats.com คุณสมบัติในส่วนนี้ ยังด้อยกว่า sitemeter.com

การเก็บข้อมูลสถิติผู้เข้าเยี่ยมชม
-sitemeter.com สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ นอกจากข้อมูลจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม ยังเก็บรายละเอียดถึงพิกัด  ละติจูด ลองติจูดและแสดงแผนที่ ตำแหน่งที่ตั้งของผู้เข้าเยี่ยมชม ไอพีนั้น เก็บข้อมูลแหล่งที่มาของผู้เข้าชม ว่า คลิกมาจากเวบไหน จึงเข้ามาพบเวบไซต์ / blog ของเราได้ รายงานข้อมูลอย่างละเอียดยิบ และมีข้อมูลกราฟสรุปสถิติทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี เปรียบเทียบให้เห็นแนวโน้มอีกด้วย

การที่เก็บข้อมูลที่ละเอียดเช่นนี้ ทำให้หลายคนประทับใจ sitemeter  แต่รายละเอียดที่มากเกินไป หลายคนก็ไม่เข้าใจความหมายของข้อมูลที่แสดงมากนัก

ในบางครั้ง ตัวนับสถิติ จะไม่นับข้อมูลของผู้ใช้ทุกคน (สังเกตเปรียบเทียบกับสถิติตัวอื่นๆที่ติดเก็บข้อมูลไว้ใน blog แห่งนี้ .โดยเทียบกัน ip ต่อ ip เทียบกัน ณ เวลาที่เก็บ) เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลที่ละเอียด เมื่อเปิดเอกสารบางหน้า บางครั้งหากสังเกตจะพบว่า ไอคอนของ sitemeter ไม่ปรากฏ ในขณะที่ไอคอนของสถิติตัวอื่นจะถูกแสดงขึ้นมา เมื่อเปิดดูรายละเอียดสถิติต่างๆ พบว่า มีความแตกต่างกัน  มาก ในขณะที่หลายๆวัน จำนวนสถิติที่ได้ มีค่าเท่ากัน หรือ ใกล้เคียงกัน ต่างกัน ไม่เกิน 10

- histats.com สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียดเช่นกัน แต่ไม่ได้เก็บละเอียดถึงขั้นพิกัดตำแหน่ง และแสดงแผนที่ ทำให้ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยกว่า จึงเก็บข้อมูลได้รวดเร็ว ข้อมูลต่างๆ มีคำอธิบาย ดูง่าย กราฟจะมีการทำนายค่าของสถิติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ในชั่วโมงถัดไป คาดหมายว่า จะมีจำนวนผู้เข้าชมจำนวนเท่าไหร่ เมื่อเปรียบเทียบจากสถิติที่สะสมไว้

ข้อมูลในบางส่วน จะต้อง log in เข้าระบบ เพื่อเข้าไปดูรายละเอียดเหล่านั้น เป็นการตั้งค่าป้องกันไว้ เพื่อความปลอดภัย แต่ sitemeter ยังไม่มีการป้องกันในส่วนนี้ ผู้ใช้ระบบสามารถคลิกเข้าไปดูได้เลย โดยไม่ต้อง log in เข้าสู่ระบบ

ยังมีจุดดีจุดด้อยอีกหลายข้อครับ แต่โดยสรุป histats.comจะเร็วกว่า แสดงข้อมูลได้ ไว มีไอคอนให้เลือกเยอะกว่า แต่ถ้าชอบความละเอียด ต้อง sitemeter ครับ


** แต่ในหลายลักษณะของ blog ที่มีข้อจำกัดในการใส่ code javascript นั้น เช่น Php-nuke, CMS, WebTV, Wordpress นั้น sitemeter.com จะมีคำอธิบาย และแนะนำวิธีในการแทรกโค้ดตัวนับสถิติให้ด้วย ซึ่งตัวนับสถิติหลายตัว ไม่มีคำแนะนำในส่วนนี้ไว้


สำหรับหลายท่านใน gotoknow  ที่มีเวลาจำกัด histats.com ดูแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าครับ และน่าจะเป็นแรงกระตุ้น และกำลังใจในการเขียน blog ได้เป็นอย่างดี


ดูท่าแล้ว นายบอนจะได้แจกตัวนับสถิติให้หลายท่านใน gotoknow แล้วล่ะครับ ของดีที่ฟรีๆใช้ง่าย ดูง่ายแบบนี้ ต้องรีบติดให้เสียแล้ว ....

คงจะสมัครให้ครูอ้อย พี่แผ่นดิน คุณหมอสมบูรณ์ ฯลฯ แล้วล่ะครับ



หมายเลขบันทึก: 78227เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • รับทราบและขอบคุณล่วงหน้าครับ..
  • ผมเป็นงัยไม่รู้  แพ้อะไร ๆ ที่เป็นสถิติเสมอ
  • ดูจากบันทึกล่าสุดผมก็เรียนคณิตศาสตร์แบบปึก ๆ 
  • สมัยเรียนมหาวิทยาลัยและลงสมัครเป็นนายกองค์การก็ไม่ค่อยได้คะแนนเสียงจากเอกสถิติ
  • และยิ่งโปรแกรมต่าง ๆ ..ไม่ต้องพูดถึง  ผมไม่สันทัดและปวดเศียรเวียนหัวเป็นที่สุด
  • ขนาดกว่าจะมาเขียนบล็อกได้  เจ้หนิงต้องสาธยายนานแสนนานว่า เทคนิคนั้นเป็นเรื่องง่าย ๆ (ขำ ๆ)  ไม่ซับซ้อนซ่อนลาย...
  • แต่ก็ดีใจครับ...และคงต้องพยายามยาม และพยายามที่จะเรียนรู้ต่อไป...
  • ขอบคุณครับ
เดี๋ยวจัดให้นะครับ พี่พนัส เพราะสถิติตัวนี้ ดูง่าย เห็นปุ็บ ก็เข้าใจปั๊บ เดี๋ยวก็จะคุ้นเคยเองแหละครับ
เผลอๆอาจจะทำให้เขียนบันทึกมากขึ้นเสียอีก
  • เข้าใจบ้างแล้วค่ะ
  • จะนำไปติดตั้งและศึกษา

ดีใจ...ที่ได้ของขวัญ...วันแห่งความรักค่ะ

แหม เ้ดี๋ยวจะต้องตรวจการบ้านอีกแล้วหรือนี่

ขอบคุณ คุณบอน!-กาฬสินธุ์  มากครับ

เป็นข้อมูลที่ผมอยากรู้มากมาก แต่จนปัญญาจริงๆ แล้วฟ้าก็ประทานคุณบอนมาให้

ขออนุญาต เอาบันทึกนี้ไปไว้ใน บันทึกโดนใจ ของผม ที่นี่ นะครับ

ขอบคุณคุณเติมศักดิ์ครับ
  นับว่า เป็นการประมวลความรู้ที่หลากหลาย มารวบรวมเป็นหมวดหมู่ได้อย่างลงตัวทีเดียวครับ
  • แล้ววิธีการติดตั้งใน blog หล่ะครับไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร
สวัสดีครับคุณสมรู้ร่วมคิด
  เมื่อสมัครใช้บริการตัวนับสถิติแล้ว ให้เอา source code ที่เวบไซต์ที่สมัคร เอามาแปะใน blog อย่างใน gotoknow หลังจากที่ท่าน login เข้าสู่ระบบแล้ว ให้คลิกที่ แผงควบคุม และไปที่ แก้ไขบล็อก


จากนั้นให้ copy โค้ดของตัวนับสถิติไปวางไว้ในนั้น แล้วคลิกบันทึก ก็เรียบร้อยแล้วครับ  ต้องทดลองทำดูนะครับ อ่านตรงนี้แล้ว อาจจะนึกไม่ออกว่า เป็นอย่างไร คงต้องทดลองดูไปด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะ ขอนำไปใช้บ้างนะคะ

เจ้าแม่คอมพิวเตอร์ นุ้ย จะติด sitemeter เพิ่มอีกตัวแล้วหรือครับนี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท