อนุทินล่าสุด


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

Social Risk Management บริหารความเสี่ยงทางสังคม
ประสิทธิผลการทำ CSR

อาจาร จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

กิจกรรมที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม  (CRS) ของกิจการต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะยึดแนวคิดการปกป้องสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวาระระดับโลกไปแล้วไม่ใช่เพียงวาระระดับชาติใดชาติหนึ่ง และแนวคิดการปกป้องสังคม (Social Protection) นี้กำลังจะกลายเป็นการบริหารความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk Management) เพื่อให้มั่นใจว่าจะลดสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ทางเศรษฐกิจและทำให้ภาคครัวเรือนยังคงมีการใช้จ่ายและใช้บริการจากกิจการอย่างสม่ำเสมอ

องค์ประกอบของ Social Risk

ในการที่จะเกิด Social Risk กับกิจการก็จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่

1.  ประเด็นทางสังคมและ  ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โลกที่มีแนวโน้มร้อนขึ้น สภาพแวดล้อม  หรือการแพร่ระบาดของโรคบางโรคหรือการอพยพของคนจากชนบทเข้าสู่ตัวเมือง

2.  ความคาดหวังและความ  เป็นกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นไปจากกลุ่มเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว ส่วนเสียเพิ่มเติม  เช่น องค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อม กลุ่มคุ้มครองสิทธิ เด็กและสตรี  แม้แต่บุคคลธรรมดาที่มีบทบาทในการปกป้องสังคมเพิ่มขึ้น

3.  การรับรู้ในทางลบเกี่ยว  เป็นการเกิดข้อมูลทางลบเกี่ยวกับบริษัทที่ผ่านแหล่งข่าวของทางกับกิจการ  การบอกต่อทางอินเทอร์เนตผ่านสื่อสังคมออนไลน์และบุคลากรภายในกิจการเองออกไปให้ข่าวภายนอก   การส่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดการสั่งสมและทัศนคติในทางลบ

4.  ช่องทางที่นำไปสู่ความ  การกระจายความเห็นผ่านเครือข่ายทั้งเล็กและใหญ่ เช่น การส่ง  forward e-mail ไปจนถึงการให้ความเห็นในที่สาธารณะ การบอยคอร์ต การรออกมารณรงค์ต่อต้านกิจการที่มีขนาดใหญ่
บริษัทข้ามชาติหรือแม้แต่กิจการขนาดเล็กมีโอกาสที่จะตกอยู่ในวงล้อมของความเสี่ยงทางสังคมได้เหมือนกัน แม้ว่าระดับของความรุนแรงจะมากน้อยแตกต่างกัน และการที่จะบริหารจัดการความเสี่ยงทางสังคมเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบมาขึ้นกว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงดั้งเดิม ที่เป็นเรื่องของระบบการควบคุมภายในเป็นหลัก
และที่สำคัญความเสี่ยงทางสังคมเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และยังอาจจะมีผลกระทบกลับมาที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของกิจการด้วย ทำให้ขอบเขตของการบริหารจัดการต้องครอบคลุมออกไปในวงกว้าง
และอาจจะรวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ด้วย

ในขณะที่การบริหารความเสี่ยงทั่วไปเน้นหนักที่ความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและความเสี่ยงของการกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ซึ่งมักจะใช้การพิจารณาจัดการเฉพาะประเด็น ด้วยการถ่ายโอนหรือหลีกเลี่ยง
หรือเตรียมการรับมือล่วงหน้าสำหรับเหตุการณ์ความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยต้นทุนการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และคำนึงถึงความคุ้มค่าเป็นหลัก

แต่เมื่อเป็นความเสี่ยงทางสังคม การตีกรอบการบริหารความเสี่ยงเฉพาะจุดเฉพาะประเด็นไม่อาจจะดำเนินการได้
เพราะขอบเขตของความเสี่ยงอาจจะกว้างขวาง แม้แก้ไขจุดหนึ่งได้ก็อาจจะย้ายไปเกิดจุดอื่น หรืออาจจะเกิดหลายจุดพร้อม ๆ กัน และอาจจะมีกลุ่มคนที่มีความคาดหวังหลากหลายกลุ่มพร้อมกัน

การทำกิจกรรมภายใต้ร่มของความรับผิดชอบต่อสังคม หลายกิจการมองกิจกรรมนี้ในรูปของการลงทุน โดยหวังผลตอบแทนว่าจะไม่มีชื่อกิจการในสื่อมวลชนทางด้านเสื่อมเสีย ไม่ถูกบอยคอรต์จากลูกค้า หรือผู้ถือหุ้นออกมาลุกฮือต่อว่าต่อขาน หรือการสะท้อนกลับทางลบจากสังคม

ที่จริง ประเด็นหลักของปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ความเสี่ยงทางสังคม น่าจะมาจากผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรมของกิจการยังต่ำกว่าความคาดหวังของสังคม จนกระทั่งกระทบภาพรวมขององค์กรทั้งหมด

หากมองให้ดีจะพบว่า เรื่องนี้ก็คือประเด็นการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นระยะยาวที่หลายกิจการละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร เพราะมัวแต่สนใจเป้าหมายระยะสั้นมากกว่า จึงทำให้ประเด็น Social Risk อยู่นอกสายตาด้วย

เหตุผลที่ Social Risk มาเกิดในยุคนี้

แนวโน้มของสถานการณ์ในระดับโลกมากมายได้นำไปสู่สถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคม ทั้งใน (Social Risk) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงถึงกันของผู้คนในประเทศต่าง ๆ และการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น ทั้งในด้านของความสัมพันธ์ทางการค้า และห่วงโซ่อุปทาน กระแสการไหลทางการเงินระหว่างประเทศ การอพยพเคลื่อนย้ายของแรงงาน การสื่อสารและเทคโนโลยี่สารสนเทศ ทำให้กำแพงของการเกี่ยวข้องกันไร้พรมแดนภายในประเทศเองก็มีความเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
รัฐบาลอาจจะขอให้ภาคเอกชนช่วยผลิตบริการหรือสินค้าสาธารณะให้ เช่น การศึกษา ระบบรักษาความปลอดภัย ภาคเอกชนอาจจะขอให้
NGOs ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือNGOs อาจจะขอให้ภาคเอกชนประกันการเคารพในสิทธิมนุษยชน

การพึ่งพาอาศัยเกี่ยวข้องกันดังกล่าวเป็นบ่อเกิดของความเสี่ยงทางสังคมที่เพิ่มขึ้นในสังคม และทำให้เกิดสภาพแวดล้อมรูปแบบใหม่ ซึ่งไม่อาจใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจแบบดั้งเดิมในการบริหารจัดการ การใช้บริการจากภายนอก
การย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในทำเลที่ตลาดแรงงานราคาถูก ทำให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยงทางสังคมเพิ่มขึ้นและไม่อาจจะคาดหมายได้ล่วงหน้า

การบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการ Social Risk

แนวคิดการบริหาร Social Risk ที่สำคัญได้แก่

(1)  Point Solution เพื่อจัดการกับ Point Risk

เป็นการวางแนวทางการจัดการความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือเตรียมการจัดการกับเหตุการณ์เฉพาะเรื่อง และลดต้นทุนที่ใช้ในการจัดการให้ต่ำที่สุด แต่ไม่สามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่ซับซ้อนและขยายวงกว้างขวางได้ เพราะอาจจะไม่ได้ใช้กลยุทธ์ระดับบนอย่างครบวงจร

(2)  Strategic Risk Program เพื่อจัดการความเสี่ยงที่ซับซ้อน

เป็นการวางแผนงานเพื่อให้เกิดการเปิดรับในลักษณะการตรวจจับและตระหนักในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีโอกาสสร้างความเสียหาย และทำลายโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ เน้นการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของกิจการ ควบคุมการแพร่กระจายของความเสียหาย
และเข้าไปดำเนินการล่วงหน้าในบางประเด็นเพื่อช่วยป้องกันอุบัติการณ์ในอนาคต ตลอดจนเป็นการดำเนินการเชิงรุกหรือเชิงป้องกันมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุแห่งความเสี่ยงแล้ว

ในการเลือกจะใช้แนวคิดการบริหารแบบ (1) หรือ (2) อาจจะต้องตอบคำถามหลักอย่างน้อย 4 คำถาม

คำถามที่ 1 กิจการใช้วิธีการใดในการกำหนดว่า ประเด็นที่พัฒนาการทั้งในระดับสังคม สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ในต่างประเทศประเด็นใดที่น่าจะเป็นประเด็นระดับ  “กลยุทธ์” ไม่ใช่เรื่องเฉพาะจุด

คำถามที่ 2  กิจการใช้วิธีอย่างใดในการสื่อสารลักษณะของสถานการณ์  ที่น่าจะเป็นระดับ   “กลยุทธ์” ที่ควรจะส่งสัญญาณและขอความเห็นจากระดับผู้บริหารระดับสูงหรือระดับคณะกรรมการบริษัท และกิจการใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารข้อมูลสู่ระดับหน่วยธุรกิจหรือระดับปฏิบัติการ

คำถามที่ 3  ใครคือคนที่รับผิดชอบในการตรวจตรา จับตา ชี้ประเด็น  หรือบริหารจัดการสถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคม กระบวนการในการตรวจตรา จับตาชี้ประเด็นหรือบริหารจัดการสถานการณ์ดังกล่าวเป็นแบบถาวรและต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราวตามการสั่งการ

คำถามที่ 4  มีอุปสรรคทางโครงสร้างองค์กรหรือด้านวัฒนธรรมใดมีหรือไม่ ที่จะขัดขวาง

กิจการในกรณีที่กิจการต้องเผชิญหน้ากับการบริหารจัดการความเสี่ยงทางสังคม ในระดับ”กลยุทธ์” ในกรณีที่ประเด็นปัญหาทางสังคมนั้นมีความแตกต่าง หรืออาจจะต้องแยกออกจากการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจตามปกติของกิจการมีแรงจูงใจใดในกิจการที่จะประกันว่าแนวคิดของการจัดการความเสี่ยงด้านนี้คำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว

คำถามที่ 6  ความเสี่ยงทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นกับกิจการและมีความสำคัญระดับสูง มีประเด็นใดบ้างสามารถระบุได้อย่างมั่นใจหรือไม่ ผลกระทบของความเสี่ยงทางสังคมดังกล่าวสามารถประเมินได้อย่างชัดเจนหรือไม่

คำถามที่ 7  การกระจายผู้รับผิดชอบในการจัดการกับความเสี่ยงทางสังคมดีกว่าหรือแย่กว่าการรวบอำนาจความรับผิดชอบในการจัดการกับความเสี่ยงทางสังคมไว้ที่ศูนย์กลาง

บทเรียนจากการเรียนรู้

การศึกษาประเด็นของความเสี่ยงทางสังคม ทำให้ได้เรียนรู้ในหลายประเด็น

(1)  ความเสี่ยงทางสังคม มีความสำคัญเพิ่มขึ้นและควรจะได้รับความใส่ใจว่า เป็นความเสี่ยงด้านกลยุทธ์อย่างหนึ่ง เพราะมีผลกระทบทั้งกิจการ มีความซับซ้อน ต้องการศักยภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมไม่ใช่เฉพาะฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่ง และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม รวมทั้งมีผลได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

(2)  แนวคิดการบริหารที่บูรณาการหลายหน่วยงานในเวลาเดียวกัน มีความจำเป็นต่อการวางแนวทางการจัดการความเสี่ยงทางสังคมอย่างเกิดประสิทธิผล

(3)  การตอบโต้ต่อความเสี่ยงทางสังคมไม่ใช่เรื่องที่กระทำต่อผู้เกี่ยวข้องภายนอกเท่านั้น หากแต่จะต้องอาศัยการปรับกระบวนการภายในให้สอดรับกันด้วย

(4)  การจัดกระบวนการค้นหา ตรวจตราความเสี่ยงทางสังคม อาจจะช่วยให้กิจการสามารถระบุและประเมินความเสี่ยงทางสังคมได้ดีขึ้น

(5)  การดึงเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเป็นแนวร่วม อาจจะเป็นเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงทางสังคมเชิงป้องกันที่ดี โดยเฉพาะกับกิจการที่เป็นบริษัทข้ามชาติ

(6)  การปลูกฝังวัฒนธรรม การดูแลเอาใจใส่ความเสี่ยงทางสังคม และการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและวิธีการออกมาจากรูปแบบดั้งเดิม

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/869/479/default_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B_01.2556.jpg?1358342375" unselectable="on">



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

CSR กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม หนึ่งในการบริหารความเสี่ยงทางสังคม

อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นกิจกรรมที่อยู่ในกระแสของความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อบรรดาผู้ประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ จึงทำให้ผู้บริหารกิจการต้องหาทางตอบสนองและแสดงให้เห็นว่ากิจการของตนก็มีกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เหมือนกัน

แต่การทำให้มี CSR กับการดำเนินกิจกรรม CSR จริงไม่เหมือนกัน เพราะความคาดหวังของสังคมและสาธารณชนในยุคนี้ไม่เหมือนกัน ความคาดหวังตอนนี้และต่อไปในอนาคตนับวันจะมีแนวโน้มในทางที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าจะลดลง ขณะเดียวกันกิจกรรม CSR ก็ต้องปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ยากจะหยุดอยู่กับที่อย่างเดิม

กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR ในยุคนี้ต้องเป็นองค์ประกอบหรือมาจากส่วนผสมของแนวคิดหลาก หลายมาผสมกันเพื่อให้มีความครบถ้วน

มีบางคนบอกว่า สูตรที่ครบเครื่องของ CSR มาจาก

ความรับผิดชอบของกิจการ   + การกำกับดูแลกิจการที่ดี   +  นโยบายด้านธรรมาภิบาลและจิตสาธารณะ

การบริหารมวลชนสัมพันธ์      Corporate, Social Responsibility

นอกจากนั้น กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR จะต้องปิดช่องว่างของภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มาบรรจบกัน สร้างทักษะของความเป็นผู้นำทั้งภายในกิจการและในชุมชนที่เกี่ยวข้องและอาจจะรวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายข้ามประเภทธุรกิจด้วย
โดยเฉพาะในกรณีของธุรกิจข้ามชาติ จะยิ่งเผชิญหน้ากับแรงกดดันของการจับผิดจากคู่ค้าระดับโลกให้ระดับความเพียงพอของความรับผิดชอบต่อสังคมสูงกว่าผู้ประกอบการที่พึ่งพาอาศัยเฉพาะตลาดในประเทศ และอาจจะมีโอกาสที่จะมีความไม่แน่นอนต่อความคาดหวังของตลาดโลกต่อกิจกรรม CSR ของธุรกิจข้ามชาติ จนคาดหมายยากและเตรียมการเพื่อรับมือได้ยากขึ้น หากปัจจัยในการพิจารณามาจากระดับโลกและจากสังคมออนไลน์

ประเด็นที่เป็นปัญหาของกิจการคือตัดสินใจได้ยาก เพราะมีประเด็นของความไม่แน่นอนที่อาจจะกระทบต่อผลลัพธ์ทั้งทางการเงิน และไม่ใช่การเงิน รวมทั้งชื่อเสียงของกิจการ จึงต้องอาศัยความเชื่อมโยงจนได้เป็นรูปแบบของการบริหารความเสี่ยงที่มีนวัตกรรมจากแนวคิดแบบดั้งเดิม

ที่เรียกว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงที่มีนวัตกรรม เพราะเป็นแบบจำลองการดำเนินงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีพลังทางการตลาดเพียงพอที่จะสามารถเปลี่ยนใจลูกค้าและสาธารณชนได้ และอาจจะต้องรวมไปถึงนักการเมือง NGO และแม้แต่สื่อมีเดียด้วย
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงประเภท “ความเสี่ยงทางสังคม” (Social Risk) ที่ทำท่าจะกลายเป็นความกังวลของบรรดากิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจการข้ามชาติ

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากมุมของผู้ประกอบการแล้ว ความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk) ไม่ได้แตกต่างจากความเสี่ยงประเภทอื่น ๆ อาจจะมาจากพฤติกรรมหรือการกระทำของกิจการเอง หรือปฏิกิริยาของบุคคลอื่นที่มีผลเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการดำเนินงานของกิจการ จนอาจจะทำให้กิจการจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกิจการในที่สุด

ดังนั้น กิจการที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจกับแนวคิดและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างพอเพียงในประเด็นที่อาจจะเป็นความเสี่ยงทางสังคม อาจจะกลายเป็นความจำเป็นด้านการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต
จนทุกกิจการจะต้องปรับเพิ่มกลยุทธ์จากกิจการที่มีประเด็นของแนวนี้อยู่ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงทางสังคมอาจจะต้องรับผิดชอบประเด็นที่ซับซ้อนและต้องคำนึงถึงประเด็นที่เป็นสภาวะดุลยภาพที่เหมาะสมกับตัวแปรและแรงกดดันต่าง ๆ และประนีประนอมกลุ่มสังคมแต่ละกลุ่ม ซึ่งการฝ่าฟันความท้าทายของกิจการที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับในบทบาททางสังคมของการดำเนินงานได้ ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่าย ๆ

หากยอมรับได้ว่า โปรแกรมและกิจกรรม CSR เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารความเสี่ยงสำหรับ
กิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจการข้ามชาติ ที่ต้องกำหนดกรอบการดำเนินงานและหลักการให้ครอบคลุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียให้เหมาะสม CSR ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่กิจการได้ว่าจะสามารถบรรลุกลยุทธ์ด้านการบริหารความเสี่ยง และสามารถต้านทานความเสี่ยงทางสังคมได้ แม้ว่าจะเป็นการยากที่จะพยากรณ์ประเด็นสำคัญที่อาจจะเป็นความเสี่ยงทางสังคมได้อย่างชัดเจน และความเสี่ยงประเภทนี้เป็นกระแสที่ผันผวนได้ง่าย

สำหรับกิจการหลายกิจการแล้ว การเปิดตัวและขยายธุรกิจออกไปสู่ตลาดระดับโลกหมายถึงการปรับแบบจำลองการดำเนินงานส่วนที่ต้องเกี่ยวกับเครือข่าย (Network-based) ซึ่งยังมีความแตกต่างกันในแต่ละตลาดและแต่ละวัฒนธรรม

กิจการที่ผ่านด่านนี้ออกไปได้ต้องถือว่าบริหารจัดการได้อย่างเป็นเลิศ เพราะจะเกิดขึ้นใดก็ต้องมีความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ จนกลายเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่มีอุปสรรคระหว่างพรมแดนอีกต่อไป

เมื่อพูดถึงเครือข่ายก็เห็นได้ชัดว่า กิจการต้องลดระดับการควบคุมอย่างเข้มงวดที่เคยใช้กำกับการดำเนินธุรกิจ
ทดแทนด้วยการประนีประนอม ผ่อนปรน และยืดหยุ่นเชิงโครงสร้างมากขึ้น ยกเลิกระบบการดำเนินงานแบบปิดและปรับตัวสู่ระบบเปิดแทน และต้องเกี่ยวข้องกับตลาดที่มีความหลากหลายเชิงภูมิศาสตร์มากกว่าตลาดภายในประเทศมาก เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนอีกหลากหลาย ซึ่งอาจจะสร้างผลที่คาดไม่ถึงแก่กิจการ

การคุกคามของความเสี่ยงทางสังคม

โลกาภิวัฒน์ ทำให้การพึ่งพาอาศัยกันของกิจการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพิ่มโอกาสที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน เพราะระบบธุรกิจมีความผันผวนรวดเร็ว และมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเพื่อรักษาระดับความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

ในทางการตลาดระหว่างประเทศ ความเสี่ยงทางสังคมเป็นเรื่องของสังคมเอกชนไม่ค่อยได้นับรวมภาครัฐด้วย เพราะรัฐบาลต่างประเทศมักจะเป็นผู้กำกับด้านกฏหมายอยู่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงด้านการกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ (Compliance Risk) มากกว่าความเสี่ยงทางสังคม

สมการของความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk Equation) ประกอบด้วย

 ความเสี่ยงทางสังคม =  ภัยคุกคาม  เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)  X  จากตัวกิจการเอง

                                   x ประเด็นที่เป็นกระแส

CSR กับการบริหารความเสี่ยง

CSR ในปัจจุบันมีความหมายถึงการแสดงออก การเปิดเผยข้อมูล การทำกิจการที่ทำให้สังคมและสาธารณชนเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง เกี่ยวกับที่มาของกำไรและผลตอบแทนทางการเงินของกิจการ ไม่ใช่เพียงแค่กิจการแบ่งเงินจากผลกำไรไปช่วยกิจกรรมทางสังคมอย่างไร

CSR จึงเป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยงของกิจการผ่าน 2 ช่องทาง

(1)  การค้นหาและระบุว่าความเสี่ยงมีลักษณะเช่นใด

(2)  กำหนดกิจกรรมตอบโต้ต่อความเสี่ยงอย่างเหมาะสมได้อย่าง

การตอบโต้ต่อความเสี่ยงในที่นี้ คือ การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างถูกต้องและสร้างประโยชน์ทางบวกแก่กิจการ

ระดับความสัมพันธ์ที่มีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอยู่หลายระดับ

ระดับที่ 1 

เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ให้ผู้มีส่วนส่วนเสียรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจ ของกิจการจากการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน รับรู้พร้อมกับบุคคลอื่น ๆ ในสังคม

ระดับที่ 2 

เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้บางเรื่องบางประเด็นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่สำคัญล่วงหน้าก่อนที่จะตัดสินใจจริง เป็นการหารือขอความเห็นก่อนการตัดสินใจ

ระดับที่ 3 

เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแสดงความคิดเห็น หรือเท่ากับมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนด ขอบเขต กรอบการดำเนินงานของกิจการ

ระดับที่ 4 

เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณาและหากได้รับการยอมรับ  กิจการจึงจะมีการดำเนินการในสิ่งนั้น
หากไม่ได้รับการยอมรับก็จะไม่พิจารณาดำเนินการhttp://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/869/479/default_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B_01.2556.jpg?1358342375" unselectable="on">



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

กิจกรรม CSR กติกาของเกมบริหารที่เปลี่ยนไป

อาจารย์จิรพร   สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

ความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอกและภายในกิจการต่อการทำกิจกรรม CSR ของกิจการมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ซึ่งกิจการจะต้องศึกษากติกาใหม่ของเกมการบริหารเกมนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่าของการดำเนินงาน

ความเปลี่ยนแปลงของกติกาในการเล่นเกม “กิจกรรม CSR” ของกิจการคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ

(1)  การเพิ่มความชัดเจนเกี่ยวกับปรัชญาทางธุรกิจเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม

(2)  การจัดเตรียมเครื่องมือและเทคนิคใหม่ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรม CSR เกิดประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล

(3)  การเพิ่มศักยภาพ ความพร้อมความสามารถและสมรรถนะในการบริหารกิจกรรม CSR ให้เหมาะสมกับกติกาใหม่ของโลก

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับตัวของกิจการต่อความเปลี่ยนแปลงของกติกาการทำกิจกรรม CSR ได้แก่

(1)  ความสามารถในการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการจัดการและตอบโต้กับความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk)

(2)  การบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะดีขึ้น

(3)  ความไว้เนื้อเชื่อใจ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกิจการในระยะยาวจะดีขึ้น

(4)  เกิดแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่กิจการอาจจะนำไปใช้พิจารณาประกอบการดำเนินกระบวนการปรับตัวด้านกิจกรรม CSR ตามกฎกติกาที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่

ประการที่ 1

การดำเนินกิจกรรม CSR ตามกฎและกติกาใหม่ อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณทรัพยากรเพิ่มขึ้นเสมอไป
แต่กิจการอาจจะมีต้นทุนของความเสี่ยง (Cost of Risk) ในช่วงที่ทำการปรับตัวหรือความเปลี่ยนแปลงในระยะแรกที่เป็นช่วงบุกเบิกหรือนำร่อง

ประการที่ 2

การปรับตัวเพื่อให้กิจกรรม CSR สามารถรองรับกฎและกติกาใหม่ เป็นเรื่องที่ทำได้ก็ต่อเมื่อกิจการมีศักยภาพและความพร้อมในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งหากกิจการยังไม่พร้อมในส่วนนี้ ก็คงไม่อาจขับเคลื่อนการปรับตัวได้
และต้องมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดความพร้อมในส่วนนี้ ก็คงไม่อาจขับเคลื่อนการปรับตัวได้ และต้องมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเกิดใหม่จากการใช้นวัตกรรมใหม่

ประการที่ 3

บางครั้งการบุกเดี่ยวในฐานะของกิจการที่บุกเบิกการปรับตัวในการทำกิจกรรม CSR อาจจะเป็นไปไม่ได้
หลายกิจการเช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงใช้การหารือ ชักชวนกิจการอื่นๆในอุตสาหกรรมเดี่ยวกัน เพื่อชักชวนให้หลายกิจการดำเนินกิจกรรม CSR บนแนวทางเดียวกันและโดยพร้อมเพียงกัน
เมื่อการดำเนินงานตามแนวทางใหม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงค่อยต่างคนต่างทำ

ประการที่ 4

หากจะทำการปรับเปลี่ยนกิจกรรม CSR ให้เป็นไปตามกฎและกติกาใหม่ หากมีความพร้อมและพลังเพียงพอ
กิจการควรตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงดีกว่าคอยเป็นผู้ตาม ที่รอคอยให้กิจการทำก่อนจึงค่อยทำตาม เพราะมูลค่า (Value) ของการเป็นผู้นำจะอยู่ที่กิจการด้วย นอกเหนือจากการได้ทำตามกฎและกติกาใหม่
และจะถูกกล่าวขวัญถึงโดยนักเคลื่อนไหวและสื่อมวลชนด้วย

ประการที่ 5

ในบางกิจการการวิเคราะห์และประเมินผลได้-ผลเสียจากการปรับกิจกรรม CSR ตามกฎและกติกาใหม่ ต้องทำด้วยความรอบคอบ หากเป็นกิจกรรมที่มีความซับซ้อน มีผลกระทบและผลลัพธ์ในวงกว้าง เพราะอาจจะมีบางประเด็นที่สำคัญและหลงลืมที่จะพิจารณาและคำนึงถึงไม่ได้ และอาจจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดีก่อนการตัดสินใจ

กิจการควรให้เวลากับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ และหากมีความจำเป็นอาจจะต้องดึงเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นที่ครบถ้วน

ประการที่ 6

การคิดค้นและแสวงหานวัตกรรมในการส่งมอบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ย่อมเป็นที่ปรารถนาและพึงประสงค์ของประชาคม แต่จะถือว่าประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อส่งผลดีและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการด้วย
ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้เมื่อนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ และตอบโจทย์ที่เป็นความคาดหวังของสังคม สินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมทางด้านกรีนมากมายทีไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคและไม่อาจจะทำให้กิจการอยู่รอดได้

ประการที่ 7

บุคลากรยังคงเป็นสินทรัพย์หลักที่กิจการไม่ควรมองข้ามในการปรับเปลี่ยนกิจกรรม CSR ตามกฎและกติกาใหม่

กิจการจะประสบความสำเร็จในการปรับกิจกรรม CSR ได้จะต้องประสบความสำเร็จในการบริหารความสัมพันธ์กับบุคลากรภายในกิจการ บุคลากรของ Outsourcing บุคลากรของซับพลายเออร์ได้อย่างเพียงพอ

การขับเคลื่อนกิจกรรม CSR ด้วยพลังของบุคลากรมักจะทำให้กิจการสามารถรับผลประโยชน์ของการทำกิจกรรม
CSR ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
กิจการจึงควรปรับแผนการทำกิจกรรม CSR ให้ใช้บุคลากรดังกล่าวมาแล้วเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เพราะคุณค่าของกิจการย่อมมาจากคุณค่าของบุคลากรด้วยส่วนหนึ่ง

ประการที่ 8

บางกรณีการทำกิจกรรม CSR ตามลำพังในแต่ละกิจการอาจจะไม่มีพลังขับเคลื่อนอย่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์

กิจการอาจจะต้องปรับแผนงานกิจกรรม CSR เป็นแผนบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้เกิดพลังที่เพียงพอในการขับเคลื่อนความสำเร็จของกิจกรรม CSR

ประการที่ 9

การวัดผลและประเมินผลสำเร็จของการทำกิจกรรม CSR จะต้องใช้หลักการเดียวกันกับการวัดและประเมินผลดำเนินงานอื่นๆของกิจการคือ ใช้ Performance-driven เน้นให้เกิดการดำเนินกิจกรรม CSR ที่เน้นผลผลิตและผลลัพธ์ เกิดการใช้ประโยชน์ที่ชัดเจนด้วย

ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจจะต้องพัฒนาตัวชี้วัดผลผลิต (Output KPIs)และตัวชี้วัดผลลัพธ์ในระยะยาวที่ควบคู่กัน (Outcomes or Impact KPIs)

 



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

AEC เงื่อนไขทางกฎหมาย (Compliance) ที่ผลักดันให้ธนาคารปรับตัว

อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

การเปิดเสรีภาคการเงินเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community) หรือที่เรียกว่า AEC ซึ่งกำหนดเงื่อนไขด้านกฎเกณฑ์(Compliance) ที่ธนาคารพาณิชย์ใน AEC ต้องปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

สภาพแวดล้อมด้านกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม (ComplianceEnvironment) ดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ(Business Risk) แต่ธนาคารพาณิชย์ในไทยและในประเทศอื่นๆ ใน AEC โดยทั่วหน้า ซึ่งแต่ละธนาคารจะต้องอาศัยพัฒนาศักยภาพความสามารถและความพร้อมที่จะบริหารผลดำเนินงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนที่จะเกิดใหม่ให้ได้อย่างเพียงพอ

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์จากเงื่อนไขทางกฎหมายที่จะเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของAECที่ควรจะได้รับการพิจารณาและวิเคราะห์ในมุมของความเสี่ยงอย่างจริงจัง ได้แก่



 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 

ประการที่ 1

ประเด็นที่แน่นอน (Certainty) คือกำหนดเวลา กรอบกิจกรรมในการรวม AEC ภายในธันวาคม   2558 แต่กรอบกิจกรรมของการรวมตัวภาคการธนาคารอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2020 (หรือปี   พ.ศ. 2563) ยังไม่ชัดเจน เป็น Unknown ที่ต้องอาศัยเวลากว่าภาพที่ออกมาจะมีความชัดเจนมากขึ้น เรื่อย ๆ

ประการที่ 2

ประเด็นที่ไม่แน่นอน   (Unknown) และยังไม่อาจจะรับรู้ได้เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลความเสี่ยง   คือผลกระทบที่จะเกิดและระดับความรุนแรงของผลกระทบของเหตุการณ์ความเสี่ยงต่อสภาพแวดล้อมธุรกิจโดยรวมและต่อธนาคารพาณิชย์เอง

ประการที่ 3


 

สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม (ComplianceEnvironment) กรณี AEC นี้ธนาคารพาณิชย์คงไม่อาจจะพัฒนาเครื่องมือทางคณิตศาสตร์หรือแบบจำลองเชิงสมการมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินได้ 

หากแต่ต้องพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์อย่างอื่นมาประกอบกัน   เพื่อให้ได้ข้อมูลความเสี่ยงที่เพียงพอต่อการตัดสินใจในการปรับหรือยกเครื่องการบริหารจัดการกิจการต่อไป   โดยเฉพาะการใช้ดุลยพินิจและการพิจารณาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร

ประการที่ 4


 

เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม  (Compliance) ตามเงื่อนไขของการรวมตัวของ AEC เป็นเงื่อนไขต่อยอดจากเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับเดิมซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติอยู่แล้วไม่ได้มีการผ่อนคลายเงื่อนไขและกฎเกณฑ์เดิมลงอย่างมากมายอย่างที่เข้าใจกันแต่แรก

ดังนั้นเงื่อนและกฎเกณฑ์ใหม่ตาม   AEC  ที่ต้องปฏิบัติตามจึงเป็นภาระทางธุรกิจในการดำนุรกิจธนาคารและการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง  และหน่วยงานภาครัฐที่จะกำกับจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นหน่วยงานกำกับของทุกประเทศในอาเซียนไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยเท่านั้น

รูปแบบของการกำกับธนาคารพาณิชย์จึงมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไปและคาดหมายยากหากการบริหารความเสี่ยงด้านเงื่อนไขและกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  ก็ไม่อาจจะเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และความคาดหวังของหน่วยงานกำกับธนาคารพาณิชย์   และที่สำคัญจะกลายเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนที่เป็นเรื่องใหญ่ระดับภูมิภาคและระดับประเทศไม่ได้เป็นเรื่องของรายกิจการในวงแคบอีกต่อไป 

ชื่อเสียงของกิจการจึงเป็นเรื่องเล็กเทียบกับชื่อเสียงของประเทศ   หรือชื่อเสียงความไว้วางใจในระดับภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งอาจจะเทียบเคียงกับกรณีของวิกฤติการณ์หนี้สินของสหภาพยุโรปที่กลายเป็นประเด็นระดับภูมิภาคและเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงในระยะยาว ที่ไม่ใช่เพียงค่าปรับแต่อาจจะเป็นการแซงชั่นทางธุรกิจด้วย 

ประการที่ 5


 

การเปลี่ยนแปลงระบบงานที่รองรับธุรกรรมการธนาคารจากระบบงานในระดับประเทศเป็นระบบงานที่รองรับการดำเนินธุรกรรมร่วมกันระดับภูมิภาค   มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงด้านอาชญากรรมทางการเงิน

การโจมตีข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ของทุกประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนและกับประเทศอื่นในเอเซียในระยะต่อไป

การออกแบบและจัดวางระบบงานรองรับธุรกรรมการธนาคาร   AEC  อาจจะไม่ได้รับรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงในลักษณะนี้อย่างเพียงพอ  และธนาคารพาณิชย์แต่ละรายเองก็อาจจะต้องจำแนกให้ความเสี่ยงในลักษณะนี้เป็น  Unknown หรือ Unknowable risk driver ซึ่งไม่อาจจะประมาณการมูลค่าของความเสี่ยหายหรือความสูญเสียได้อย่างชัดเจน  เพราะข้อจำกัดขององค์ความรู้และไม่มีบทเรียนในอดีตเพื่อการเรียนรู้ก่อนล่วงหน้า

ประการที่ 6


 

วิสัยทัศน์  มุมมอง  การรับรู้ความเสี่ยงของผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคารแต่ละธนาคารจึงยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงในประเด็นเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของ   AEC ที่ต้องปฏิบัติตามโดยธนาคารพาณิชย์  ที่มีความโดดเด่นที่สุดเพียงตัวขับเคลื่อนเดียว เพราะยังไม่มีตัวขับเคลื่อนอื่นที่สามารถหยิบยกขึ้นมา กล่าวถึงได้ความตระหนักและการรับรู้ความเสี่ยงจาก   AEC  ของผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคารจะนำไปสู่การตัดสินใจปรับปรุงและยกเครื่องทรัพยากร   สินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงาน คุณสมบัติและสมรรถนะของบุคลากรได้   ซึ่งหากการปรับปรุงส่วนของปัจจัยการผลิตงานบริการ (Input) เป็นไปอย่างชัดเจนก็คงไม่ยากในการปรับกระบวนการดำเนินงานเมื่อเกิดการรวมตัวภาคการธนาคารใน AEC   แล้ว 

ประการที่ 7


 

แม้ว่ากฎหมาย   เงื่อนไข และกฎเกณฑ์ของ AEC   จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์กระจายความเสี่ยงได้ด้วยการให้กู้ร่วม  (Syndicated Loan) แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีความเสี่ยงที่หลงเหลือสูงจนอาจจะยากที่จะทำให้การร่วมมือกันระหว่างธนาคารข้ามพรมแดน   หรือแม้แต่ระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยด้วยกันเองเป็นไปได้ยาก

ตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงประการหนึ่งคือ   ความแตกต่างของแบบแผนการดำเนินงาน   ซึ่งมาจากบุคลิกภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร 

ดังนั้น  แม้ว่าการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการให้กู้ร่วมจะพบว่ามีความเป็นไปได้สูงมากกว่าเป็นไปไม่ได้   แต่ประเด็นคำถามที่มักจะตามมาเป็นคำถามที่ 2 ของการพิจารณาก็คือใครคือพันธมิตรทางธุรกิจ  และใครคือตัวแทนของพันธมิตรทางธุรกิจที่จะต้องเจรจาหรือหารือร่วมกัน 

การดำเนินธุรกรรมทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยในตลาด  AEC จึงมีส่วนผสมของทั้งความเสี่ยงทางการเงิน(ด้านเครดิต ตลาด สภาพคล่อง)  และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) อยู่คู่กันตลอดเวลา 




ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

S[email protected]

ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังของสังคมและประชาคมโลก เป็นความเสี่ยงใหม่ที่เป็น Social Risk ที่สร้างความท้าทายรูปแบบใหม่แก่กิจการ ซึ่งหากกิจการเริ่มรับรู้และตื่นตัวแต่หลายกิจการยังไม่รับรู้และเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ

หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังของสังคมและประชาคมโลกที่เป็น Social Risk ของกิจการคือความวิตกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและหวังว่าแต่ละกิจการจะต้องเพิ่มบทบาทและความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดผลที่ยั่งยืน (Sustainable Way)

ความจำเป็นในการปรับตัวของกิจการในการบริหาร Social Risk ด้วย CSR Program ได้พัฒนาไปสู่การตั้งเป้าหมายที่จะให้กิจกรรม CSR ช่วยสร้างมูลค่าแก่กิจการด้วย ไม่ใช่แก้ไขความเสี่ยงทางสังคมเพียงด้านเดียว

ซึ่งการใช้ CSR ในการสร้างมูลค่าแก่กิจการจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ กิจการสามารถทำกิจกรรม CSR ในลักษณะที่เป็นการตอบสนองต่อโอกาสทางธุรกิจหรือสร้างกิจกรรมทางบวก หรือคิดแบบมีนวัตกรรมเท่านั้น

ประเด็นที่จะทำให้กิจการฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจจากกิจกรรม CSR ได้อาจจะต้องพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 

ประการที่ 1


 

กิจกรรม CSR เป็นพันธกิจที่ต้องมุ่งมั่นหรือเป็นเพียงกิจกรรมเสริมระหว่างปี

หากกิจกรรม CSR ยังเป็นกิจกรรมชั่วครั้งชั่วคราว   กิจการก็อาจจะทำกิจกรรมCSRแบบปิดหูปิดตา ไม่สนใจใคร  หรือทำแบบไม่มีจุดมุ่งหมายหรือหวังผลชัดเจน โอกาสทางธุรกิจจะเกิด CSR ได้กิจการจะต้องยกระดับกิจกรรม   CSR ขึ้นมาในระดับที่สำคัญลำดับต้นๆก่อน   และไม่ต้องสงสัยเคลือบแคลงต่อไปอีกว่า CSR มีความสำคัญสูงหรือไม่   มาสู่การตั้งคำถามว่าจะทำกิจกรรม CSR ให้สมกับที่มีความสำคัญอย่างไร

กิจการขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำทางธุรกิจในระดับโลกล้วนแต่ยึดมั่นและมุ่งมั่นที่จะดำเนินกลยุทธ์ด้าน   (1) CSR และ (2) ความยั่งยืน (Sustainable) ของกิจการ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม CSR จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญตั้งแต่ขั้นของการวางแผนการดำเนินงานตามแผนและการบูรณาการ CSR เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานประจำวันของกิจการ และส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขององค์กร 

ประการที่ 2


 

แม้ว่าCSRจะเริ่มจากกิจการขนาดใหญ่ เพราะคำว่า Corporate เป็นคำที่เป็นที่มาของคำว่า “C” ตัวแรกของ CSR แต่ตามมาตรฐาน ISO 26000 ได้ตัดคำว่า  “C” ออกเหลือเพียงคำว่า   Social Responsibility ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมเหมือนกัน   เพราะทุกคนมีส่วนสร้างอากาศเสีย สร้างน้ำเสียและสร้างขยะที่ย่อยสลายยากเหมือนกัน

ผู้ประกอบการในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึง บริษัท ห้างร้านเท่านั้น   หากแต่รวมถึงองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา NGOsด้วย

ประการที่ 3


 

กิจกรรมของ CSR ยังแบ่งออกเป็น 3   กลุ่มใหญ่คือ

(1)  กลุ่มที่ลักษณะการดำเนินกิจการ  สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งกิจการลักษณะนี้จะต้องแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจการของตนเองก่อนจนผลกระทบ=0   แล้วค่อยหาทางเพิ่มพูนผลกระทบทางบวกให้เพิ่มขึ้น

(2)  กลุ่มที่ลักษณะการดำเนินกิจการ   ไม่ได้สร้างผลกระทบทางลบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่มีส่วนที่ทำให้กิจการอื่นไปสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม

หน้าที่และบทบาทหลักของกิจการเหล่านี้ คือ   ทำให้กิจการที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม  เช่นเดียวกับกลุ่ม (1)

(3)  กลุ่มที่ลักษณะการดำเนินกิจการไม่ได้สร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ประการที่ 4


 

ไม่ว่ากิจการจะจัดกลุ่มตัวเองอยู่ในกลุ่มใดระหว่าง 1 ใน 3   กลุ่มข้างต้นกิจการก็จะต้องทำการเปิดเผยอย่างโปร่งใส ยินดีให้มีการตรวจสอบได้   เพื่อยืนยันว่าการดำเนินงานของกิจการเป็นความจริงตามที่ระบุและรายงานต่อบุคคลภายนอก

สิ่งที่กิจการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกนี้   ยังรวมถึงประเด็นของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ประการที่ 5


 

การทำกิจกรรม CSR เป็นการเริ่มจากวงในออกไปหาวงนอกหรือจากผู้ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ ออกไปหาคนที่ไม่รู้จัก คนไม่คุ้นเคย

(1)   คนที่อยู่วงใน ได้แก่   ลูกค้า คู่ค้า คู่สัญญา พนักงาน Outsourcing ชุมชนที่แวดล้อม

(2)   คนที่อยู่วงนอก ได้แก่   พื้นที่ที่เดือนร้อน คนที่เดือนร้อน สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย 

ประการที่ 6


 

ต้นทุนที่สำคัญของการทำกิจกรรม CSR ที่กิจการส่วนใหญ่ยังต้องลงทุนเพิ่มเติม คือ

(1)  ต้นทุนของการจัดเก็บรวบรวมผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรม   CSR

(2)  ต้นทุนของการพัฒนาเงื่อนไขหลักเกณฑ์การวัดผล ตีค่าผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรม CSR

(3)  ต้นทุนของการค้นหานวัตกรรมในการทำกิจกรรม   CSR

(4)  ต้นทุนของการรายงานผลที่เกิดจากการทำกิจกรรมCSR การเปิดเผยและการสื่อสารผลงานของการทำกิจกรรม CSR

(5)  ต้นทุนของการวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประกอบการทำแผนงานและกิจกรรม   CSR โดยใช้มาตรฐานสากลเป็นเกณฑ์

ประการที่ 7


 

ในอนาคตความรับผิดชอบต่อสังคม หรือกิจกรรม CSR   ของกิจการจะต้องสอดคล้องกับประเด็น 2ประเด็นที่ต้องดำเนินการให้เพียงพอและครบถ้วน

(1)  CSR  ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Compliance) ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หากกิจการไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างครบถ้วน

(2)  CSR  ที่สอดคล้องกับความคาดหวังซึ่งอยู่นอกเหนือจากส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับซึ่งกิจการจำเป็นต้องปฏิบัติตาม   เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ปกป้องชื่อเสียงและภาพลักษณ์และปกป้องมูลค่าของกิจการ

ดังนั้นกิจกรรม CSR จึงไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมด้านบริหารความเสี่ยงเท่านั้น   หากแต่ยังเป็นไปเพื่อการสร้างมูลค่าแก่กิจการ ในการเพิ่มพูนโอกาสทางธุรกิจและนวัตกรรมและเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เพิ่มเติมหรือทดแทนโมเดลธุรกิจเดิมของกิจการ

ประการที่ 8


 

ความรู้ความเข้าใจในแนวคิด CSR   และการนำแนวคิด CSR   มาใช้เป็นทางปฏิบัติในระหว่างการดำเนินงานตามปกติของกิจการ  ถือว่าเป็นสมรรถนะองค์กรและสมรรถนะบุคลากรที่ทุกกิจการจะต้องมีแผนงานในการพัฒนาที่ชัดเจนและเพียงพอ  เพื่อให้เกิดความคิด การปฏิบัติที่เป็นระบบและมีบรรทัดฐาน

ประการที่ 9


 

นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าของกิจการ (Value   Creation) ผ่านการฉกฉวยโอกาส ความได้เปรียบทางธุรกิจ และการคิดค้นนวัตกรรมแล้ว กิจกรรม CSR ยังอาจจะสร้างมูลค่าแก่กิจการได้ด้วยการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตร ให้แวดวงของผู้ที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจเป็นผู้ที่ใส่ใจในปัญหาของสิ่งแวดล้อมด้วย

เครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตรมีความสำคัญเพราะเชื่อว่าเป็นคำตอบของความยั่งยืนของกิจการ ความยั่งยืนของสังคม และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แทนที่จะพิจารณากิจกรรม CSR   เพียงกิจการใดกิจการหนึ่งเป็นรายกรณีแยกออกจากกิจการอื่นๆ  โดยสิ้นเชิงซึ่งอาจจะทำให้มองไม่เห็นการสร้างมูลค่าแก่กิจการ (สังคมและสิ่งแวดล้อม) ในองค์รวมอย่างครบถ้วน   เพราะลำพังเพียงกิจการเดียวคงยากที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้สำเร็จต้องพิจารณาทุกระดับชั้นอย่างครบถ้วน

ประการที่ 10


 

มิติสำคัญอีกประการหนึ่งของการวัดและประเมินผลของกิจกรรม CSR   ที่ถือได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าแก่กิจการ คือการพิจารณาผลลัพธ์ของกิจกรรม CSR ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life   Cycle) หากผลลัพธ์ที่ออกมาสามารถสอดคล้องและส่งผลดีจริง ต้องไม่เกิดผลกระทบไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การใช้งาน การทิ้ง การกำจัดและการรีไซเคิ้ลต้องมีการบริหารด้วยกิจกรรม CSR  แทรกอยู่ด้วย





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท