ดอกไม้


สิดาพร ภิญโญทรัพย์
เขียนเมื่อ

หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทั้งความรู้และทักษะในการปฏิบัติ สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้นวัตกรรมที่มีการบูรณาการด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานและฝึกทักษะการคิดขั้นสูง อีกทั้งยังสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นภูมปัญญาชาวบ้านด้านต่างๆ และการให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

พบว่าหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้มีข้อแตกต่างจากหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 19 และ 20 คือ หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 19 และ 20 จะเน้นสอนให้ผู้เรียนมีความรู้เพื่อทำงานในองค์กรต่างๆ แต่หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้จะเน้นสอนให้ผู้เรียนทุกคนทำงานเป็นและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดก็ตาม

อ้างอิง : http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us

https://prezi.com/hnfpul3qeb5e/21/

การวัดผลและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21

การวัดผลและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 มักถูกเรียกว่า “การวัดผลเชิงประจักษ์” เนื่องจากกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทั้งความรู้และทักษะ การวัดผลและประเมินผลจึงต้องดูที่ทักษะที่ผู้เรียนปฏิบัติได้จริง และยังเป็นระบบที่การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการวัดผลและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ใช่เพียงการทดสอบเท่านั้น แต่ยังมีทั้งการสังเกตผู้เรียน ดูการทำงานและประเมินถึงเรื่องอารมณ์และทัศนคติของผู้เรียนอีกด้วย

อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/589130

15
5
ภัทราภรณ์ แกมจินดา
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.docx
นางสาวภัทราภรณ์ แกมจินดา
ค.บ.ภาษาไทย ปี 3 หมู่ 1
5780107113

31
10
พัชธิดา รักษาอินทร์
เขียนเมื่อ
29
7
อภิญญาภรณ์ การถาง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การศึกษาต้องเปลี่ยนจากเน้นการสอน(ของครู) มาเป็นเน้นการเรียน(ของนักเรียน) ครูเปลี่ยนจากการบอกเนื้อหาสาระ มาเป็นทำหน้าที่สร้างแรง บันดาลใจ สร้างความท้าทาย ความสนุกในการเรียนให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ได้เรียนรู้ฝึกฝนทักษะเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) แล้วครูชวนศิษย์ร่วมกันทบทวน ไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือทักษะที่ลึกและเชื่อมโยงรวมทั้งโยงประสบการณ์ตรงเข้ากับทฤษฎีที่มีคนเผยแพร่ไว้แล้วในการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงทฤษฎีจากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากการฟังและท่องบ่น หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนจากเรียนรู้จากฟังครูสอน (Learning by Attending Lecture/Teaching) มาเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ(Learning by Doing) มองจากมุมหนึ่ง

การวัดผลและการประเมินผล ต้องมีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องประเมินตามสภาพจริง โดยใช้การประเมินหลายวิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรม การเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟ้มสะสมผลงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน

อ้างอิง วิจารณ์ พานิช. (2555). ครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2559.

สืบค้นจาก เว็บไซต์ : www.sk1edu.go.th/dta/8939การศึกษาในทศวรรษที่%2021....

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/618562

18
5
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท