อนุทิน 119812


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

Social Risk Management บริหารความเสี่ยงทางสังคม
ประสิทธิผลการทำ CSR

อาจาร จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

กิจกรรมที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม  (CRS) ของกิจการต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะยึดแนวคิดการปกป้องสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวาระระดับโลกไปแล้วไม่ใช่เพียงวาระระดับชาติใดชาติหนึ่ง และแนวคิดการปกป้องสังคม (Social Protection) นี้กำลังจะกลายเป็นการบริหารความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk Management) เพื่อให้มั่นใจว่าจะลดสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ทางเศรษฐกิจและทำให้ภาคครัวเรือนยังคงมีการใช้จ่ายและใช้บริการจากกิจการอย่างสม่ำเสมอ

องค์ประกอบของ Social Risk

ในการที่จะเกิด Social Risk กับกิจการก็จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่

1.  ประเด็นทางสังคมและ  ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โลกที่มีแนวโน้มร้อนขึ้น สภาพแวดล้อม  หรือการแพร่ระบาดของโรคบางโรคหรือการอพยพของคนจากชนบทเข้าสู่ตัวเมือง

2.  ความคาดหวังและความ  เป็นกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นไปจากกลุ่มเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว ส่วนเสียเพิ่มเติม  เช่น องค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อม กลุ่มคุ้มครองสิทธิ เด็กและสตรี  แม้แต่บุคคลธรรมดาที่มีบทบาทในการปกป้องสังคมเพิ่มขึ้น

3.  การรับรู้ในทางลบเกี่ยว  เป็นการเกิดข้อมูลทางลบเกี่ยวกับบริษัทที่ผ่านแหล่งข่าวของทางกับกิจการ  การบอกต่อทางอินเทอร์เนตผ่านสื่อสังคมออนไลน์และบุคลากรภายในกิจการเองออกไปให้ข่าวภายนอก   การส่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดการสั่งสมและทัศนคติในทางลบ

4.  ช่องทางที่นำไปสู่ความ  การกระจายความเห็นผ่านเครือข่ายทั้งเล็กและใหญ่ เช่น การส่ง  forward e-mail ไปจนถึงการให้ความเห็นในที่สาธารณะ การบอยคอร์ต การรออกมารณรงค์ต่อต้านกิจการที่มีขนาดใหญ่
บริษัทข้ามชาติหรือแม้แต่กิจการขนาดเล็กมีโอกาสที่จะตกอยู่ในวงล้อมของความเสี่ยงทางสังคมได้เหมือนกัน แม้ว่าระดับของความรุนแรงจะมากน้อยแตกต่างกัน และการที่จะบริหารจัดการความเสี่ยงทางสังคมเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบมาขึ้นกว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงดั้งเดิม ที่เป็นเรื่องของระบบการควบคุมภายในเป็นหลัก
และที่สำคัญความเสี่ยงทางสังคมเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ และยังอาจจะมีผลกระทบกลับมาที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของกิจการด้วย ทำให้ขอบเขตของการบริหารจัดการต้องครอบคลุมออกไปในวงกว้าง
และอาจจะรวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ด้วย

ในขณะที่การบริหารความเสี่ยงทั่วไปเน้นหนักที่ความเสี่ยงด้านการดำเนินงานและความเสี่ยงของการกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ ซึ่งมักจะใช้การพิจารณาจัดการเฉพาะประเด็น ด้วยการถ่ายโอนหรือหลีกเลี่ยง
หรือเตรียมการรับมือล่วงหน้าสำหรับเหตุการณ์ความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยต้นทุนการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และคำนึงถึงความคุ้มค่าเป็นหลัก

แต่เมื่อเป็นความเสี่ยงทางสังคม การตีกรอบการบริหารความเสี่ยงเฉพาะจุดเฉพาะประเด็นไม่อาจจะดำเนินการได้
เพราะขอบเขตของความเสี่ยงอาจจะกว้างขวาง แม้แก้ไขจุดหนึ่งได้ก็อาจจะย้ายไปเกิดจุดอื่น หรืออาจจะเกิดหลายจุดพร้อม ๆ กัน และอาจจะมีกลุ่มคนที่มีความคาดหวังหลากหลายกลุ่มพร้อมกัน

การทำกิจกรรมภายใต้ร่มของความรับผิดชอบต่อสังคม หลายกิจการมองกิจกรรมนี้ในรูปของการลงทุน โดยหวังผลตอบแทนว่าจะไม่มีชื่อกิจการในสื่อมวลชนทางด้านเสื่อมเสีย ไม่ถูกบอยคอรต์จากลูกค้า หรือผู้ถือหุ้นออกมาลุกฮือต่อว่าต่อขาน หรือการสะท้อนกลับทางลบจากสังคม

ที่จริง ประเด็นหลักของปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ความเสี่ยงทางสังคม น่าจะมาจากผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรมของกิจการยังต่ำกว่าความคาดหวังของสังคม จนกระทั่งกระทบภาพรวมขององค์กรทั้งหมด

หากมองให้ดีจะพบว่า เรื่องนี้ก็คือประเด็นการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งเป็นประเด็นระยะยาวที่หลายกิจการละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร เพราะมัวแต่สนใจเป้าหมายระยะสั้นมากกว่า จึงทำให้ประเด็น Social Risk อยู่นอกสายตาด้วย

เหตุผลที่ Social Risk มาเกิดในยุคนี้

แนวโน้มของสถานการณ์ในระดับโลกมากมายได้นำไปสู่สถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคม ทั้งใน (Social Risk) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงถึงกันของผู้คนในประเทศต่าง ๆ และการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น ทั้งในด้านของความสัมพันธ์ทางการค้า และห่วงโซ่อุปทาน กระแสการไหลทางการเงินระหว่างประเทศ การอพยพเคลื่อนย้ายของแรงงาน การสื่อสารและเทคโนโลยี่สารสนเทศ ทำให้กำแพงของการเกี่ยวข้องกันไร้พรมแดนภายในประเทศเองก็มีความเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
รัฐบาลอาจจะขอให้ภาคเอกชนช่วยผลิตบริการหรือสินค้าสาธารณะให้ เช่น การศึกษา ระบบรักษาความปลอดภัย ภาคเอกชนอาจจะขอให้
NGOs ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือNGOs อาจจะขอให้ภาคเอกชนประกันการเคารพในสิทธิมนุษยชน

การพึ่งพาอาศัยเกี่ยวข้องกันดังกล่าวเป็นบ่อเกิดของความเสี่ยงทางสังคมที่เพิ่มขึ้นในสังคม และทำให้เกิดสภาพแวดล้อมรูปแบบใหม่ ซึ่งไม่อาจใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจแบบดั้งเดิมในการบริหารจัดการ การใช้บริการจากภายนอก
การย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในทำเลที่ตลาดแรงงานราคาถูก ทำให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยงทางสังคมเพิ่มขึ้นและไม่อาจจะคาดหมายได้ล่วงหน้า

การบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการ Social Risk

แนวคิดการบริหาร Social Risk ที่สำคัญได้แก่

(1)  Point Solution เพื่อจัดการกับ Point Risk

เป็นการวางแนวทางการจัดการความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือเตรียมการจัดการกับเหตุการณ์เฉพาะเรื่อง และลดต้นทุนที่ใช้ในการจัดการให้ต่ำที่สุด แต่ไม่สามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่ซับซ้อนและขยายวงกว้างขวางได้ เพราะอาจจะไม่ได้ใช้กลยุทธ์ระดับบนอย่างครบวงจร

(2)  Strategic Risk Program เพื่อจัดการความเสี่ยงที่ซับซ้อน

เป็นการวางแผนงานเพื่อให้เกิดการเปิดรับในลักษณะการตรวจจับและตระหนักในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีโอกาสสร้างความเสียหาย และทำลายโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่ เน้นการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและชื่อเสียงของกิจการ ควบคุมการแพร่กระจายของความเสียหาย
และเข้าไปดำเนินการล่วงหน้าในบางประเด็นเพื่อช่วยป้องกันอุบัติการณ์ในอนาคต ตลอดจนเป็นการดำเนินการเชิงรุกหรือเชิงป้องกันมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุแห่งความเสี่ยงแล้ว

ในการเลือกจะใช้แนวคิดการบริหารแบบ (1) หรือ (2) อาจจะต้องตอบคำถามหลักอย่างน้อย 4 คำถาม

คำถามที่ 1 กิจการใช้วิธีการใดในการกำหนดว่า ประเด็นที่พัฒนาการทั้งในระดับสังคม สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ในต่างประเทศประเด็นใดที่น่าจะเป็นประเด็นระดับ  “กลยุทธ์” ไม่ใช่เรื่องเฉพาะจุด

คำถามที่ 2  กิจการใช้วิธีอย่างใดในการสื่อสารลักษณะของสถานการณ์  ที่น่าจะเป็นระดับ   “กลยุทธ์” ที่ควรจะส่งสัญญาณและขอความเห็นจากระดับผู้บริหารระดับสูงหรือระดับคณะกรรมการบริษัท และกิจการใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารข้อมูลสู่ระดับหน่วยธุรกิจหรือระดับปฏิบัติการ

คำถามที่ 3  ใครคือคนที่รับผิดชอบในการตรวจตรา จับตา ชี้ประเด็น  หรือบริหารจัดการสถานการณ์ความเสี่ยงทางสังคม กระบวนการในการตรวจตรา จับตาชี้ประเด็นหรือบริหารจัดการสถานการณ์ดังกล่าวเป็นแบบถาวรและต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราวตามการสั่งการ

คำถามที่ 4  มีอุปสรรคทางโครงสร้างองค์กรหรือด้านวัฒนธรรมใดมีหรือไม่ ที่จะขัดขวาง

กิจการในกรณีที่กิจการต้องเผชิญหน้ากับการบริหารจัดการความเสี่ยงทางสังคม ในระดับ”กลยุทธ์” ในกรณีที่ประเด็นปัญหาทางสังคมนั้นมีความแตกต่าง หรืออาจจะต้องแยกออกจากการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจตามปกติของกิจการมีแรงจูงใจใดในกิจการที่จะประกันว่าแนวคิดของการจัดการความเสี่ยงด้านนี้คำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว

คำถามที่ 6  ความเสี่ยงทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นกับกิจการและมีความสำคัญระดับสูง มีประเด็นใดบ้างสามารถระบุได้อย่างมั่นใจหรือไม่ ผลกระทบของความเสี่ยงทางสังคมดังกล่าวสามารถประเมินได้อย่างชัดเจนหรือไม่

คำถามที่ 7  การกระจายผู้รับผิดชอบในการจัดการกับความเสี่ยงทางสังคมดีกว่าหรือแย่กว่าการรวบอำนาจความรับผิดชอบในการจัดการกับความเสี่ยงทางสังคมไว้ที่ศูนย์กลาง

บทเรียนจากการเรียนรู้

การศึกษาประเด็นของความเสี่ยงทางสังคม ทำให้ได้เรียนรู้ในหลายประเด็น

(1)  ความเสี่ยงทางสังคม มีความสำคัญเพิ่มขึ้นและควรจะได้รับความใส่ใจว่า เป็นความเสี่ยงด้านกลยุทธ์อย่างหนึ่ง เพราะมีผลกระทบทั้งกิจการ มีความซับซ้อน ต้องการศักยภาพการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมไม่ใช่เฉพาะฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่ง และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม รวมทั้งมีผลได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

(2)  แนวคิดการบริหารที่บูรณาการหลายหน่วยงานในเวลาเดียวกัน มีความจำเป็นต่อการวางแนวทางการจัดการความเสี่ยงทางสังคมอย่างเกิดประสิทธิผล

(3)  การตอบโต้ต่อความเสี่ยงทางสังคมไม่ใช่เรื่องที่กระทำต่อผู้เกี่ยวข้องภายนอกเท่านั้น หากแต่จะต้องอาศัยการปรับกระบวนการภายในให้สอดรับกันด้วย

(4)  การจัดกระบวนการค้นหา ตรวจตราความเสี่ยงทางสังคม อาจจะช่วยให้กิจการสามารถระบุและประเมินความเสี่ยงทางสังคมได้ดีขึ้น

(5)  การดึงเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเป็นแนวร่วม อาจจะเป็นเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงทางสังคมเชิงป้องกันที่ดี โดยเฉพาะกับกิจการที่เป็นบริษัทข้ามชาติ

(6)  การปลูกฝังวัฒนธรรม การดูแลเอาใจใส่ความเสี่ยงทางสังคม และการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและวิธีการออกมาจากรูปแบบดั้งเดิม

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/869/479/default_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B_01.2556.jpg?1358342375" unselectable="on">



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท