beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเซลล์ (๓) : นิวเคลียสและไรโบโซม


โครมาติน,โครโมโซม,นิวคลีโอลัส,ไรโบโซม

     Depict : คือ การศึกษาภาพ ภาพหนึ่งสามารถทดแทนตัวอักษรได้นับแสนนับล้านคำ จงศึกษาภาพ นิวเคลียส (nucleus) ต่อไปนี้ (คลิกขยายภาพได้)

 ภาพของนิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวเคลียส

     จากภาพ เป็นภาพของนิวเคลียสแสดงให้เห็นเยื่อหุ้มนิวเคลียสด้วย ภายในนิวเคลียสประกอบไปด้วย โครมาติน (Chromatin) ซึ่งประกอบไปด้วย DNA และโปรตีน, เมื่อเซลล์เตรียมการแบ่งเซลล์ โครมาตินจะหดสั้นเข้า ทำให้มองเห็นเหมือนขดลวดสปริงหรือปาท่องโก๋ เราเรียกโครมาตินที่หดสั้นเข้านี้ว่า โครโมโซม (Chromosome) ใน 1 โครโมโซมอาจมี 1 หรือ 2 โครมาติดก็ได้ (เรียกว่า sister chromatid) นิวคลีโอลัส (Nucleolus) มีหน้าที่ในการสังเคราะห์ ไรโบโซม (ribosome) เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear envelop) ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ซึ่งแยกจากกันเป็นช่องแคบๆ มีรู (Pore) อยู่ทั่วไป ที่ผิวของเยื่อหุ้มนิวเคลียส จะปกคลุมด้วยชั้นลามินา (nuclear lamina)

    ต่อไปเป็นรายละเอียดของนิวเคลียสและไรโบโซม

  1. เราทราบมาแล้วว่า ภายใน nucleus มี DNA และ ไรโบโซม และไรโบโซมรับข้อมูลมาจาก DNA (ผ่าน m-RNA) เพื่อสร้างโปรตีนในไซโตพลาสม (ทำหน้าที่ร่วมกันระหว่าง m-RNA, t-RNA และ r-RNA)
  2. นิวเคลียส เป็นบริเวณที่เก็บสะสม genes ในเซลล์พวก Eukaryotic cell เป็นส่วนใหญ่ (ยีนบางอย่างพบได้ใน mitochondria และ Chloroplast)
  3. เยื่อหุ้มนิวเคลียส หรือ Nuclear Envelope มีลักษณะเป็น menbrane 2 ชั้น แบ่งขอบเขตระหว่าง nucleus กับ cytoplasm เยื่อหุ้มนิวเคลียสทำด้วย "lipid bilayer+protein" ผนัง 2 ชั้นหนาประมาณ 20-40 นาโนเมตร ที่ผิวของเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีรู (pore/annulus) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร อยู่มากมาย ที่ผนังด้านในของเยื่อหุ้มนิวเคลียส บุด้วย nuclear lamina
  4. โครมาติน/chromatin มีลักษณะเป็นสายยาวของ DNA+protein ถ้าเราย้อมสีโครมาตินแล้ว สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์   ในขณะที่เซลล์เตรียมการแบ่งเซลล์ โครมาตินจะหดสั้นและมีความหนาขึ้น คล้ายขดลวดสปริง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนด้วยกล้องจุลทรรศน์ เราเรียกว่า โครโมโซม/chromosome (บริเวณที่เก็บลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต)
  5. นิวคลีโอลัส/nucleolus เป็นโครงสร้างที่เห็นเด่นชัด ในขณะที่เซลล์ไม่ได้แบ่งเซลล์ เป็นก้อนกลมหนาที่เชื่อมต่อกับ chromatin  นิวคลีโอลัสเป็นบริเวณที่สร้าง r-RNA ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบของไรโบโซม ซึ่งเมื่อรวมกับโปรตีนแล้วจะถูกส่งไปอยู่ใน cytoplasm เป็นโครงสร้างหลักของ ไรโบโซม
  6. ไรโบโซม/ribosomes เป็นอนุภาค (particles) ที่ทำมาจาก ribosomal RNA+protein เป็น organelles ที่มีหน้าที่สร้างโปรตีน โครงสร้างประกอบด้วย 2 subunits คือ Large subunit และ small subunit มีค่าความเร็วในการตกตะกอนรวม 80 S (S=Svedberg Unit of sedimentation coefficient ) (ส่วนไรโบโซมของ Prokaryotic cell เป็นชนิด 70S) ไรโบโซมซึ่งทำหน้าที่สร้างโปรตีน พบอยู่ 2 ลักษณะ คือ ไรโบโซมอิสระ (free ribosome) ล่องลอยอยู่ในไซโตพลาสม กับ Bound ribosome เป็น ไรโบโซมที่เกาะกับ ER หรือ RER รวมทั้งไรโบโซมที่เกาะกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสด้วย โปรตีนที่สร้างจากไรโบโซมจะทำหน้าที่ต่างๆ ภายในไซโตพลาสม เช่น enzyme ที่เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายน้ำตาลเป็นต้น ส่วน Bound ribosome จะสร้างโปรตีนส่งไปยังเยื่อหุ้มเซลล์ (ส่งออกไปใช้นอกเซลล์) หรือส่งไปยังออร์แกเนลล์อื่น เช่น ส่งไปให้กับไลโซโซม (Lysosome)

ภาพของไรโบโซม

อธิบายภาพ a) ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแสดงให้เห็นบางส่วนของเซลล์ตับอ่อน แสดงให้เห็นไรโบโซมจำนวนมาก เราจะเห็นไรโบโซมใน 2 ลักษณะ คือไรโบโซมอิสระ (Free ribosomesในcytoplasm) และไรโบโซมที่เกาะอยู่กับ ER (Bound ribosomes) ตัวอย่าง bound ไรโบโซม ในเซลล์ของตับอ่อนจะสร้าง secretory protein รวมทั้ง hormone insulin และ เอนไซม์ (digestive enzyme), ไรโบโซมที่เกาะกับ ER สร้างโปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์ หรือส่งไปให้ Organelles ต่างๆ ส่วนไรโบโซมอิสระจะสร้างโปรตีนไว้ใช้ภายในเซลล์ (เป็นโปรตีนที่อยู่ใน cytoplasm) หมายเหตุ ไรโบโซมอิสระขณะยังไม่ active  ทั้ง 2 subunit จะแยกจากกัน

 

ภาพไรโบโซมถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
จาก http://www.vcharkarn.com/vcafe/
dekvit/uploaded_pics/CS12777x2.jpg

กลับสู่เมนูหลัก

อ้างอิง : Biology ของ N.A Campbell และ J.B. Reece ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 สำนักพิมพ์ Pearson Education International

หมายเลขบันทึก: 40127เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2006 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ค่ะ ออกสอบในนี้ใช่ไหมคะ

นำไปใช้ได้ดีค่ะ

  • ขอบคุณ สำหรับกำลังใจ

นิวเคียสเป็นสิ่งที่เล็กที่อยู่ในเซลล์ซึ้งเซลล์เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดในรางการ

ดีมากเลยล่ะค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจมากเลยล่ะค่ะ

เหมือนติวด้วยตัวเอง

  • ขอบคุณผู้ที่มาทิ้งรอยไว้ครับ

ข้อมูลละเอียดมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท