อนุทินล่าสุด


rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

กลุ่มทอผ้าไทยทรงดำบ้านดอนมะเกลือ

กลุ่มทอผ้าไทยทรงดำบ้านดอนมะเกลือ
ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้นำกลุ่ม
คุณทองหลอด ทองเชื้อ บ้านเลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ ๐ – ๓๕๕๕ – ๑๖๖๘

ประวัติความเป็นมาของผ้าทอ/ลายผ้า
การทอผ้าของกลุ่มทอผ้าไทยทรงดำบ้านดอนมะเกลือ ผ้าทอของชาวไทยทรงดำ หรือลาวโซ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชน ผ้าที่ทอมีอยู่ ๔ ชนิด คือ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าซิ่นลายแตงโม และผ้าตีนซิ่น ขั้นตอนในการทอผ้านั้นจะเริ่มจากการปลูกฝ้าย ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันกันเอง และนำดอกฝ้าย หรือไหม มาปั่น / สาว เป็นด้ายทอเป็นผืน ส่งผลให้การทอผ้าสืบทอดกันต่อมาเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่นิยมทอ ใช้เองมาจนปัจจุบัน

ประเภทของผ้าทอที่กลุ่มผลิตจำหน่าย
• ผ้าทอไทยทรงดำแบบดั้งเดิม
• ผ้าซิ่นลายแตงโม
• ผ้าฝ้าย
• ผ้าตีนซิ่น
• ผ้าไหม

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากผ้าทอ
• ชุดสำเร็จแบบประยุกต์
• ของฝากของที่ระลึกทำจากผ้าของกลุ่ม
• กระเป๋า, ย่าม
• ผ้าพันคอ
• หมอนปักลายที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น
• หมวก
• เข็มขัด
• เนคไท
• หมากก่อม (ลูกช่วง) ของเล่นตามประเพณี


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

ประเพณีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิดของชาวไทดำ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต ด้วยมีการรับและผสมผสานวัฒนธรรมพุทธเข้าไว้ด้วย ตามธรรมเนียมดั้งเดิมแล้วตั้งแต่ผู้เป็นแม่รู้ตนเองว่ามีครรภ์ ผู้เป็นแม่คงทำงานตามปกติโดยเชื่อว่าการได้ออกแรงจะทำให้คลอดลูกง่าย ก่อนคลอดมีการทำพิธีเซ่นผีเรือน เรียกว่า “วานขวัญผีเรือน” โดยหมอขวัญเป็นผู้ทำพิธีฆ่าไก่เซ่นผีญาติพี่น้องที่ตายทั้งกลมหรือตายในขณะ คลอดลูก เพื่อไม่ให้มารบกวนในขณะคลอด เมื่อเด็กคลอดแล้วจะตัดสายรก ซึ่งเรียกว่า “สายแห่” จากนั้นอาบน้ำเด็กด้วยน้ำอุ่นแล้วนำไปวางในกระด้ง รอจนกระทั่งสายรกหลุดออกมา นำรกใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเอาไปแขวนที่คบไม้ใหญ่ในป่า ส่วนผู้ที่เป็นแม่ก็ให้ล้างทำความสะอาดร่างกาย เล็กน้อยแล้วนั่งอยู่ไฟเป็นเวลา 1 เดือน เรียกว่า “อยู่กำเดือน” ขณะอยู่ไฟต้องอาบน้ำร้อนต้มผสมใบไม้ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านจนครบเดือน ในระยะแรกของการอยู่ไฟจะนั่งอยู่ที่เตาไฟตลอดเวลา 3 วัน เรียกว่า “อยู่กำไฟ” แม่กำเดือนหรือหญิงที่อยู่ไฟจะรับประทานได้เฉพาะข้าวเหนียวนึ่ง กับเกลือคั่วหรือเกลือเผาจนครบ 3 วัน จึงออกกำไฟ จากนั้นมีการเซ่นผีย่าไฟโดยใช้ไข่ไก่ 1 ฟองไปวางไว้ที่ทารก แรกคลอดทำพิธีเซ่นสู่ขวัญ เพื่อให้ดูแลรักษาเด็กน้อยที่เกิดใหม่ สำหรับแม่ใช้ไก่ต้ม ข้าวต้ม ขนม จัดใส่สำรับทำพิธีสู่ขวัญ เมื่อถึงเวลากลางคืนก็ให้แม่และเด็กน้อยย้ายไปนอน ที่นอนตามปกติ แต่ผู้เป็นแม่จะต้องอยู่ไฟต่อไปจนครบ 30 วันจึงสามารถออกจากกำเดือนได้ แต่ในปัจจุบันคนไทดำส่วนใหญ่คลอดลูก ที่โรงพยาบาลจึงไม่พบเห็นการประกอบพิธีเช่นนี้แล้ว

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

ตามธรรมเนียมของชาวไทดำแต่ เดิม วันขึ้นปีใหม่นั้นจะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำของเดือน 6 ซึ่งถือว่าเป็นวันแรกของการเริ่มทำงานของคนไทดำหลังจากที่หยุดพักผ่อนตลอด เดือน 5 ตั้งแต่วันเริ่มปีใหม่จะมีการเริ่มพิธีเสนต่างๆ มีการปฏิบัติตัวใหม่ ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดี ส่วนกิจกรรมในวันขึ้นปีใหม่อื่นๆก็คล้ายๆกับคนไทย คือ การไปวัดทำบุญ




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

                                                   รูปแบบการเขียนโครงงาน

โครงงานเรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้จัดทำ นางสาวรุจิรา โดยคำดี รหัสประจำตัวนักศึกษา 579904105 รุ่น ExMPA 57.1

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชา การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้

หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

                                           แบบเสนอโครงงาน ประจำปีการศึกษา 2557

ชื่อโครงงาน การประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

วิชาการจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ รหัสวิชา 9002101จำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต

รายชื่อผู้เสนอโครงงาน

นางสาวรุจิรา โดยคำดีรหัสประจำตัว 579904105รุ่น ExMPA 57.1

                                                                                           (ลงชื่อ) รุจิรา โดยคำดีผู้จัดทำโครงงาน
                                                                                                       (นางสาวรุจิรา โดยคำดี ) 

                                                                                                          วันที่ 26/ส.ค/2557

ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

                                                                (ลงชื่อ)...........................................................ที่ปรึกษาโครงงาน
                                                                         (..............................................................)

                                                                                   รับเมื่อวันที่......../........./.........

                   โครงงานการประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

                                                     ประจำปีการศึกษา 1 ภาคเรียน 2557

                                  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

                                           ......................................................................................

ชื่อโครงงานการประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

สาขาวิชาการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวรุจิรา โดยคำดี รหัสประจำตัว 579904105 รุ่น ExMPA 57.1หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2557 จำนวน 37 วันรายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. ชื่อโครงการ ชุมชน แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

3. ผู้ดำเนินการ นางสาวรุจิรา โดยคำดี

4. หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียงและมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัดเท่านั้น แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

5. วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดการความรู้

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่เรื่องการจัดการความรู้ ควบคู่กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชน

3. เพื่อจัดทำรายงานค้นคว้าอิสระ

6. สถานที่ดำเนินการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

7. เป้าหมาย

7.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

1.ต้องการศึกษาเรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

2.ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษา 60%

7.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. ได้โครงงานที่ประเมินความสำเร็จจากการจัดทำ Blog

2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร

3. ได้จัดทำโครงงานค้นคว้าอิสระ 1 เล่ม

7.3 เป้าหมายเชิงเวลา

  • ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2558 จำนวน 366 วัน

8.วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

1. เสนอหัวข้อโครงงาน

2. ออกแบบงาน

3. จัดทำ Blog

4. รวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา/ทดลอง ไว้ในรูปแบบของ Blog

5.สรุปผลการศึกษา

9. ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาในการดำเนินการ วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2558 รวม 366 วัน


10. แผนดำเนินการ - แผนการและกิจกรรมดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2558

กิจกรรม ปีงบประมาณ 2557-2558 หมายเหตุ
ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.
1.ดำเนินการจัดทำ Blog
2.ศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างเครื่องมือในการวิจัย
4. สุ่มกลุ่มตัวอย่าง
5. ลงทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
6. เขียนรายงานการวิจัย
7. รายงานสรุปผลการวิจัย

10. รายละเอียดงบประมาณของโครงการ

ประมาณการรายจ่าย จำนวน 3,000 บาท ดังนี้

  • 1.ค่ากระดาษ A4 จำนวน 600 บาท
  • 2.ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 800 บาท
  • 3.ค่าส่งเอกสารงานวิจัย จำนวน 500 บาท
  • 4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวน 1,100 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000 บาทถ้วน

11.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. คอมพิวเตอร์

2. กระดาษ A4

3. อุปกรณ์ตกแต่ง Blog เพื่อสร้างความน่าสนใจ

12.ปัญหาในการดำเนินงานและการแก้ปัญหา

ผู้จัดทำโครงการ ยังไม่เคยได้ศึกษาถึงหลักการ แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถึงแก่นแท้อย่างแท้จริง เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจมีบางข้อมูลผิดพลาดได้

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จากการศึกษาค้นคว้าการจัดการความรู้ โครงงานเรื่อง “การประยุกต์ใช้แนวคิด และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” สามารถสรุปผลได้ดังนี้ คือ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประยุกต์ใช้แนวคิด ควบคู่กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากแนวพระราชดำริของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ในการจัดระเบียบทางสังคมใหม่ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ และบรรทัดฐานที่ทำให้ชุมชนสามารถสร้างศักยภาพในการปรับตัวและดำรงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเองไว้ได้ท่ามกลางบริบทที่เปลี่ยนแปลง และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่งคง

14.ภาคผนวก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม

แผนภูมิปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้

1.เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2.เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้

                                                                                                               รุจิรา โดยคำดี ผู้จัดโครงการ

                                                                                                                 ( นางสาวรุจิรา โดยคำดี )



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

โครงงาน ชุมชน แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี

ประจำปีการศึกษา 1 ภาคเรียน 2557

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

......................................................................................

ชื่อโครงงาน ชุมชน แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรีสาขาวิชาการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวรุจิรา โดยคำดี รหัสประจำตัว 579904105 รุ่น ExMPA 57.1หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2557 จำนวน 37 วันรายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. ชื่อโครงการ ชุมชน แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

3. ผู้ดำเนินการ นางสาวรุจิรา โดยคำดี

4. หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกโลกาภิวัฒน์

5. วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดการความรู้

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่เรื่องการจัดการความรู้ ควบคู่กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชน

3. เพื่อจัดทำรายงานค้นคว้าอิสระ

6. สถานที่ดำเนินการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

7. เป้าหมาย

7.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ (ได้แก่ ร้อยละจำนวนผู้รับบริการต่อเป้าหมาย หรือผลผลิตของโครงการ เช่น จำนวนหลักสูตร จำนวนซีดีที่เผยแพร่ หรือจำนวนชุดเอกสารประกอบคำบรรยาย)

1.ต้องการศึกษาเรื่อง ชุมชน แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี

2.ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษา 60%

7.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ (ได้แก่ ร้อยละของความพึงพอใจ)

1. ได้โครงงานที่ประเมินความสำเร็จจากการจัดทำ Blog

2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร

3. ได้จัดทำโครงงานค้นคว้าอิสระ 1 เล่ม

7.3 เป้าหมายเชิงเวลา(ได้แก่ ร้อยละของจำนวนโครงการที่ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย หรือช่วงเวลาที่กำหนด)

ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2557 จำนวน 37 วัน

8.วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

1. เสนอหัวข้อโครงงาน

2. ออกแบบงาน

3. จัดทำ Blog

4. รวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา/ทดลอง ไว้ในรูปแบบของ Blog

5.สรุปผลการศึกษา

9. ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาในการดำเนินการ วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2557รวม 37 วัน

10. แผนดำเนินการ - แผนการและกิจกรรมดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2557

กิจกรรม ปีงบประมาณ 2557 หมายเหตุ
ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.

10. รายละเอียดงบประมาณของโครงการ

ประมาณการรายจ่าย จำนวน 3,000 บาท

11.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. คอมพิวเตอร์

2. กระดาษ A4

3. อุปกรณ์ตกแต่ง Blog เพื่อสร้างความน่าสนใจ

12.ปัญหาในการดำเนินงานและการแก้ปัญหา

...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนในชุมชนทุกคน สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมสร้างพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์

14.ภาคผนวก

- ภาพประกอบขั้นตอนการทำโครงงาน

.....................................................ผู้จัดโครงการ

(................................................................)



ความเห็น (2)

ข้อสังเกต…โครงงานหรือโครงการ…ผลที่คาดว่าจะได้รับกับวัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกัน…เป้าหมายไม่กว้างจนเกินไป…มีความคิดสร้างสรรค์ดีมากครับ…อีกอย่างหนึ่งชาวบ้านหรือประชาชนสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างไร…

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ ผู้จัดทำขอน้อมรับทุก ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดทำโครงงาน ให้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

Example taken from theJournal of Biology, Volume 3, Issue 2.:http://en.wikipedia.org/wiki/Abstract_(summary)#cite_note-10">[10]

The hydrodynamics of dolphin drafting

by Daniel Weihs, Faculty of Aerospace Engineering, Technion, Israel Institute of Technology, Haifa 32000, Israel.

Abstract:

BackgroundDrafting in cetaceans is defined as the transfer of forces between individuals without actual physical contact between them. This behavior has long been surmised to explain how young dolphin calves keep up with their rapidly moving mothers. It has recently been observed that a significant number of calves become permanently separated from their mothers during chases by tuna vessels. A study of the hydrodynamics of drafting, initiated inmechanisms causing the separation of mothers and calves during fishing-related activities, is reported here.

ResultsQuantitative results are shown for the forces and moments around a pair of unequally sized dolphin-like slender bodies. These include two major effects. First, the so-called Bernoulli suction, which stems from the fact that the local pressure drops in areas of high speed, results in an attractive force between mother and calf. Second is the displacement effect, in which the motion of the mother causes the water in front to move forwards and radially outwards, and water behind the body to move forwards to replace the animal's mass. Thus, the calf can gain a 'free ride' in the forward-moving areas. Utilizing these effects, the neonate can gain up to 90% of the thrust needed to move alongside the mother at speeds of up to 2.4 m/s. A comparison with observations of eastern spinner dolphins (Stenella longirostris) is presented, showing savings of up to 60% in the thrust that calves require if they are to keep up with their mothers.

ConclusionsA theoretical analysis, backed by observations of free-swimming dolphin schools, indicates that hydrodynamic interactions with mothers play an important role in enabling dolphin calves to keep up with rapidly moving adult school members.

© 2004 Weihs; licensee BioMed Central Ltd. This is an Open Access article: verbatim copying and redistribution of this article are permitted in all media for any purpose, provided this notice is preserved along with the article's original URL



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท