การเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลในศตวรรษที่ 21


การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะต้องเรียนเพื่อให้ได้ทักษะเพื่อนำไปใช้ โดยเฉพาะทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ และทักษะในการเรียนรู้ อ่านออกเขียนได้ ฝึกฝนสำนึกความเป็นคนดี เป็นมนุษย์ที่แท้จริง โดยอาศัยกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่บอกว่าต้องได้ทักษะศตวรรษที่ 21 หมายความว่า การเรียนรู้เพื่อให้ได้วิชาแกนและแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงพอ คือต้องให้ได้ทั้งสาระวิชา และได้ทักษะ 3 กลุ่ม คือ ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี โดยใช้การเรียนแบบลงมือทำด้วยตัวเอง (Learning by Doing and Thinking)

สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 นั้นถือได้ว่าเป็นตัวกลางสำคัญที่จะสร้างทักษะในการเรียนรู้กับนักเรียนได้ โดยครูในศตวรรษที่ 21 นี้ต้องเปลี่ยนจากการสอนไปสู่การเป็น coach ก็คือการฝึกฝนและทำหน้าที่ควบคุมให้คำแนะนำต่อผู้เรียน เปลี่ยนจากถ่ายทอดความรู้ไปเป็นอำนวยการสร้างความรู้ คือการให้เด็กได้ลงมือทำเอง และจากการที่เด็กเรียนรู้แบบผิวเผินไปสู่รู้จริง เปลี่ยนจากสอนวิชาไปสู่พัฒนาครบด้าน เปลี่ยนจากรู้วิชาไปมีทักษะ ครูเปลี่ยนจากการเป็นผู้รู้เป็นผู้เรียนรู้ และเปลี่ยนจากครูผู้รอบรู้วิชาเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของศิษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในโลกศตวรรษที่ 21

  • การสร้างสรรค์การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  • การทำงานเป็นทีม
  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การรู้สารสนเทศและดิจิทอล
  • ความเป็นพลเมืองดี
  • ทักษะชีวิต

ประเด็นการวัดประเมินในศตวรรษที่ 21

1. ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน เน้นสภาพการณ์แห่งความเป็นจริง เงื่อนไขการวัดประเมินจึงผันแปรได้ นักศึกษาต้องใช้ความคิด สร้างสรรค์ และโต้ตอบหาทางเลือกหรือแก้ไขออกจากสถานการณ์ปัญหาจริงๆ

2. ความลับของการประเมิน ความเป็นธรรมพิจารณาจากการที่นักศึกษาได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดประเมิน (นักศึกษารู้สึกท้าทายต่อการวัดประเมิน กดดันน้อยลงเพราะได้เตรียมพร้อมก่อนล่วงหน้า)

3. ความร่วมมือของนักศึกษาในการวัดประเมิน ความสำเร็จพิจารณาจากความพยายามของนักศึกษารายบุคคลและความร่วมมือของกลุ่ม

4. จุดเน้นการวัดประเมิน เน้นใช้การวัดประเมินแบบอิงการปฏิบัติ และอิงการแก้ปัญหา และในสภาพการณ์จริง (หรือในสถานการณ์เสมือนจริง) มากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา

รัชนี นิธากร. (2559). การวัดผลประเมินผลทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วันที่ค้นข้อมูล 26 ตุลาคม 2559,

จาก เว็บไซต์: https://scitech.kpru.ac.th/prscitech/uploads/20160618105618_2.pdf

วิจารณ์ พาณิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : ส เจริญ การพิมพ์.

หมายเลขบันทึก: 617954เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณที่มาเผยแพร่ความรู้ดีๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท