อนุทินล่าสุด


sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 4

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน  ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย  นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

ติดต่อ E-mail[email protected]

เรื่อง 4mat

……………………………………………………………………………………………………………………………….สิ่งที่คาดหวัง

นำความรู้เรื่อง 4 mat มาใช้ในพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนได้อย่างถูกวิธี

ความรู้ที่ได้รับ                                                                                                                                                         รูปแบบ4 matแมคคาร์ธี (Mc Carthy) ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT นี้ โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ของคอล์ม (Kolb) ที่เสนอแนวความคิดเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ 2 มิติ คือ การรับรู้ (perception) และกระบวนการจัดการข้อมูล (processing) การรับรู้ของบุคคลอาจเป็นประสบการณ์ตรง อาจเป็นความคิด รวบยอดหรือมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม ส่วนกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลคือการลงมือปฏิบัติ ในขณะที่บางคนเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และนำข้อมูลนั้นมาคิดอย่างไตร่ตรอง แมคคาร์ธีแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ คือ 1) ผู้เรียนที่ถนัดการเรียนรู้โดยจินตนาการ(Imaginative Learners) 2) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม นำกระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง หรือเรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) 3)ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์แล้วผ่านกระบวนการลงมือทำหรือที่เรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners) และ 4) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนำสู่ ลักษณะการพัฒนารูปแบบ

แมคคาร์ธี และคณะ นำแนวคิดของคอล์ม มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม กับผู้เรียน 4 แบบ คือ

- ผู้เรียนแบบที่ 1 (Imaginative Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรม ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง เขาจะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของตนเองได้อย่างดี การเรียนแบบร่วมมือ การอภิปรายและการทำงานกลุ่มจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือ “ทำไม” (Why ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 2 (Analytic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่เป็นทฤษฎี รูปแบบ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูลจากตำราหรือเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการเรียนรู้แบบบรรยาย จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเหล่านี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “อะไร” (What ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 3 (Commonsense Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ/มี ความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้วนำสู่การลงมือปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ ความก้าวหน้า และการทดลองปฏิบัติ กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติและกิจกรรมการแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนในกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “อย่างไร” (How ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 4 (Dynamic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ ค้นคว้า การค้นพบด้วยตนเอง แล้วเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “ถ้า” (If ?)

จากลักษณะของผู้เรียนทั้ง 4 แบบดังกล่าวข้างต้น Morris และ Mc Cathy ได้ นำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ โฟร์แม็ทซิสเต็ม โดยจัดขั้นตอนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็ม ที่เป็นการพัฒนาพหุปัญหาทั้ง 8 ด้าน

แบ่งขั้นตอนการเรียนรู้ออกเป็น8ขั้นตอน คือ

1. สร้างประสบการณ์เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (ขวา)

2. วิเคราะห์ประสบการณ์กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ (ซ้าย)

3. ปรับปรุงประสบการณ์ให้เป็นความคิดรวบยอด (ขวา)

4. พัฒนาความคิดด้วยข้อมูล หาองค์ความรู้ใหม่ๆ (ซ้าย)

5. ทำตามแนวคิด (ซ้าย)

6. สร้างชิ้นงานตามความถนัดความสนใจ (ขวา)

7. วิเคราะห์ผลนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ (ซ้าย)

8. เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น (ขวา)

ในการจัดการเรียนสอนแบบ 4 mat ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่เป็น โค้ช

การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

จากการเรียนเรื่อง 4 MAT สามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวันโดยการนำมาปรับแผนการเรียนการสอนสำหรับเรื่องที่เหมาะกับ 4 MAT เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน  ผศ. ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย  นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ หลักสูตรและการสอน

วันที่  24 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557E-mail[email protected]

…………………………………………………………………………………………………………………………

ความคาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ความรู้ที่จะสร้างองค์สัมฤทธิ์ให้นักเรียนความรู้มีอะไรบ้างอยู่ที่ใครในรูปแบบใดอยู่ที่ใครและสามรถที่จะบริหารจัดการอย่างไรบ้าง

ความรู้ที่ได้

การที่จะรู้ว่า ความรู้มีอะไรบ้างอยู่ที่ใคร มีรูปแบบใดบ้างอยู่ที่ใคร หรือเทคนิควิธีการสอนการเขียนแผนหรือการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องมีการสำรวจ ตรวจสอบว่าองค์กรต้องการอะไรบ้างดังนั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของเงินด้วยวิธีการค้นหาความรู้อาจทำในรูปแบบของ My Mappingในการค้นหาความรู้ต้องมีการระบุให้ชัดเจน เช่น การจัดทำ KM ในการจาดการชั้นเรียนการทำ KM ในการบริหารงานวิชาการโดยเริ่มจากการค้นหาและวางกรอบในการจัดทำต่อมาแสวงหาความรู้ถ้ารู้ว่าไม่มีความรู้ในองค์กรหรือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนอาจทำได้โดยการเน้นการสร้างความรู้จากความรู้เดิม การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการนำความรู้จากภายนอกเข้าสู่องค์กรก็ได้แต่ถ้ารู้ว่ามีความรู้อยู่แล้วอาจทำเป็นรูปแบบ My Mappingแล้วรวบรวมออกมาโดยมีการจัดอย่างเป็นระบบมีความสำพันธ์กัน เป็นหมวดหมู่ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้สะดวกในการใช้และต้องมีการประมวลความรู้ และเข้าถึงความรู้ มีความจำเป็นเพื่อความถูกต้องและความเหมาะสมกับความรู้สิ่งที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจจัดทำเอกสาร จัดทำหลักฐานข้อมูลจัดทำสมุดหน้าเหลืองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นดังนั้นวงจรแห่งการเรียนรู้จะประกอบไปด้วยการนำความรู้ไปใช้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ปัจจัยที่จะทำให้การทำ KM ประสบความสำเร็จคือผู้นำต้องเข้าใจเข้าถึงและตระหนักถึงประโยชน์ที่องค์การจะได้รับ KM

ดังนั้นถ้ามีการทำจัดทำ KM ขึ้นจะเห็นได้ว่ามีประโยชน์มากเป็นการเก็บความรู้ไว้เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งอาจเก็บรวบรวมได้หลายรูปแบบstorytellingหรือ Web gotoknow ก็ได้

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยการนำความรู้ที่มีอยู่และแลกเปลี่ยนความรู้กับครูในโรงเรียน โดยเริ่มจากการสนทนาเรื่องของนักเรียนวิธีการสอนต่างๆถือว่าเป็นการเริ่มเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน  ผศ. ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย  นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ หลักสูตรและการสอน

วันที่  17 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557E-mail  [email protected]

………………………………………………………………………………………………………………………………….

ความคาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการจัดการความรู้ความหมายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ความรู้ที่ได้

การที่องค์การจะดำรงอยู่ได้ในยุคKnowledgeBasedEconomyจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การจะต้องปรับยุทธศาสตร์ทั้งหมดขององค์การสู่การแข่งขันที่ต้องใช้>>> ความเร็ว>>>ความถูกต้อง>>>ความมีประสิทธิภาพ >>>ความได้เปรียบของการผลิตโดยใช้ทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่1) ความรู้2) ทักษะ3) การจัดการ 4)ประสบการณ์5) ความคิดริเริ่ม6) ให้ความสำคัญกับลูกค้าจะให้องค์การหรือสังคมประสบความสำเร็จจะต้องขึ้นอยู่กับสื่อหรือสิ่งที่จับต้องได้ด้วยดังนี้ เครื่องจักรอาหารอุปกรณ์สำนักงาน และทุน

Kujiroได้เปรียบความรู้ว่าเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนที่สุด

Romerได้กล่าวถึงลักษณะเด่นของความรู้ว่าความรู้ยิ่งใช้ยิ่งมีมากนำความรู้ใหม่ไปผสมกับอันเดิมและเกิดความรู้ใหม่ๆมากขึ้นเป็นการสร้างความรู้ใหม่จากการที่ได้ทำงานการเขียนกลายเป็นวงจรความรู้ไม่จบสิ้น

Wisdom

Knowledge

Information

Data

Hideo Yamzakได้ให้ความหมายว่า ข้อมูล (Data)” เป็นข้อเท็จจริง เป็นตัวเลขต่างๆ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการแปลความ ส่วน “สารสนเทศ (Information)” หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการในขั้นตอนของการตัดสินใจ โดยมีบริบท อันเกิดจากความเชื่อ สามัญสำนึก หรือประสบการณ์ของผู้ใช้สารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของข้อมูลที่วัดได้หรือจับต้องได้ อย่างไรก็ตามสารสนเทศอาจมีข้อจำกัดในเรื่องช่วงเวลาที่ใช้

และขอบข่ายของงานที่จะนำมาใช้ “ความรู้ (Knowledge)” หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด การเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลา หรือกล่าวได้ว่าเป็นสารสนเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับเราในการนำไปใช้งาน และ “ปัญญา (Wisdom)”

หมายถึง ความรู้ที่อยู่ในตัวคน ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้

Michael Polanyi และ Ikujiro Nonaka แยกความรู้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่าง ๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูปของตัวเลข สูตร หรือ ลายลักษณ์อักษรได้ยาก ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่

ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่าง ๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายสรุปดังนั้น ทักษะกระบวนการใช้Knowledgeประสบการณ์ ถือว่าเป็นความรู้ทั้งสิ้น

KM คือความสำคัญของการจัดการเช่นคนหนึ่งไม่มาจะต้องมีอีกคนสามารถทำแทนได้อาจถ่ายทอดในรูปแบบของ storytellinggotoknowก็ได้ดังนั้นถ้าไม่มีการจัดทำองค์การจะเสียประโยชน์คนรับก็เสียประโยชน์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำ KMจากนิยามความหมายของ KM จาก Toyama คือการจัดการเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่โดยใช้ประสบการณ์ของคนในองค์การอย่างมีระบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจจาก World BankKM หมายถึง การรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์การและกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้างการนำมาใช้คือการเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ สรุป KM คือ กระบวนการนำความรู้ที่มีอยู่หรือได้จาการเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยกระบวนการต่างๆ มีการสร้าง >>> รวบรวม >>> จัดเก็บ >>> แลกเปลี่ยนอาจในรูปแบบของ FacebookWebBlongก็ได้ >>> และสุดท้ายการนำไปใช้

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

หลังจากที่ได้เรียนเรื่องKM ในวันนี้ได้มองเห็นข้อเสียขององค์กรที่มีการจัดความรู้ที่ไม่ถูกต้องไม่มีการนำ KMไปใช้เท่าที่ควร ถ้าองค์กรมีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบมีการนำเอากระบวนการความรู้ที่มีอยู่หรือได้มาจากการเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะทำให้เป็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยและต่อเนื่องไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ดังนั้นข้าพเจ้าจะเริ่มที่ตัวเองก่อนโดยเริ่มจากจุดเล็กๆในรูปแบบที่สามารถทำได้ เช่นใน Facebook,Web blog,Line เป็นต้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
sunee leknok
เขียนเมื่อ

อนุทินครั้งที่ 3

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน  ผศ. ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย  นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโทภาคพิเศษสาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่  10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557[email protected]

…………………………………………………………………………………………………………………………………..

1. ความคาดหวัง

มีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง LO และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

2.ความรู้ที่ได้รับ

AAR(After Action Review)

ได้เรียนรู้เรื่องการทำ AAR ว่ามีวิธีการอย่างไรการทำ AARเป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลอีกหนึ่งรูปแบบที่เคยถูกนำมาใช้ในปี 1970 ในช่วงสงคราม โดยหลักการบันทึกมีลักษณะเป็น ก่อนทำ --- ขณะทำ ---หลังทำซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

LO (Learning Organization)

LOคือ คนในองค์กรได้ขยายขอบเขต หรือความรู้ ความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องทั้งภายใน ระดับบุคคลระดับกลุ่มและระดับองค์กรเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลต่างต้องการอย่างแท้จริงเป็นองค์กรที่มีความคิดใหม่ๆมีการแตกแขนงความคิดที่ได้รับการยอมรับและเอาใจใส่เป็นองค์กรที่บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายในองค์กรที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ร่วมทั้งมีการจัดหา จัดสร้างถ่ายโอน ความรู้ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนอันเป็นผลมาจากการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆองค์กรมีเป้าหมายเพื่อเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของสังคมโลกซึ่งมีลักษณะโครงสร้างที่เหมาะสมสามารถยืดหยุ่น และคล่องตัวมีวัฒนธรรมการเรียนรู้อยู่เสมอมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แต่ละบุคคลมีนิสัยใฝ่รู้มีการสร้างแรงจูงใจเปิดโอกาสให้บุคคลเรียนรู้ได้อย่างอิสระเพื่อปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในปัจจุบันมีบรรยากาศที่เกื้อหนุนทำงานเป็นทีมและมีวิสัยทัศน์ที่ดี

ดั้งนั้นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงโดยบุคคลสามารถแสดงความรู้ ความสามารถ ของตนเองแล้วนำมาเผยแพร่ต่อกันโดยอาจใช้วิธีการแตกต่างกันเพื่อเผยแพร่ทักษะ เทคนิคที่เรามีต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

3.การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

จากความรู้ที่ได้ทำให้มีความชัดเจนและนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยเริ่มที่ตนเองก่อนเพื่อจะก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
sunee leknok
เขียนเมื่อ

อนุทินครั้งที่ 1

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน  ผศ. ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย  นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโทภาคพิเศษสาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่  26 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2557E-mail  [email protected]

…………………………………………………………………………………………………………………………………

1. ความรู้ที่ได้

รายวิชาการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้มีความสำคัญมากต่อมนุษย์ควรมีการส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องดั้งนั้นพวกเราทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคนและทุกส่วนอยู่เสมอเพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดชีวิตการที่จะเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ต้องเริ่มจากตัวเองก่อนโดยบุคคลแห่งการเรียนรู้มีลักษณะดังนี้

  • *ตระหนักถึงความสำคัญแห่งการเรียนรู้
  • *มีทักษะกระบวนกระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
  • *มีความใฝ่รู้สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • *เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอก

2. บรรยากาศการเรียน

เป็นการเรียนในรูปแบบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนและผู้สอนทำให้เห็นมุมมองทัศนคติที่หลากหลายจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันพร้อมทั้งอาจารย์เป็นจุดศูนย์กลางที่เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์จากเรื่องที่อาจารย์ยกตัวอย่างขึ้นมาทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของรายวิชานี้ไม่น่าเบื่อเพราะสามารถนำมาเชื่อมโยงใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

3. การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันมีการปรับแนวความคิดเรื่องการสอน เน้นกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

4. สิ่งที่คาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้นำรายวิชานี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุด




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 2

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผศ. อดิศรเนาวนนท์

โดย นางสาวสุนีย์  เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่ 9 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง การอบรมเรื่อง Flipped Classroom

…………………………………………………………………………………………………………………………………..

ความคาดหวัง

ต้องการรู้ว่า Flipped Classroomคืออะไรมีประโยชน์อย่างไรและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่

ความรู้ที่ได้

จากการเข้าร่วมอบรมเรื่อง Flipped Classroom ทำให้รู้ถึง Type of generationว่าแต่ละช่วงวัยมีลักษณะอย่างไร ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจบุคคลแต่ละช่วงวัยได้ง่ายโดยเริ่มจาก

  • -Babybloomerคือคนที่เกิดในปี2489 – 2507มีลักษณะเคารพกฎเกณฑ์ มีชีวิตอยู่เพื่องานมีความจงรักภักดีต่อองค์กรไม่ค่อยเปลี่ยนงาน
  • -Gen X เกิดในช่วงปี 2508 – 2522มีพฤติกรรมที่ชอบอะไรง่ายๆไม่เป็นทางการทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใครมีความคิดเปิดกว้างพร้อมปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  • -Gen Yเกิดในช่วงปี 2523 – 2553คนกลุ่มนี้ชอบนอกกรอบรักอิสระไม่ชอบเงื่อนไขมีความคิดเป็นตัวของตัวเองสามารถทำงานหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกันเนื่องจากเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี
  • -Gen Z คนในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป หรือเด็กศตวรรษที่ 21มีอิสระในการเลือกสิ่งที่ตัวเองสนใจ มีลักษณะเป็นตัวของตัวเองต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงกับความพอใจและความต้องการของตนเองสามารถตรวจสอบความจริงเบื้องหลังได้ชอบความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงานและการเรียนรู้ชีวิตและสังคมเป็นตัวของตัวเองและสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารการหาข้อมูลและคำตอบสร้างนวัตกรรมต่อทุกทุกสิ่งทุกอย่าง

Type of generationนั้นทำให้รู้ถึงความแตกต่างของบุคคลในแต่ละช่วงวัยว่ามีความต้องการไม่เหมือนกัน

ดั้งนั้นลักษณะการเรียนรู้ก็แตกต่างกันด้วย

Flipped Classroomห้องเรียนกลับด้านเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกคิดค้นในต่างประเทศในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาแนวคิดของ Flipped Classroomคือ นำสิ่งที่เคยทำที่บ้านมาทำที่โรงเรียนนำสิ่งที่ทำที่โรงเรียนไปทำที่บ้าน (เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน) เน้นการเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยมีการบูรณการ PBLPCL และ Essentialเข้าด้วยกัน

Essential : มีลักษณะการสอนไม่มากนักเริ่มทีละน้อยๆโดยการฝึกให้เด็กคิดและนำไปเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆได้

Problem based Learning (PBL) : คือการเรียนโดยผ่านงานหรือการปฏิบัติจริงโดยอาจมีการฝึกทำในลักษณะของโครงงานก็ได้โดยมีครูเป็นผู้คอยดูแล

Programmable Logic Controller (PLC) : เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบการเรียนรู้เน้นทุกฝ่ายช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็น

โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำเน้นผู้เรียนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญของ Flipped classroom ประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้ในชีวิตและการทำงาน การเรียนรู้และนวัตกรรม และด้านสารสนเทศเทคโนโลยี

การนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

บรรยากาศในการอบรมครั้งนี้ เอื้อต่อการเรียนรู้มีทั้งสื่อ เทคโนโลยี ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนไม่เบื่อในทุกกิจกรรมคลิปวิดีโอต่างๆ ที่นำมาให้ดูเป็นตัวสะท้อนเปรียบเทียบเรื่องวิธีการสอนได้ดีมากทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในเรื่องการสอนของตัวเองดั้งนั้นการอบรมครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสามารถนำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและส่งผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 3

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง  ทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

สิ่งที่คาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจแนวทางในพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21

ความรู้ที่ได้รับ

การเป็นเด็กดี เด็กเก่ง เด็กมีสุขนั้นเป็นลักษณะที่ชาติต้องการซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคที่จะต้องสร้างเด็กไทยให้ยืนอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุขและอยู่ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆได้ ซึ่งลักษณะที่เด็กไทยพึ่งประสงค์ในยุคศตวรรษที่ 21 คือ E (L+L+I) E=Ethical จริยธรรมL=Learner เป็นผู้ใฝ่รู้ L=Leader ผู้นำ I=Innovator เปลี่ยนแปลงดังนั้นเพื่อให้สามารถพัฒนาเด็กไทยให้ได้ลักษณะดังกล่าวจึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ โดยสรุปคือ ครูต้องมีทักษะสำคัญ 7 ประการเรียกสั้นๆว่า 7Cเป็นทักษะเพื่อการเป็นครูมืออาชีพโดยทั้งหมดนี้ต้องมีการพัฒนาผ่านการสร้างหลักสูตร การที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะการคิดที่ดีนั้นต้องผ่านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 5 Steps คือ 1.ระบุคำถาม 2.แสวงหาสารสนเทศ เป็นขั้นพิสูจน์สมมติฐาน เพื่อหาคำตอบของสมมติฐาน 3.สร้างความรู้ หรือการสรุปความรู้ที่ได้ 4.สื่อสาร เป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากการสร้างความรู้ความเข้าใจ 5.ตอบแทนสังคม เป็นการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่การสอนด้วยกระบวนการ 5 ขั้น เป็นวิธีการสอนแบบสืบค้นและวิธีสอนแบบโครงงานโดยบูรณาจากเรื่องราวต่างๆซึ่งเมื่อวิเคราะห์กระบวนการขั้น 1, 2, และ 3 จากการระบุคำถามถึงการสร้างความรู้ หรือสรุปผลขั้นที่ 3 ดังกล่าว คือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการคิดประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้ 1) ระบุคำถาม 2)[ ตั้งสมมติฐาน 3) ออกแบบรวบรวมข้อมูล4) ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล5) วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล6) แปลความหมายและสรุปส่วนขั้นที่ 4 ของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมทักษะการอ่าน พูด เขียน ขั้นที่ 5 เป็นตอบแทนสังคม ซึ่งเป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้มีการนำผลงานไปเผยแพร่ หรือใช้ในชีวิตจริง

การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

นำความรู้ที่ได้ ทักษะการพัฒนาครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพราะทักษะครูมืออาชีพเป็นทักษะที่สำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ต้องปฏิบัติและพึงมีได้แก่ พัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การนำนวัตกรรมไปใช้ การประเมินตามสภาพจริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การเสริมสร้างลักษณะ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลอย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเกิดนวัตกรรมด้วยวิจัยมาใช้ในการเรียน การสอน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท