อนุทิน 141374


rujira doykumdee
เขียนเมื่อ

ประเพณีเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิดของชาวไทดำ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต ด้วยมีการรับและผสมผสานวัฒนธรรมพุทธเข้าไว้ด้วย ตามธรรมเนียมดั้งเดิมแล้วตั้งแต่ผู้เป็นแม่รู้ตนเองว่ามีครรภ์ ผู้เป็นแม่คงทำงานตามปกติโดยเชื่อว่าการได้ออกแรงจะทำให้คลอดลูกง่าย ก่อนคลอดมีการทำพิธีเซ่นผีเรือน เรียกว่า “วานขวัญผีเรือน” โดยหมอขวัญเป็นผู้ทำพิธีฆ่าไก่เซ่นผีญาติพี่น้องที่ตายทั้งกลมหรือตายในขณะ คลอดลูก เพื่อไม่ให้มารบกวนในขณะคลอด เมื่อเด็กคลอดแล้วจะตัดสายรก ซึ่งเรียกว่า “สายแห่” จากนั้นอาบน้ำเด็กด้วยน้ำอุ่นแล้วนำไปวางในกระด้ง รอจนกระทั่งสายรกหลุดออกมา นำรกใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเอาไปแขวนที่คบไม้ใหญ่ในป่า ส่วนผู้ที่เป็นแม่ก็ให้ล้างทำความสะอาดร่างกาย เล็กน้อยแล้วนั่งอยู่ไฟเป็นเวลา 1 เดือน เรียกว่า “อยู่กำเดือน” ขณะอยู่ไฟต้องอาบน้ำร้อนต้มผสมใบไม้ซึ่งเป็นสมุนไพรพื้นบ้านจนครบเดือน ในระยะแรกของการอยู่ไฟจะนั่งอยู่ที่เตาไฟตลอดเวลา 3 วัน เรียกว่า “อยู่กำไฟ” แม่กำเดือนหรือหญิงที่อยู่ไฟจะรับประทานได้เฉพาะข้าวเหนียวนึ่ง กับเกลือคั่วหรือเกลือเผาจนครบ 3 วัน จึงออกกำไฟ จากนั้นมีการเซ่นผีย่าไฟโดยใช้ไข่ไก่ 1 ฟองไปวางไว้ที่ทารก แรกคลอดทำพิธีเซ่นสู่ขวัญ เพื่อให้ดูแลรักษาเด็กน้อยที่เกิดใหม่ สำหรับแม่ใช้ไก่ต้ม ข้าวต้ม ขนม จัดใส่สำรับทำพิธีสู่ขวัญ เมื่อถึงเวลากลางคืนก็ให้แม่และเด็กน้อยย้ายไปนอน ที่นอนตามปกติ แต่ผู้เป็นแม่จะต้องอยู่ไฟต่อไปจนครบ 30 วันจึงสามารถออกจากกำเดือนได้ แต่ในปัจจุบันคนไทดำส่วนใหญ่คลอดลูก ที่โรงพยาบาลจึงไม่พบเห็นการประกอบพิธีเช่นนี้แล้ว

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่

ตามธรรมเนียมของชาวไทดำแต่ เดิม วันขึ้นปีใหม่นั้นจะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำของเดือน 6 ซึ่งถือว่าเป็นวันแรกของการเริ่มทำงานของคนไทดำหลังจากที่หยุดพักผ่อนตลอด เดือน 5 ตั้งแต่วันเริ่มปีใหม่จะมีการเริ่มพิธีเสนต่างๆ มีการปฏิบัติตัวใหม่ ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดี ส่วนกิจกรรมในวันขึ้นปีใหม่อื่นๆก็คล้ายๆกับคนไทย คือ การไปวัดทำบุญ




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท