อนุทิน 137243


rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

                                                   รูปแบบการเขียนโครงงาน

โครงงานเรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้จัดทำ นางสาวรุจิรา โดยคำดี รหัสประจำตัวนักศึกษา 579904105 รุ่น ExMPA 57.1

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชา การจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้

หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

                                           แบบเสนอโครงงาน ประจำปีการศึกษา 2557

ชื่อโครงงาน การประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

วิชาการจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้ รหัสวิชา 9002101จำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต

รายชื่อผู้เสนอโครงงาน

นางสาวรุจิรา โดยคำดีรหัสประจำตัว 579904105รุ่น ExMPA 57.1

                                                                                           (ลงชื่อ) รุจิรา โดยคำดีผู้จัดทำโครงงาน
                                                                                                       (นางสาวรุจิรา โดยคำดี ) 

                                                                                                          วันที่ 26/ส.ค/2557

ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………

                                                                (ลงชื่อ)...........................................................ที่ปรึกษาโครงงาน
                                                                         (..............................................................)

                                                                                   รับเมื่อวันที่......../........./.........

                   โครงงานการประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

                                                     ประจำปีการศึกษา 1 ภาคเรียน 2557

                                  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

                                           ......................................................................................

ชื่อโครงงานการประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

สาขาวิชาการจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวรุจิรา โดยคำดี รหัสประจำตัว 579904105 รุ่น ExMPA 57.1หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์ระยะเวลาดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2557 จำนวน 37 วันรายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. ชื่อโครงการ ชุมชน แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดอนมะเกลือ จ.สุพรรณบุรี

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

3. ผู้ดำเนินการ นางสาวรุจิรา โดยคำดี

4. หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียงและมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัดเท่านั้น แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

5. วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดการความรู้

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่เรื่องการจัดการความรู้ ควบคู่กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชน

3. เพื่อจัดทำรายงานค้นคว้าอิสระ

6. สถานที่ดำเนินการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

7. เป้าหมาย

7.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

1.ต้องการศึกษาเรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

2.ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษา 60%

7.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. ได้โครงงานที่ประเมินความสำเร็จจากการจัดทำ Blog

2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อมูลข่าวสาร

3. ได้จัดทำโครงงานค้นคว้าอิสระ 1 เล่ม

7.3 เป้าหมายเชิงเวลา

  • ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2558 จำนวน 366 วัน

8.วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน

1. เสนอหัวข้อโครงงาน

2. ออกแบบงาน

3. จัดทำ Blog

4. รวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษา/ทดลอง ไว้ในรูปแบบของ Blog

5.สรุปผลการศึกษา

9. ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาในการดำเนินการ วันที่ 16 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2558 รวม 366 วัน


10. แผนดำเนินการ - แผนการและกิจกรรมดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2558

กิจกรรม ปีงบประมาณ 2557-2558 หมายเหตุ
ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.
1.ดำเนินการจัดทำ Blog
2.ศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างเครื่องมือในการวิจัย
4. สุ่มกลุ่มตัวอย่าง
5. ลงทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
6. เขียนรายงานการวิจัย
7. รายงานสรุปผลการวิจัย

10. รายละเอียดงบประมาณของโครงการ

ประมาณการรายจ่าย จำนวน 3,000 บาท ดังนี้

  • 1.ค่ากระดาษ A4 จำนวน 600 บาท
  • 2.ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 800 บาท
  • 3.ค่าส่งเอกสารงานวิจัย จำนวน 500 บาท
  • 4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวน 1,100 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000 บาทถ้วน

11.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. คอมพิวเตอร์

2. กระดาษ A4

3. อุปกรณ์ตกแต่ง Blog เพื่อสร้างความน่าสนใจ

12.ปัญหาในการดำเนินงานและการแก้ปัญหา

ผู้จัดทำโครงการ ยังไม่เคยได้ศึกษาถึงหลักการ แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถึงแก่นแท้อย่างแท้จริง เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจมีบางข้อมูลผิดพลาดได้

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จากการศึกษาค้นคว้าการจัดการความรู้ โครงงานเรื่อง “การประยุกต์ใช้แนวคิด และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” สามารถสรุปผลได้ดังนี้ คือ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประยุกต์ใช้แนวคิด ควบคู่กับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากแนวพระราชดำริของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ในการจัดระเบียบทางสังคมใหม่ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ และบรรทัดฐานที่ทำให้ชุมชนสามารถสร้างศักยภาพในการปรับตัวและดำรงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตนเองไว้ได้ท่ามกลางบริบทที่เปลี่ยนแปลง และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่งคง

14.ภาคผนวก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม

แผนภูมิปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

1.ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2.ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้

1.เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2.เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้

                                                                                                               รุจิรา โดยคำดี ผู้จัดโครงการ

                                                                                                                 ( นางสาวรุจิรา โดยคำดี )



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท